การบริหารความเสี่ยงโรงพยาบาลภูกระดึง
วิสัยทัศน์
มุ่งมั่นให้ระบบบริหารความเสี่ยงขององค์กรมีคุณภาพ ปลอดภัยและยั่งยืน
พันธะกิจ
สร้างแนวทางในการบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาลภูกระดึง
เพื่อควบคุม เฝ้าระวัง หาแนวทางแก้ไขและป้องกันความสูญเสีย
ที่จะเกิดขึ้นกับผู้รับบริการ, ญาติ, บุคลากร ,ทรัพย์สินขององค์กรและชุมชน
กลยุทธ์
1. สร้างระบบบริหารความเสี่ยงทุกหน่วยงาน
2. สนับสนุนและประสานงานกับทุกหน่วยงานเพื่อบริหารจัดการอุบัติการณ์ความเสี่ยง
3. พัฒนาความรู้ด้านการจัดการความเสี่ยงให้กับบุคลากร
4. ติดตามและประเมินผลระบบการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง
1. ขอบเขตและนโยบาย
1.1 ขอบเขต
มีการบริหารความเสี่ยง ตั้งแต่การค้นหา,วิเคราะห์, หามาตรการป้องกัน และจัดการความเสี่ยงเมื่อเกิดเหตุการณ์ และการประเมินผล
1.2 นโยบาย
1)
กำหนดให้ทุกหน่วยงานในโรงพยาบาลจัดการบริหารความเสี่ยง โดยการค้นหา
วิเคราะห์และจัดการความเสี่ยง มีการติดตามประเมินผลเพื่อการปรับปรุงอย่างมีระบบ
2) แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
เพื่อให้การจัดการความเสี่ยงภายในโรงพยาบาลดำเนินการได้ทันเวลา
3)
จัดตั้งคณะทำงานบริหารความเสี่ยงทุกหน่วยงาน
4)
นำกระบวนการบริหารความเสี่ยง ( ค้นหา วิเคราะห์ความรุนแรง
จัดการและประเมินผล) มาปฏิบัติ มีระบบการรายงานความเสี่ยง
โดยใช้บันทึกอุบัติการณ์ มีแนวทางในการวางมาตรการป้องกัน แก้ไข ภายในฝ่าย/หน่วยงาน
รวมทั้งการเลือกประเด็นมาศึกษาเชิงลึกหรือวิเคราะห์สาเหตุ (RCA) ในกรณีที่เป็นความเสี่ยงระดับ 4
5)
พัฒนาระบบป้องกันและแก้ไขความเสี่ยงที่สำคัญและเกิดบ่อย
เป็นคู่มือของหน่วยงานและนำสู่การปฏิบัติ
6)
การรายงานเหตุการณ์ความเสี่ยง ต้องดำเนินการในลักษณะที่เป็นความลับ
ไม่เปิดเผยข้อมูลแก่ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดและข้อขัดแย้งในองค์กร
7)
พัฒนาระบบสารสนเทศในการบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลและรายงาน
รวมทั้งฐานข้อมูลความเสี่ยงของโรงพยาบาล
2. กิจกรรม
2.1 การค้นหาความเสี่ยง
1) หัวหน้าหน่วยงาน
จัดให้มีการค้นหาความเสี่ยง จากกระบวนการหลัก
2) กรณีข้อเสนอแนะจากผู้รับบริการ , ญาติ
, ผู้บริหาร
หรือค้นหาความเสี่ยงที่ได้จากระหว่างการทำงานจากรายงานอุบัติการณ์และประสบการณ์จากหน่วยงานอื่น
ให้หัวหน้าหน่วยงานบันทึกในแบบบัญชีความเสี่ยงทุกเดือน
3) กรณีมีคำร้องเรียน
ให้ผู้รับคำร้องเรียนเขียนแบบบันทึกอุบัติการณ์ส่งให้ผู้จัดการความเสี่ยง
พิจารณาดำเนินการที่เหมาะสมต่อไป
4) การค้นหาความเสี่ยงระดับทีมประสานจากการทำกิจกรรมได้จาก
การทบทวนทางคลินิก การทบทวนขณะดูแลผู้ป่วย ทบทวนการเสียชีวิต การเกิดภาวะแทรกซ้อน
การทบทวนความสมบูรณ์ของเวชระเบียน การทบทวนการตรวจรักษาพยาบาล
การสำรวจโครงสร้างทางสิ่งแวดล้อม การเยี่ยมสำรวจคุณภาพภายใน
2.2
การวางแผนการจัดการความเสี่ยง
ทุกหน่วยงาน
นำรายการความเสี่ยงที่สำคัญ มาจัดทำบัญชีความเสี่ยงของหน่วยงาน จัดทำมาตรการความเสี่ยง
2.3 การจัดการความเสี่ยงเมื่อเกิดเหตุ
1) กรณีเป็นอุบัติเหตุกลุ่มชน หรือเกิดอัคคีภัย
ผู้ประสบเหตุรายงานผู้อำนวยการ
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเพื่อพิจารณาใช้แผนรับอุบัติเหตุกลุ่มชน
หรือแผนรองรับอัคคีภัย
2)
เมื่อสถานการณ์ความเสี่ยงเกิดขึ้น ให้ผู้ประสบเหตุ
เข้าระงับเหตุทันทีถ้าสามารถทำได้ จากนั้นรายงานหัวหน้าหน่วยงานทราบภายใน 24
ชั่วโมง
3)
ถ้าไม่สามารถระงับเหตุได้ให้แจ้งหัวหน้าหน่วยงานทันที
ถ้าเป็นเหตุเฉพาะที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ให้แจ้งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยด้วย
4) หัวหน้าหน่วยงานเข้าระงับเหตุเบื้องต้น
และรายงานอุบัติการณ์
5) กรณีหัวหน้าหน่วยงาน หรือ
เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ระงับเหตุไม่ได้ให้แยกเป็น 2 กรณี
ก.อุบัติการณ์เกี่ยวกับการแพทย์ให้รายงานแพทย์เวรหรือแพทย์ที่ให้การดูแลผู้ป่วย
พิจารณาสั่งการระงับเหตุ
ข. อุบัติการณ์ที่ไม่เกี่ยวกับการแพทย์
ให้รายงานหัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป พิจารณาสั่งการระงับเหตุ
3. การรายงานอุบัติการณ์
3.1 ผู้ประสบเหตุ
เป็นผู้เขียนบันทึกอุบัติการณ์ ส่งให้หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบ
ก.กรณีมีผู้ประสบภัยหลายคน
ให้ผู้ที่เป็นหัวหน้าเวร เป็นผู้เขียนบันทึก
ข. กรณีเป็นคำร้องเรียน
ผู้รับคำร้องเรียนเป็นผู้เขียนบันทึก
3.2 หัวหน้าหน่วยงาน
ตรวจสอบ บันทึกอุบัติการณ์ วิเคราะห์หาสาเหตุและความรุนแรง
บันทึกในบัญชีความเสี่ยงของหน่วยงานและสำเนาแบบบันทึกอุบัติการณ์ส่งผู้จัดการความเสี่ยงทันทีที่ทำได้
ผู้จัดการความเสี่ยงจัดให้มีการทบทวนหาสาเหตุเบื้องหลัง root cause analysis และวางแผนการปรับปรุง
ตามความสำคัญของเหตุการณ์ ตามวิธีปฏิบัติการวิเคราะห์การรายงานอุบัติการณ์และการดำเนินการแก้ไขปรับปรุง
3.3 ผู้จัดการความเสี่ยงรวบรวมรายงาน
วิเคราะห์ข้อมูล จำนวนอุบัติการณ์
ประเภทและระดับความเสี่ยงรายงานต่อคณะกรรมการบริหารคุณภาพ
และคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลทุก 3 เดือน กรณีอุบัติการณ์ที่มีความรุนแรงสูง
ให้รายงานผู้อำนวยการทันที
4. การประเมินผล
4.1 หัวหน้าหน่วยงาน
ติดตามเครื่องชี้วัดความเสี่ยงของหน่วยงาน เพื่อทบทวนหาสาเหตุ
และแนวโน้มของการเกิดอุบัติการณ์ ติดตามแผนการแก้ไขปรับปรุงตามสาเหตุ
และตรวจสอบว่ามาตรการที่ใช้ป้องกัน เหมาะสมหรือไม่ เป็นประจำทุกเดือน
4.2 หัวหน้าหน่วยงาน
ตรวจสอบบัญชีความเสี่ยงและวิเคราะห์อุบัติการณ์รวม โดยใช้ Risk Matrix เพื่อหามาตรการจัดการและปรับปรุงบัญชีรายการความเสี่ยงทุก
1 ปี
4.3 ผู้จัดการความเสี่ยง
ติดตามผลการบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน
ติดตามเครื่องชี้วัดความเสี่ยงระดับโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลทุก 3 เดือน
4.4 คณะกรรมการบริหารคุณภาพ
ประเมินผลระบบบริหารความเสี่ยงโรงพยาบาล ปีละ 1 ครั้ง
5. การสะท้อนกลับ
ผู้จัดการความเสี่ยง
นำเสนอข้อมูลการบริหารความเสี่ยงต่อคณะกรรมการบริหารคุณภาพ
คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล เพื่อพิจารณาให้ข้อเสนอแนะ หาจุดอ่อนในระบบ
แล้วแจ้งกลับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปปรับปรุงพัฒนา
แผนบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน และระบบบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาลต่อไป
เป้าหมาย
ลดอัตราการเกิดอุบัติการณ์ความเสี่ยง ที่มีผลกระทบในระดับสูงที่จะเกิด ผู้รับบริการ
ผู้ให้บริการองค์กรมากที่สุด โดยมีตัวชี้วัด
1. มีรายงานผลกระทบระดับความรุนแรง ( 4 )
ทุกครั้งภายใน 24
ชั่วโมงหลังเกิดเหตุการณ์ ทำ RCA ภายใน 7 วัน
เป้าหมาย 100 %
2. อัตราความเสี่ยงระดับ ( 3 )
เป้าหมาย ≤ 5 %
3. ลดค่าใช้จ่าย /
ความสูญเสียที่องค์กรต้องชดใช้ค่าเสียหาย เป้าหมาย ลดลง
4. อัตราความเสี่ยงระดับ ( 4 ) เป้าหมาย
0 %
5. อัตราได้รับรายงานอุบัติการณ์ตรงเวลาที่กำหนด เป้าหมาย
≥ 80 %
\
จุดเน้นในการพัฒนา / เข็มมุ่ง
จุดเน้นในการพัฒนา / เข็มมุ่ง
1. เพิ่มอัตราการรายงานอุบัติการณ์เสี่ยงให้มากขึ้น และเป็นปัจจุบันขึ้น
2. พัฒนาการเชื่อมโยงและสื่อสารข้อมูลความเสี่ยง
ระหว่างหน่วยงานและทีมงานที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น