วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก

การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก
คำสำคัญ : ไข้เลือดออก ,Shock, การเสียชีวิต

ความสำคัญของปัญหา
                เนื่องจากการระบาดของไข้เลือดออกสูงขึ้นในเขตจังหวัดเลย  โดยเฉพาะในเขตอำเภอภูกระดึงมีผู้ป่วยไข้เลือดออกเข้ารับการรักษาเพิ่มสูงขึ้นกว่าทุกปีที่ผ่านมาและมีผู้ป่วยที่เสียชีวิตจำนวน 1 ราย  ดังนั้น  งานผู้ป่วยในจึงร่วมกับทีมสหวิชาชีพในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

สมาชิกทีม :  1. แพทย์ผู้รับผิดชอบงาน PCT
                    2. คณะอนุกรรมการตึกผู้ป่วยใน
                    3. ทีมควบคุมโรค  PCU
เป้าหมาย :  1. เพื่อหาแนวทางการดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
                  2. เพื่อป้องกันการเสียชีวิตด้วยไข้เลือดออก
                  3. เพื่อควบคุมโรคในชุมชนและลดการเพิ่มจำนวนของผู้ป่วยไข้เลือดออก
ปัญหาและสาเหตุ จากการประเมินการดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออกพบว่ามีการจัดในผู้ป่วยนอนตามเตียงที่ว่าง  ให้การดูแลเหมือนกับผู้ป่วยทั่วไป  โดยวัดสัญญาณชีพทุก 4  ชั่วโมง  ทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการเปลี่ยนแปลงได้รับการดูแลที่ล้าช้า  เสี่ยงต่อการเสียชีวิต





การเปลี่ยนแปลง
1.             มีการประชุมเพื่อกำหนดแนวทางการดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก 
2.             การกำหนดโซนผู้ป่วยไข้เลือดออก  โดยการจัดเตียงรับผู้ป่วยไข้เลือดออกที่จำเป็นต้องนอนรักษาในโรงพยาบาลบริเวณ Lock กลางของตึกที่พยาบาลสามารถมองเห็นผู้ป่วยจาก Nurse Station  ได้ตลอดเวลา  และสะดวกในการวัดสัญญาณชีพเนื่องจากผู้ป่วยอยู่ใกล้กัน
3.             กำหนดให้วัดสัญญาณชีพทุก 1-2 ชั่วโมง เมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ระยะ Leaked  หรือ Plt  ต่ำกว่า 100,000  และโอกาสในเกิดภาวะ Shock 
4.             จัดแยกใบบันทึกสัญญาณชีพเพื่อให้เห็นชัดเจนป้องกันการลืมวัดสัญญาณชีพ
5.             แจกยาทากันยุงในผู้ป่วยที่อยู่ในระยะแพร่กระจายเชื้อ
6.             กำหนดให้ใช้เครื่องวัดความดันโลหิตแบบ Manual ในการวัด

การวัดผลและการเปลี่ยนแปลง

ก่อนการพัฒนา
หลังการพัฒนา
1.             ผู้ป่วยไข้เลือดออกนอนคละกันกับผู้ป่วยทั่วไป
2.             การวัด V/S ส่วนใหญ่วัดทุก 4 ชั่วโมง  และวัดถี่ขึ้นเมื่อมีปัญหา BP ต่ำ
3.             เจ้าหน้าที่ไม่สะดวกเมื่อต้องวัด V/S บ่อยเนื่องจากผู้ป่วยอยู่คนละที่กัน
4.             ผู้ป่วยไข้เลือดออกที่อยู่ในระยะไข้เสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อให้ผู้ป่วยข้างเคียง
1.             ผู้ป่วยไข้เลือดออกได้รับการจัดเตียงให้อยู่ใกล้กัน
2.             การเฝ้าระวังภาวะ  Shock และ Observe V/S บ่อยขึ้นเมื่อเข้า Leaked
3.             เจ้าหน้าที่สามารถวัด V/S ได้สะดวกไม่ต้องเดินไกลเนื่องจากผู้ป่วยอยู่ใกล้กัน
4.             โอกาสของการแพร่กระจายเชื้อสู่เตียงข้างเคียงลดลง

บทเรียนที่ได้รับ
1.             เป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการเสียชีวิตของผู้ป่วยไข้เลือดออก
2.             การกำหนดแนวทางการปฏิบัติ(CPG)ทำให้การทำงานสะดวกและชัดเจน
3.             ด้านบุคลากรเป็นการพัฒนาศักยภาพของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก

แผนการพัฒนาต่อเนื่อง
1.             การสร้างความร่วมมือในการป้องกันไข้เลือดออกภายในชุมชน

2.             พัฒนาระบบการบันทึกข้อมูล การเก็บข้อมูล เพื่อการดูแลต่อเนื่อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น