กิจกรรมพัฒนาคุณภาพต่อเนื่อง
ชื่อผลงาน
การเฝ้าระวังและค้นหาโรคหัวใจขาดเลือดในผู้ป่วยที่มาด้วยอาการไม่ชัดเจน(จุกแน่นลิ้นปี่
เจ็บแน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่ม)
.คำสำคัญ
Acute myocardial
infarction/ จุกแน่นลิ้นปี่
เจ็บแน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่ม /Warning signs
สรุปผลงานโดยย่อ
การพัฒนาประสิทธิภาพในการประเมินคัดกรองและวินิจฉัยโรคAMIทำให้ส่งผู้ป่วยไปรับการรักษาได้ในเวลาที่รวดเร็วและเหมาะสม แต่ในปัจจุบันโรงพยาบาลพบปัญหาการคัดกรองผู้ป่วยที่มาด้วยอาการแน่นหน้าอก
จุกแน่นลิ้นปี่หรือหายใจไม่อิ่มได้รับการประเมินคัดกรองช้าทำให้เกิดความล่าช้าในการให้การพยาบาลเบื้องต้นและการส่งต่อไปโรงพยาบาลที่มีศักยภาพมากกว่า
จึงมีการพัฒนาระบบการดูแลกลุ่มโรคนี้ขึ้น
ผลการพัฒนาพบว่าเกิดกระบวนการที่เป็นระบบมากขึ้น
โดยตัวชี้วัดในระดับกระบวนการอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ยังพบว่ามีผู้ป่วยเสียชีวิตในตึกผู้ป่วยใน
ชื่อและที่อยู่องค์กร
งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน
กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลภูกระดึง จังหวัดเลย .สมาชิกทีม
แพทย์ /พยาบาล
เป้าหมาย
1.ให้พยาบาลสามารถประเมินคัดกรองผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกและอาการไม่ชัดเจน
ปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด
2.ผู้ป่วยที่มีอาการจุกแน่นลิ้นปี่เจ็บแน่นหน้าอกหายใจไม่อิ่มได้รับการเฝ้าระวังอาการเตือนที่สำคัญ(warning
signs)ไม่พบผู้ป่วย sudden cardiac arrest
3 ลดอุบัติการณ์ผู้ป่วยเสียชีวิตโดยไม่คาดในโรงพยาบาล
ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ
ในช่วงที่ผ่านมาแม้ว่าจะมีการวางระบบในการซักประวัติ
คัดกรองเบื้องต้นก่อนรับการตรวจรักษาโดยแพทย์หรือการรับบริการแผนกอื่นของโรงพยาบาล
แต่ยังพบอุบัติการณ์ผู้ป่วยมีอาการทรุดลง มีหัวใจหยุดเต้นกะทันหันขณะนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
ซึ่งมีเหตุที่เชื่อได้ว่า น่าจะเกิดจากการคัดกรองเบื้องต้นและการเฝ้าระวังที่ไม่มีประสิทธิภาพเช่นผู้ป่วยรายหนึ่งที่มาด้วยอาการ
จุกแน่นลิ้นปี่แสบร้อนท้องมีโรคประจำตัวเป็นความดันโลหิตสูงได้รับการทำEKGผลตรวจEKGปกติและรับการรักษาวินิจฉัยเบื้องต้นเป็น Dyspepsia หลังฉีดยารักษาอาการDyspepsia
ผู้ป่วยอาการไม่ทุเลาแพทย์รับไว้รักษาในรพ.หลังรับไว้รักษาในรพ.ผู้ป่วยยังมีอาการปวดจุกแน่นท้องไม่ทุเลาและไม่ได้ทำEKGซ้ำหรือได้รับการเฝ้าระวังที่ดีทำให้ผู้ป่วยมีอาการทรุดลงและมีsudden
cardiac arrest ทำ CPR และส่งต่อรพ.เลย
ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาต่อมาและเกิดข้อร้องเรียน
อุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นแม้จะมีจำนวนน้อยแต่เป็นอุบัติการณ์ที่มีความเสี่ยงค่อนข้างรุนแรง
จึงได้มีการทบทวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เห็นปัญหาและปัจจัยที่น่าจะเป็นสาเหตุของปัญหาดังนี้
1.การประเมินคัดกรองผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ยังไม่ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย
2.ขาดการเฝ้าระวังอาการเตือนที่สำคัญ(warning signs)
3.แนวทางการประเมินคัดกรองผู้ป่วยAMIและแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่มาด้วยอาการไม่ชัดเจน
ยังไม่ชัดเจน
การพัฒนาและการปรับระบบ
1.ทบทวนและปรับระบบการคัดกรองผู้ป่วยที่มาด้วยอาการปวดแสบท้องจุกแน่นหน้าอกตามระบบ MI FAST TRACT
2.พัฒนาบุคลากรจัดประชุมวิชาการเพิ่มความรู้และทักษะในการประเมินคัดกรองผู้ป่วยAMIแก่พยาบาลปฏิบัติงาน
การเฝ้าระวังอาการเตือนที่สำคัญ( warning sings)
3.จัดอบรมทบทวนทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพแก่เจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงาน
4.จัดช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการจุกแน่นลิ้นปี่
แน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่มหรืออาการที่เข้าได้หรือสงสัย
5.แพทย์ทบทวนแนวทางการเฝ้าระวังโดยการเขียนแผนการรักษาใน
Doctor order
6.ทบทวนระบบการส่งต่อ
การดูแลระหว่างส่งต่อและกำหนดข้อตกลงร่วมกันในการส่งต่อผู้ป่วยในเวลาที่กำหนด
9.การวัดผลและผลการเปลี่ยนแปลง
วัดผลตามตัวชี้วัดคุณภาพดังนี้
1.อัตราความครอบคลุมของการประเมินและเฝ้าระวังภาวะเบื้องต้นจากจำนวนผู้ป่วยที่รับไว้ในรพ.11ราย พบผู้ป่วยเสียชีวิตโดยไม่คาด
1ราย
2.อุบัติการณ์ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการแน่นหน้าอก
จุกแน่นลิ้นปี่ หายใจไม่อิ่มไม่ได้เข้าระบบMI Fast tract (ผู้ป่วยAMIไปรอตรวจที่OPD)
3.อุบัติการณ์ผู้ป่วยเสียชีวิตโดยไม่คาด
2553
|
2554
|
2555
|
2556
|
||
ตัวชี้วัด
|
จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการทำEKG
|
830
|
509
|
1020
|
|
จำนวนผู้ป่วยที่ไม่ได้เข้าระบบ MI Fast tract
|
1
|
2
|
2
|
0
|
|
จำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิตโดยไม่คาด
|
0
|
1
|
1
|
0
|
|
จำนวนผู้ป่วยมีอาการทรุดลงsudden cardiac
arrest 1ราย(2555)/2556 1ราย
บทเรียนที่ได้รับ
การควบคุมกำกับและพัฒนาทักษะบุคลากรเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำควบคู่กับการพัฒนาคู่มือ
มาตรฐานและกระบวนการปฏิบัติ
แนวทางการพัฒนาต่อเนื่อง
พัฒนาต่อโดยในด้านการคัดกรองติดตามให้ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนด
อย่างคลอบคลุมทุกหน่วยงาน พัฒนาระบบการดูแลรักษาให้ได้ตามมาตรฐาน
ส่วนในระยะการดูแลต่อเนื่องเน้นการพัฒนาการประเมินและเฝ้าระวังขณะผู้ป่วยนอนในโรงพยาบาลและการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน
แบบประเมินเบื้องต้นสำหรับงานทันตกรรม
งานกายภาพบำบัด งานนวดแผนไทย
ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้ให้แจ้งเจ้าหน้าที่
1.วิงเวียนเป็นลม
2.มีเหงื่อออกตัวเย็น
3.เหนื่อย ใจสั่น
เจ็บแน่นหน้าอก
4.หายใจหอบเหนื่อย
ถ้าผู้ป่วยมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งให้รายงานแพทย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น