งานซักฟอก

Service   Profile
    งานซักฟอก  โรงพยาบาลภูกระดึง
1. บริบท (Context)
                หน่วยงานซักฟอกมีหน้าที่ให้บริการเกี่ยวกับเครื่องผ้าทุกประเภท ทุกหน่วยงานในโรงพยาบาล โดยมีเป้าหมาย ให้บริการผ้าสะอาด เพียงพอ   พร้อมใช้งาน ผู้รับบริการพึงพอใจ  ขอบเขตของการให้บริการ  งานซักฟอกมีเครื่องซักขนาด 7 kg 7 เครื่องและเครื่องอบผ้า 1 เครื่อง  มีเจ้าหน้าที่ประจำ 2 คน ให้บริการซักฟอกเครื่องผ้าทางการแพทย์และหน่วยงานทั่วไป จัดเก็บเครื่องผ้าและขนส่งเครื่องสะอาด ให้กับหน่วยงานต่างๆ ซ่อมแซมผ้าที่ชำรุด  ในตอนเช้าของทุกวันจะขนส่งผ้าส่งตามหน่วยงานต่างๆ    หลังส่งผ้าก็จะชั่งน้ำหนักผ้า ทำความสะอาดผ้า  ตากหรืออบผ้าแห้ง พับ จัดเก็บเพื่อจัดส่งผ้าให้หน่วยงานต่างๆในวันรุ่งขึ้น รวมทั้งการจัดสำรองผ้าให้เพียงพอต่อการใช้งาน  ในเวลาประมาณ 15.30 น.ของทุกวันจะเก็บผ้าจากหน่วยงานต่างๆมาเก็บที่แผนกซักฟอก  
                บุคลากรมีความรู้ความสามารถในการตรวจสอบ บำรุงรักษา ระบบบันทึก การใช้งานอุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงาน และมีแนวทางปฏิบัติตามเกณฑ์สากลในระบบการป้องกัน และควบคุมการติดเชื้อ การแพร่กระจายเชื้อ การบริหารความสิ่งแวดล้อม ทั้งภายใน และภายนอก เพื่ออำนวยต่อการปฏิบัติงานและความปลอดภัยของบุคลากรให้บริการเครื่องผ้าสะอาด  มีใช้อย่างเพียงพอ ผู้รับบริการพึงพอใจ เจ้าหน้าที่ปลอดภัย

2. กระบวนการสำคัญ (Key Processes)

กระบวนการสำคัญ
(Key Process)
สิ่งที่คาดหวังจากกระบวนการ
( Process Requirement )
ตัวชี้วัดที่สำคัญ
( Performance Indicator )
1. การเตรียมความพร้อมก่อนปฏิบัติงาน
  
- ผู้ปฏิบัติงานแต่งกายได้ถูกต้องตามหลักUP 
- เครื่องซักผ้า อบผ้า อยู่ในสภาพใช้งานได้ปกติ
- ระบบไฟฟ้า น้ำประปาเป็นปกติ
- จำนวนครั้งของเจ้าหน้าที่แต่งกายไม่ถูกต้องขณะปฏิบัติงาน
- อุบัติการณ์เครื่องซักผ้า อบผ้าชำรุด
- อุบัติการณ์การเกิดไฟฟ้า,น้ำประปาขัดข้อง
2. การรับผ้าปนเปื้อน
- ผ้าปนเปื้อนอยู่ในถุงมัดปากถุงสนิทใส่ถังมีฝาปิดล็อค
- ไม่มีสิ่งของปนมาในถุงผ้า
- หน่วยงานแยกผ้าปนเปื้อนมาถูกประเภท
- รถเข็นผ้าสะอาด
- จำนวนครั้งของการแยกผ้าผิดประเภท
- จำนวนครั้งของการมีสิ่งของปนมากับเครื่องผ้า




กระบวนการสำคัญ
(Key Process)
สิ่งที่คาดหวังจากกระบวนการ
( Process Requirement )
ตัวชี้วัดที่สำคัญ
( Performance Indicator )
3. การซักผ้า
- เครื่องผ้าสะอาด
- ไม่มีอุปกรณ์หรือสิ่งแปลกปลอม และขยะปนในกับเครื่องผ้า
- น้ำหนักผ้าเหมาะสมกับเครื่องซักผ้า
- เครื่องซักผ้าทำงานได้เป็นปกติ
- จำนวนเครื่องผ้าไม่สะอาด
4. การตากผ้า/อบผ้า
- ผ้าแห้ง ไม่อับชื้น
- เจ้าหน้าที่ปลอดภัยไม่เกิดโรคจากการปฏิบัติงาน
-เจ้าหน้าที่สวมเครื่องป้องกันร่างกายขณะปฏิบัติงาน
- รายงานอุบัติการณ์ผ้าอับชื้น /เปียก ผ้าขึ้นรา

5.การพับ/จัดเก็บ
- ผ้าพับเป็นระเบียบ ถูกต้อง สะอาด ไม่มีคราบสกปรก
- คัดแยกผ้าชำรุด
- เครื่องผ้าจัดเก็บเป็นระเบียบเรียบร้อย จัดแยกเป็นหมวดหมู่
- จำนวนเครื่องผ้าชำรุด

6. การส่งผ้า
- เครื่องผ้าถูกจัดส่งถูกต้องตามใบเบิกผ้า ถูกหน่วยงาน
- ไม่มีการค้างผ้ากับหน่วยงานบริการผู้ป่วย
  - ความเพียงพอของเครื่องผ้า         













2.2 กระบวนการคู่ขนาน (ต่อ)
กระบวนการสำคัญ
(Key Process)
สิ่งที่คาดหวังจากกระบวนการ
( Process Requirement )
ตัวชี้วัดที่สำคัญ
( Performance Indicator )
- การป้องกันการติดเชื้อ/บาดเจ็บจากการทำงาน
- การออกกำลังกาย
- การสนทนาการ
- การทำงานเป็นทีม

- บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในการทำงานร่วมกันเป็นทีมให้เกิดประสิทธิภาพ
- ความร่วมมือในการทำงานของบุคลากรภายในหน่วยงาน
- บุคลากรตระหนักถึงภาวะสุขภาพของตนเอง
- สถานที่ทำงานและบรรยากาศของการทำงานเอื้อต่อการปฏิบัติงาน เช่น ไม่มีมลภาวะทางเสียง แสง กลิ่น และมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำงานไม่เกิดความขัดแย้งภายในและภายนอกหน่วยงาน

- อุบัติการณ์ด้านอาชีวอนามัย
- ผ่านการประเมินการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาล ( HA ) ขั้นที่ 3

3. ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน ( Performance Indicator )
1. จำนวนครั้งของเจ้าหน้าที่แต่งกายไม่ถูกต้องตามหลัก UP ( เกณฑ์ 0)
-          จากการสุ่มสำรวจยังคงพบอุบัติการณ์การไม่ปฏิบัติตามหลักICของผู้ปฏิบัติอยู่ ได้ร่วมประชุมชี้แจงและออกแนวปฏิบัติการปฏิบัติตามหลัก UP
-          ต.ค.50-มี.ค.51 อุบัติการณ์ที่พบอยู่ในส่วนของพนักงานพับผ้าไม่สวม Mask ขณะพับผ้า เข้าที่ประชุมในหน่วยงาน ให้เจ้าหน้าที่ปรับปรุงแก้ไข เฝ้าระวัง เก็บตัวชี้วัดต่อ




2. จำนวนข้อร้องเรียนเครื่องผ้าไม่สะอาด    ( เกณฑ์ 0 )

ปัญหาเกิดจาก
1.             เจ้าหน้าที่ผู้ทำการซักผ้าไม่ได้ใส่น้ำยาซักผ้าตามมาตรฐานที่กำหนด
2.             ผ้าเปื้อนน้ำยาBetadine หลังทำความสะอาดจะเหลือคราบสีเหลือง
3.             ตัวน้ำยาซักผ้าไม่สามารถขจัดคราบเลือดออกได้หมด เปลี่ยนบริษัทน้ำยาซักผ้า
-          ออกแนวปฏิบัติการซักผ้า มาตรฐานการใช้น้ำยาซักผ้า  การคัดแยกแยกผ้าก่อนส่ง
-          พบอุบัติการณ์ข้อร้องเรียนเพิ่มขึ้น   เฝ้าระวังเก็บตัวชี้วัดต่อ

3. จำนวนครั้งของการแยกผ้าผิดประเภท       ( เกณฑ์ 0 )


ปัญหาเกิดจาก
1.             เจ้าหน้าที่ไม่ตระหนักถึงความจำเป็นของการแยกผ้า
2.             ผู้ป่วย/ญาติไม่ทราบถึงหลักการแยกผ้าก่อนใส่ลงถังผ้า
หลังการทบทวนปัญหาพบอุบัติการณ์ลดลง
จากการทำกิจกรรม IC ROUND ยังคงพบอุบัติการณ์ที่ไม่ได้รายงานอุบัติการณ์   และเก็บตัวชี้วัดต่อ


4. จำนวนครั้งของการมีวัสดุ อุปกรณ์ สิ่งของปนมากับผ้าเปื้อน( เกณฑ์ 0)


-          ต.ค.-มี.ค.50 เริ่มเก็บตัวชี้วัด เพื่อลดอุบัติการณ์มีการประสานงานเชื่อมโยงปัญหาที่พบกับหน่วยงานบริการผู้ป่วย
-          มี.ค.51-ปี52  พบอุบัติการณ์น้อยลง สุ่มสำรวจพบปัญหาข้อมูลไม่สัมพันธ์กับการสุ่มสำรวจ เกิดจากเจ้าหน้าที่ไม่ได้รายงาน/เก็บข้อมูลทุกครั้งที่พบอุบัติการณ์ ร่วมประชุมในหน่วยงานทบทวนเรื่อง RISK MANAGEMENT เพื่อให้เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานเห็นความสำคัญของการเขียน อุบัติการณ์

6. จำนวนครั้งของ อุบัติการณ์ด้านอาชีวอนามัย
 พบอุบัติการณ์ด้านอาชีวอนามัยจำนวน 1 ครั้ง  เจ้าหน้าที่โดนเข็มตำ
มีการจัดทำแนวปฏิบัติเมื่อเจ้าหน้าที่ประสบอุบัติเหตุถูกของมีคมทิ่มตำ/สัมผัสสารคัดหลั่ง
-     เน้นการปฏิบัติตามหลัก UP
-     เน้นและสร้างความตระหนักในหน่วยงานเกี่ยงกับการคัดแยกเครื่องผ้า

7. จำนวนครั้งเครื่องซักผ้า/อบผ้าชำรุด
     -      มีการเก็บตัวชี้วัด ประสานงานทีมช่างของโรงพยาบาลเพื่อการแก้ไขปัญหานำไปสู่
              คณะกรรมการเครื่องมือ
      -       มีการจัดทำปรับปรุงระบบงานภายในหน่วยซักฟอกเกี่ยวกับการสำรวจอุปกรณ์เครื่องมือ
              ก่อนการปฏิบัติงานและหลังปฏิบัติงานในเชิงป้องกัน

8. จำนวนความไม่พอเพียงของเครื่องผ้า
                          
          จากการ สุ่มสำรวจพบปัญหาข้อมูลไม่สัมพันธ์กับการสุ่มสำรวจ เกิดจากเจ้าหน้าที่ไม่ได้รายงาน/เก็บข้อมูลทุกครั้งที่พบอุบัติการณ์ ร่วมประชุมในหน่วยงานทบทวนเรื่องการรายงาน
          การแก้ไข  ทางฝ่ายพัสดุจัดสั่งเครื่องผ้าเพิ่มให้พอเพียงกับปริมาณการใช้

4. กระบวนการหรือระบบงานเพื่อบรรลุเป้าหมายและมีคุณค่า
                4.1 ระบบงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน (รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพที่เสร็จสิ้นแล้ว)
4.1.1 กระบวนการปฏิบัติงานหลักของหน่วยงาน (ระบบต่างๆที่ใช้อยู่และเกิดผลลัทธ์ที่ดีในการปฏิบัติงาน )
1)  ระบบการจัดการเครื่องผ้าแบบศูนย์รวมที่หน่วยงานซักฟอก โดยให้บริการเครื่องผ้าทุกประเภทภายในโรงพยาบาล เช่นเครื่องผ้าผู้ป่วย ผ้าเอนกประสงค์สำหรับทำความสะอาด ผ้าเช็ดเท้า ผ้าถูพื้นนำมาทำการซักให้สะอาดทุกประเภทที่งานซักฟอก
2) การจัดระบบFirst in – First out  ของงานเครื่องผ้าทุกประเภททั้งบนหน่วยงานบริการผู้ป่วยและงานซักฟอก ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น หน่วยงานบริการผู้ป่วยมีผ้าใช้อย่างเพียงพอทั้งในเวลาและนอกเวลาราชการ ผ้าได้รับการหมุนเวียนใช้อย่างเหมาะสม
3) ใช้หลัก 12 กิจกรรมเข้ามาทบทวนโดยนำความเสี่ยงที่ได้รับจากข้อร้องเรียนหรือจากอุบัติการณ์มาทบทวนหน้างานและประชุมประจำเดือนเพื่อร่วมกันหาสาเหตุ แก้ไขปัญหา






4.1.2 การทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ
สรุปกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพที่ได้ทำไปแล้ว การปรับเปลี่ยนและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
กิจกรรมพัฒนาคุณภาพ
การปรับเปลี่ยน
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
จัดทำ WI เรื่องการซักฟอก
เดิมไม่มีการคำนวณการใช้น้ำยาว่าเหมาะสมหรือไม่
ปรับให้มีการชั่งผ้าทุกวันเพื่อจะได้นำมาคำนวณการใช้น้ำยาว่าเหมาะสมหรือไม่
จัดทำ WI การแยกประเภทของผ้าเปื้อน
เดิมมีการแยกผ้าส่งซักผิดประเภท
อุบติการณ์แยกผ้าผิดประเภทจากตัวชี้วัดลดลง
กิจกรรมพัฒนาคุณภาพ
การปรับเปลี่ยน
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
จัดทำแนวทางการรับ-ส่งผ้าเปื้อน
เดิม-  มีการขนส่งผ้าเปื้อนกับผ้าสะอาดโดยใช้เส้นทางเดียวกันใช้รถคันเดียวกัน
ไม่มีการกำหนดรับ-ส่งผ้า
- จัดส้นทางรับ-ส่งผ้าเปื้อนกับผ้าสะอาดคนละเส้นทาง
-แยกรถขนขนผ้าเปื้อนกับผ้าสะอาด
- มีการกำหนดเวลาการรับส่งผ้าเปื้อนและผ้าสะอาด

4.1.3 การพัฒนาศักยภาพบุคลากร
มีการกำหนดสมรรถนะหลักของบุคลากร สอดคล้องกับโรงพยาบาล     กำหนดสมรรถนะเชิงวิชาชีพ และคุณลักษณะของบุคลากรหน่วยงานซักฟอก   ที่สอดคล้องกับความเสี่ยงสำคัญในหน่วยงาน พัฒนาศักยภาพบุคลากร  โดยใช้กระบวนการประชุมปรึกษา การทบทวนความรู้    การจัดบุคลากรเข้ารับการอบรมเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาล   มีการจัดให้มีการศึกษาดูงานภายนอกโรงพยาบาล
ในรอบ 3 ปี ที่ผ่านมามีการจัดอบรมทั้งภายใน   และภายนอกโรงพยาบาล   ได้แก่   การอบรมผู้ช่วยเหลือคนไข้  คนงาน (เจ้าหน้าที่งานซักฟอก)ในเรื่องเกี่ยวกับIC การล้างมือ การสวมเครื่องป้องกันร่างกาย หลัก UP และเข้าร่วมอบรมเกี่ยวกับการซ้อมแผนอัคคีภัย การอบรมฟื้นคืนชีพ  
1.4 นวัตกรรม
งานซักฟอกมีนวัตกรรมเครื่องดักฝุ่นผ้า  ผลลัทธ์ที่ได้ส่งผลให้ลดปริมาณการฟุ้งกระจายของฝุ่นผ้าลดความเสี่ยงการเกิดโรคปอดอักเสบในเจ้าหน้าที่งานซักฟอก ลดค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อเครื่องอบดักฝุ่นผ้าซึ่งมีราคาแพง



4.2 การพัฒนาคุณภาพระหว่างดำเนินการ
                       4.2.1 จัดทำทางลาดสำหรับเข็นรถนำผ้าเข้าเครื่องอบ เพื่อป้องกันการได้รับบาดเจ็บขณะยกของหนัก เช่น ปวดแขน , ปวดขา , ปวดหลัง จากการยกของหนัก
                   4.2.2 รณรงค์ไม่ให้มีอุปกรณ์ สิ่งแปลกปลอมและขยะปนมาในถุงผ้าเปื้อนและผ้าติดเชื้อ เช่น ขยะจากหอผู้ป่วย กระดาษ Autoclaveจากการแกะห่อชุดอุปกรณ์ เป็นต้น
                     
  5. แผนการพัฒนาต่อเนื่อง
กิจกรรมพัฒนาต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์
ระยะเวลา
ผู้รับผิดชอบ
- จัดระบบการรับ-แลกผ้าเป็นpack set

- เปลี่ยนผ้าเช็ดมือเป็นกระดาษเช็ดมือ
- เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน
- เรียบร้อย น่าใช้
- เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค
- ลดปัญหาผ้าเช็ดมือสูญหาย

ปีงบประมาณ2552


ปีงบประมาณ2552
หัวหน้างานซักฟอก เจ้าหน้าที่งานซักฟอกและหัวหน้างานผู้ป่วย
หัวหน้างานซักฟอกและคณะกรรมการENV







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น