วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

การพัฒนาระบบให้บริการข้อมูลแบบ Scan Document


1.               ชื่อผลงาน       ระบบเวชระเบียน (Smart Document V1.57.7.1.)
2.               ชื่อหน่วยงาน  โรงพยาบาลภูกระดึง
3.                   เจ้าของผลงาน    โรงพยาบาลภูกระดึง   อำเภอภูกระดึง  จังหวัดเลย  โทร 042-871016-7  ต่อ  109  Email : phukraduenghospital@gmail.com
4.               ความเป็นมา / บทนำ
การบริการเวชระเบียน ซึ่งประกอบด้วย การค้นคืนแฟ้ม  การเก็บรักษา  การยืมเวชระเบียน มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นตามปริมาณการให้บริการของสถานพยาบาล ทั้งพบว่าความเสี่ยงที่เกิดจากการให้บริการเช่น ให้บริการเวชระเบียนไม่พบในระยะเวลาที่ประกันไว้  เวชระเบียนสูญหาย  เวชระเบียนหาไม่พบ  เวชระเบียนไม่กลับคืนห้องเก็บเวชระเบียน ความลับของผู้ป่วย/ผู้รับบริการถูกเปิดเผย  เป็นต้น   งานประกันสุขภาพ ยุทธศาสตร์และสารสนเทศทางการแพทย์จึงได้พัฒนาระบบการจัดเก็บและให้บริการเวชระเบียนแบบออนไลน์  เพื่อตอบสนองการให้บริการเวชระเบียนแก่ผู้ให้บริการและหน่วยงานในโรงพยาบาล อีกทั้งยังอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงเวชระเบียนพร้อมกันในหลายหน่วยงาน  ทั้งนี้สามารถลดระยะเวลาในการรอคอยเวชระเบียน  ลดความเสี่ยงด้านต่างๆของเวชระเบียน 









5.               วัตถุประสงค์การพัฒนา
5.1.           ลดความเสี่ยงความลับของผู้ป่วยถูกเปิดเผย
5.2.           เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ประดญชน์ของเวชระเบียน
6.               แนวคิดและหลักการของระบบหรือการพัฒนา
ปัจจุบันการรับบริการในโรงพยาบาล จำเป็นต้องมีเวชระเบียนผู้ป่วยเพื่อเป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างผู้ให้บริการด้วยกันเอง  ดังนั้น การลดภาระของการบริการเวชระเบียนผู้ป่วย (การค้นคืนแฟ้ม -  การเก็บรักษา) จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการได้เร็วขึ้น  ลดความเสี่ยงเรื่องเวชระเบียนสูญหาย  การรักษาความลับของผู้ป่วยและผู้รับบริการ
** เอาแฟ้มประวัติออกจากมือผู้ป่วยและผู้ให้บริการ   จะสามารถลดความเสี่ยงเช่น สูญหาย ทำแฟ้มแทน รักษาความลับ ไม่ต้องรอแฟ้ม ***



7.               ประโยชน์และความสามารถของระบบที่พัฒนา
7.1. ลดความเสี่ยงในการเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วยโดยบุคคลอื่น            

7.2.           เพิ่มความสามารถในการให้บริการเวชระเบียนผู้ป่วยได้ในทุกจุดบริการพร้อมกัน เป็นการลดระยะเวลารอคอยเวชระเบียน ณ จุดบริการ   
ึ7.3  ลดภาระการค้นคืนแฟ้ม  การรับกลับเข้าห้องเก็บเวชระเบียน  ซึ่งส่งผลให้นำไปเพิ่มประสิทธิภาพในงานเวชระเบียนด้านอื่นได้
7.3.           ลดภาระในการยืมและคืนเวชระเบียน
7.4.          
7.5.           ลดระยะเวลาบริการในขั้นตอนการขอสำเนาประวัติการรักษาพยาบาลย้อนหลัง  จาก 3 วันเหลือ  30  นาที
7.6.           เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการในคลินิกอื่นๆเช่น  สนับสนุนการตรวจสอบประวัติการรักษาพยาบาลในคลินิคผู้ป่วย DM - HT  สนับสนุนการตรวจสอบประวัติการรับบริการในคลินิกทันตกรรม  เป็นต้น

8.               สรุปผลการพัฒนา  การนำไปใช้  การประเมินผล
8.1.           ผู้ใช้งานพึงพอใจเพิ่มมากขึ้น (เวชระเบียนไม่หาย - ลดระยะเวลารอคอยเวชระเบียน ณ จุดบริการ – รักษาความลับของผู้ป่วย/ผู้รับบริการ)
8.2.           ลดภาระการบริการเวชระเบียนผู้ป่วย (พนักงานห้องบัตรไม่ต้องรีบค้นแฟ้มเวชระเบียน)

9.               ข้อเสนอแนะและโอกาสพัฒนา
9.1.           เวชระเบียนที่เกิดจากการบริการยังควรต้องมีอยู่ เนื่องจากระบบสารสนเทศยังตอบสนองได้ไม่ครบถ้วน
9.2.           ระบบ Scan Document  ควรเป็นระบบการสำรองข้อมูลเพิ่มเติมจากระบบสำรองปกติของหน่วยงาน


  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น