ชื่อผลงาน : Active management เพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด
คำสำคัญ: Active management ตกเลือดหลังคลอด
สรุปผลงานโดยย่อ: จากการเก็บสถิติมารดาตกเลือดหลังคลอด
ปี 2554 มีมารดาตกเลือดหลังคลอด คิดเป็น 1.50 %
ปี 2555มีมารดาตกเลือดหลังคลอด คิดเป็น 1.23 %
จากสถิติที่ผ่านมาอุบัติการณ์การตกเลือดหลังคลอดพบว่าสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี
ดังนั้นทีมงานห้องคลอดจึงได้ร่วมกันพัฒนาแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังลอดที่เกิดจากสาเหตุมดลูกหดรัดตัวไม่ดี(Active
management)ขึ้นมา
สมาชิกทีม: 1. แพทย์ผู้รับผิดชอบงานห้องคลอด
2.
พยาบาลหัวหน้าห้องคลอด
3.
พยาบาลผู้ปฏิบัติงานห้องคลอด
เป้าหมาย: 1. เพื่อหาแนวทางการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด
2.
เพื่อป้องกันและแก้ไขภาวะช็อกจากการตกเลือดหลังคลอดได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ปัญหาและสาเหตุ: จากสถิติที่ผ่านมาอุบัติการณ์การตกเลือดหลังคลอดพบว่าสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากากรหดรัดตัวของมดลูกไม่ดีและจากการทบทวนกระบวนการป้องกันยังพบว่าผู้ปฏิบัติยังขาดความรู้และทักษะการดูแลป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด
งานห้องคลอดจึงได้ทบทวนปัญหา สาเหตุ และกำหนดแนวทางเป็น CPG และแนวทางการทำคลอดรกแบบใหม่(Active
management)
การเปลี่ยนแปลง
1.
กำหนดแนวทางการปฏิบัติใหม่ในการดูแลมารดาตกเลือดหลังคลอด
และการทำคลอดรกแบบใหม่Active management
of 3rd stage
2.
สอนและสาธิตการทำคลอดรกแบบใหม่ Active
management โดยทีมแพทย์และหัวหน้างาน
3.
ประชุมชี้แจงแนวทางการปฏิบัติและประกาศใช้ในหน่วยงาน
การวัดผลและการเปลี่ยนแปลง
ก่อนนำ เรื่อง การดูแลใน Third stage วิธี Active management มาใช้
|
หลังนำ การดูแลใน Third stage วิธี Active management มาใช้
|
1 .ปีงบประมาณ
2556 พบอัตราการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด สาเหตุจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดีคือ
1.14%
|
1 .ปีงบประมาณ
2557
(1 ต.ค 56-31
ก.ค 57)
พบอัตราการเกิดภาวะการตกเลือดหลังคลอดสาเหตุจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดีดังนี้
คือ 0.80%
|
2 .ไม่มีแนวทางการดูแลใน Third
stage วิธี Active management
|
2 .มีแนวทางเรื่อง การดูแลใน Third stage วิธี Active management โดยประกาศใช้เป็นนโยบายในหน่วยงาน
|
3 .
เมื่อเกิดอุบัติการณ์ภาวะตกเลือดหลังคลอดจะมีการประชุมเฉพาะกลุ่มเล็กๆ
และส่งเวรกันในหน่วยงาน
|
3 . เมื่อเกิดอุบัติการณ์ภาวะตกเลือดหลังคลอดจะมีการประชุมทั้งในหน่วยงาน
รวมทั้งแพทย์ผู้เกี่ยวข้อง
ตลอดจนมีการทบทวน สรุป case
|
4 .มีการกำหนดให้เขียนบันทึกอุบัติการณ์ความเสี่ยง
แต่เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยบันทึกเพราะกลัวความผิด
|
4 .
มีการกำหนดให้เขียนบันทึกอุบัติการณ์ความเสี่ยง
และเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือขึ้น
เพราะมีการทำความเข้าใจในการเขียนบันทึกอุบัติการณ์ความเสี่ยงเพื่อให้มีการพัฒนางาน
อีกทั้งมีผู้รับผิดชอบคอยติดตามงานอย่างชัดเจน
|
บทเรียนที่ได้รับ
1.
เป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการให้การป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด
2.
การกำหนดแนวทางการปฏิบัติ(CPG)ทำให้การทำงานสะดวกและชัดเจน
3.
ด้านบุคลากรเป็นการพัฒนาศักยภาพของพยาบาลในการดูแลป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด
แผนการพัฒนาต่อเนื่อง
1.
การดุแลในระยะที่ 4ของการคลอด(หลังคลอด
2ชม.)ให้มีการ check V/S ทุก 15 นาที ครั้ง ทุก 30 นาที 2ครั้ง และทุก
1ชมจนปกติร่วมการคลึงมดลูกล้วง Blood clot จนกระทั่งมดลูกหดรัดตัวกลมแข็งดี
ดูแลทางเดินปัสสาวะให้โล่งทุกราย
2.
พัฒนาระบบการคัดกรองความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด
การเก็บข้อมูล เพื่อการดูแลต่อเนื่อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น