ชื่อผลงาน การพัฒนางานถ่ายภาพรังสีทางทันตกรรม
ปัญหาและสาเหตุ
ในการดำเนินงานให้บริการคลินิกทันตกรรม จำเป็นต้องมีการใช้ภาพถ่ายรังสีในช่องปากประกอบการวินิจฉัยและการรักษา โดยในปี
2554 ที่ผ่านมา ได้มีการถ่ายภาพรังสีในช่องปากจำนวน 729 ราย ใช้ฟิล์มรังสีในช่องปากจำนวน 879 ชิ้น และในปี 2555 ได้ถ่ายภาพรังสีในช่องปากจำนวน 733 ราย ใช้ฟิล์มรังสีในช่องปากจำนวน 1,162 ชิ้น ซึ่งแนวโน้มมีการถ่ายภาพรังสีเพิ่มมากขึ้น โดยทันตบุคลากรผู้ให้บริการที่จำเป็นต้องใช้ภาพถ่ายรังสีประกอบการวินิจฉัยจะแจ้งผู้ช่วยทันตแพทย์ด้วยวาจา
ในกรณีที่มีผู้มารับบริการจำนวนมาก ทันตบุคลากรจะให้ผุ้รับบริการ รอการแจ้งให้ไปถ่ายภาพรังสีอยู่หน้าห้องคลินิกทันตกรรมด้วยสาเหตุจากพื้นที่ที่จำกัดของคลินิก เมื่อผู้ช่วยทันตแพทย์เตรียมอุปกรณ์พร้อมจะพาผู้รับบริการไปถ่ายภาพรังสี จะสอบถามด้วยวาจาหรือบางครั้งสอบถามเพิ่มเติมจากผู้รับบริการ
เมื่อได้ภาพถ่ายรังสีแล้วจะนำมาไว้บนกล่องอ่านฟิล์มของยูนิตทันตกรรมแล้วแจ้งทันตบุคลากรให้ทราบ
ซึ่งจากการปฏิบัติงานที่ผ่านมา
มักพบข้อผิดพลาดจากการถ่ายภาพรังสีผิดตำแหน่งซี่ฟันที่ระบุและการเรียกผู้รับบริการผิดคนไปทำการถ่ายภาพรังสีในช่องปาก ทำให้ภาพถ่ายรังสีที่ได้ไม่สามารถใช้ประกอบ
ในการวินิจฉัยได้
หรืออาจเกิดการวินิจฉัยผิดพลาดและผู้รับบริการได้รับหลักฐานภาพถ่ายรังสีประกอบประวัติการมารับบริการที่ไม่ถูกต้อง
รวมถึงบางครั้งไม่ได้จัดเก็บภาพถ่ายรังสีในทะเบียนผู้รับบริการทำให้เกิดการสูญหายของภาพถ่ายรังสี ซึ่งเป็นการสูญเปล่าทางงบประมาณเนื่องจากฟิล์มรังสีมีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงมีการประชุมเพื่อวิเคราะห์และหาแนวทางปฏิบัติร่วมกันในการพัฒนางานถ่ายภาพรังสีในช่องปากให้ตรงซี่ฟันที่ต้องการและตัวผู้รับบริการที่ถูกคน
โดยพบว่าสาเหตุที่ถ่ายภาพรังสีผิดคนหรือผิดซี่ มักเกิดขณะที่มีผู้รับบริการจำนวนมากและมีผู้รอถ่ายภาพรังสีหลายคนนั่งรอหน้าห้องคลินิกทันตกรรม
หรือในบางครั้ง ผู้ช่วยทันตแพทย์ลืมซี่ฟันที่จะถ่ายภาพรังสี ในขณะที่ทันตบุคลากรกำลังให้บริการผู้รับบริการคนต่อไปอยู่ ทำให้มีโอกาสที่จะสื่อสารน้อยลงหรือสื่อสารข้อมูลที่ผิดพลาดได้ง่าย จึงควรเพิ่มขั้นตอนการสื่อสารระหว่างทันตบุคลากรผู้ให้บริการและผู้ช่วยทันตแพทย์ รวมถึงหลักฐานเอกสารเพื่อใช้อ้างอิงประกอบการถ่ายภาพรังสี
เพื่อให้ได้ภาพถ่ายรังสีถูกซี่ฟันและถูกบุคคลที่สามารถใช้ประกอบการวินิจฉัย
และใช้เป็นหลักฐานประกอบประวัติการมารับบริการทันตกรรมที่ถูกต้อง
![]() |
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต |
เป้าหมาย
ลดข้อผิดพลาดการถ่ายภาพรังสีผิดตำแหน่งซี่ฟันที่ระบุ และการเรียกผู้รับบริการผิดคนไปทำการถ่ายภาพรังสีในช่องปาก
การเปลี่ยนแปลง
1.
ปรับปรุงขั้นตอนในการถ่ายภาพรังสีภายในช่องปาก
โดยเมื่อจะทำการถ่ายภาพรังสี ให้ทันต
บุคลากรผู้ให้บริการเขียนใบขอถ่ายภาพรังสีภายในช่องปาก
โดยจะมีรายละเอียดข้อมูลระบุ
ชื่อ
นามสกุล ของผู้รับบริการ วันที่ HN.No. ตำแหน่งที่จะถ่ายภาพรังสี ชื่อผู้ส่งถ่ายภาพรังสี
และผู้ทำการถ่ายภาพรังสี
2.
ผู้ทำการถ่ายภาพรังสีจะตรวจสอบใบขอถ่ายภาพรังสี และยืนยันข้อมูลกับทันตบุคลากรผู้ให้
บริการ แล้วจะเรียกผู้รับบริการ โดยระบุ ชื่อและนามสกุล ก่อนพาไปถ่ายภาพรังสี
3.
เมื่อได้ภาพถ่ายรังสี และ ทันตบุคลากรผู้ให้บริการทำการแปลผลแล้ว
ผู้ถ่ายภาพรังสีจะ
ทำหน้าที่นำภาพถ่ายรังสีและใบขอถ่ายภาพรังสีเก็บเข้าในแฟ้มประวัติผู้มารับบริการ
โดยได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม
2554 เป็นต้นมา
4
เมื่อพบมีเหตุการณ์ถ่ายภาพรังสีผิดซี่หรือผิดคน ให้มีการรายงานทันตแพทย์หัวหน้าคลินิก
ทันตกรรมในวันนั้น ๆ เพื่อบันทึกเหตุการณ์ และต่อมาในเดือนพฤษภาคม 2555 ได้เพิ่มการเขียน
ใบอุบัติการณ์ความเสี่ยงรายงานเหตุการณ์ทุกครั้ง
เพื่อร่วมกันหาแนวทางปรับปรุงพัฒนางานต่อไป
5.
มีการติดตามการปฏิบัติงานจากใบอุบัติการณ์ความเสี่ยงของคลินิกทันตกรรม
เป็นประจำทุกเดือน
6.
มีการประชุมทบทวน ติดตามและประเมินการปฏิบัติงานร่วมกัน เป็นประจำทุก 6 เดือน
การวัดผลและผลการเปลี่ยนแปลง
อัตราความผิดพลาดการถ่ายภาพรังสีผิดตำแหน่งซี่ฟันที่ระบุ และการเรียกผู้รับบริการผิดคนไปทำการถ่ายภาพรังสีในช่องปาก
ลดลงเหลือ
ร้อยละ 0
สรุปผลการดำเนินงานโดยย่อ
1. ผังการพัฒนางานถ่ายภาพรังสีทางทันตกรรม
กิจกรรม
|
กย54
|
ตค
54
|
พย
54
|
ธค54
|
มค55
|
กพ55
|
มีค55
|
เมย55
|
พค55
|
มิย55
|
กค55
|
สค55
|
กย55
|
ประชุมหาแนวทางร่วมกัน
|
/
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ดำเนินงาน
|
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
ติดตามการดำเนินงาน
|
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
ประชุมทบทวน
|
|
|
|
|
|
|
/
|
|
|
|
|
|
/
|
2. อัตราการความผิดพลาดการถ่ายภาพรังสีผิดตำแหน่งซี่ฟันที่ระบุ
กิจกรรม
|
กย54
|
ตค
54
|
พย
54
|
ธค54
|
มค55
|
กพ55
|
มีค55
|
เมย55
|
พค55
|
มิย55
|
กค55
|
สค55
|
กย55
|
อัตราผิดตำแหน่งซี่ฟัน
|
-
|
0
|
0
|
0
|
0
|
0
|
0
|
0
|
0
|
0
|
0
|
0
|
0
|
3. อัตราการความผิดพลาดการถ่ายภาพรังสีผู้รับบริการผิดคน
กิจกรรม
|
กย54
|
ตค
54
|
พย
54
|
ธค54
|
มค55
|
กพ55
|
มีค55
|
เมย55
|
พค55
|
มิย55
|
กค55
|
สค55
|
กย55
|
อัตราผิดคน
|
-
|
0
|
0
|
0
|
0
|
0
|
0
|
0
|
0
|
0
|
0
|
0
|
0
|
การวางแผนปรับปรุงต่อเนื่อง
1. ปรับปรุงคุณภาพการถ่ายภาพรังสี ให้ได้ภาพที่สัดส่วนถูกต้อง เต็มแผ่นภาพรังสีและครอบคลุม
บริเวณที่ต้องการ
2. กำหนดให้มีพื้นที่วางพักภาพถ่ายรังสีให้แห้งสมบูรณ์พร้อมใบขอถ่ายภาพรังสี ก่อนจัดเก็บในแฟ้ม
ประวัติการมารับบริการ เพื่อป้องกันการหลงลืมหรือสูญหาย
บทเรียน
1.
เจ้าหน้าที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนางานที่ปฏิบัติอยู่เป็นประจำให้มีคุณภาพและมี
ประสิทธิภาพ
2. การร่วมกันวิเคราะห์และหาแนวทางในการปฏิบัติงานร่วมกัน
ช่วยสร้างความตระหนักและ
ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน
ลดความผิดพลาดในการสื่อสารและส่งผลให้การปฏิบัติงานเป็นไป
อย่างมีประสิทธิภาพ
3. การจัดลำดับหรือขั้นตอนการทำงานให้ชัดเจน จะช่วยผู้ปฏิบัติงาน ปฏิบัติงานด้วยความมั่นใจและ
ลดความผิดพลาดในระหว่างการปฏิบัติงานได้
ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาคุณภาพต่อเนื่อง
1. โครงสร้างของห้องคลินิกทันตกรรมมีพื้นที่ที่ค่อนข้างจำกัด ทำให้เป็นอุปสรรคในการหาพื้นที่
ที่เหมาะสมในการวางพักภาพถ่ายรังสี
และหลีกเลี่ยงการการปนเปื้อนจากการทำงาน
คำสำคัญ
ภาพถ่ายรังสีภายในช่องปาก ใบขอถ่ายภาพรังสีภายในช่องปาก
ชื่อทีม
ทพ.
พีระยุทธ์ เตโชฬาร ทพญ.นิตยา
ลาภะกุล ทพ. โสภณ เหลี่ยมสมบัติ
ทพญ.นัฐมน ลีละชัยกุล
ทพญ.ปนัดดา เอโหย่ น.ส.
คงไคร มีมะจำ
นางจรูญลักษณ์
มนตรี
น.ส. นันทนี
พลอยศรี น.ส. นัฐยา สุจันทร์ศรี
นายสุพจน์ จันทราศรี นางดวงจันทร์ อินทร์ปลัด
นส.
น้ำฝน ชนพอง
นาง
แสงเดือน บริจันทร์ นส. นฤภรณ์ ศรีสุนทร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น