กิจกรรมพัฒนาคุณภาพต่อเนื่อง
1.ชื่อผลงาน
การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยMI
2.คำสำคัญ
AMI (Acute
myocardial infarction) /Warning signs
3.สรุปผลงานโดยย่อ
การพัฒนาประสิทธิภาพในการประเมินคัดกรองและวินิจฉัยโรคAMIทำให้ส่งผู้ป่วยไปรับการรักษาได้ในเวลาที่รวดเร็วและเหมาะสม
ในปี2555โรงพยาบาลมีปัญหาในการคัดกรองผู้ป่วยที่มาด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอกที่ตึกผู้ป่วยใน
พบผู้ป่วยที่นอนในรพ.มีภาวะทรุดลงเข้าสู่ภาวะวิกฤติ sudden cardiac
arrest1ราย
ได้รับการส่งต่อและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ผลจากการทบทวนพบว่าผู้ป่วยไม่ได้รับการเฝ้าระวังที่ดีจึงได้มีการประชุมให้ความรู้ในเรื่องWarning singsและทบทวนแนวทางการดูแลของแพทย์ผลลัพธ์ยังพบผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะวิกฤติ1ราย ในปี2556พบว่าผู้ป่วยMIได้รับการวินิจฉัยล่าช้าจากการอ่านผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจช้า/การตัดสินใจของแพทย์
ความผิดพลาดในการแปลผลและความครบถ้วนของข้อมูล
ทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น AMI ได้รับยาละลายลิ่มเลือด(Streptokinase)ช้าและระยะการให้ยายังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดแต่มีแนวโน้มที่เร็วขึ้นเฉลี่ย
47นาที
![]() |
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต |
4.ชื่อและที่อยู่องค์กร
งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน
กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลภูกระดึง จังหวัดเลย
5.สมาชิกทีม
เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกคน
6.เป้าหมาย
6.1 ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตโดยไม่คาด
6.2
ไม่พบผู้ป่วยมีอาการทรุดลงเข้าสู่ภาวะวิกฤติ
6.2ผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยเป็นAMIได้รับการรักษาโดยการให้ยาละลายลิ่มเลือดอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
7.ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ
ในช่วงที่ผ่านมาพบผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ภาวะวิกฤติsudden cardiac arrest 1รายที่ตึกผู้ป่วยในเป็นผู้ป่วยหญิงอายุ63ปี
U/DHT มาด้วยปวดแสบแน่นท้องมีคลื่นไส้อาเจียนหลังแพทย์ตรวจรักษาผู้ป่วยอาการไม่ทุเลารับไว้รักษาในรพ.ขณะอยู่ในรพ.ผู้ป่วยยังมีอาการปวดแสบแน่นท้องเป็นระยะและมีsudden
cardiac arrest ทำCPRส่งรพ.เลยและเสียชีวิตในเวลาต่อมา
จากการทบทวนพบว่าผู้ป่วยไม่ได้รับการเฝ้าระวังอาการเตือนที่สำคัญ (Warning
signs)เพื่อป้องกันผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะวิกฤติ ผลจากการทบทวนทำให้เกิดการพัฒนาในเรื่องการเฝ้าระวังอาการเตือนที่สำคัญ(Warning
signs) และแพทย์ทบทวนแนวทางปฏิบัติในการเฝ้าระวังผู้ป่วยโดยการเขียนเป็นแผนการรักษาในOrder
ผลจากการพัฒนาระบบจากการเฝ้าระวังผู้ป่วยที่นอนในโรงพยาบาลจำนวน
12รายไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิตในโรงพยาบาล ส่งต่อรพ.เลย1รายเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของ
Trop-I
ในช่วงที่ผ่านหลังการมีการพัฒนาระบบการคัดกรองผู้ป่วยที่มาด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอกทำให้ผู้ป่วยได้รับการประเมินคัดกรองเร็วขึ้นตามระบบ
ผลการพัฒนาพบว่ายังพบผู้ป่วยประเมินคัดกรองและการวินิจฉัยล่าช้าที่ER 2คนคือหลังทำEKGในเวรดึกพยาบาลส่งข้อมูลให้แพทย์ไม่เพียงพอดูครั้งแรกไม่พบEKGผิดปกติ แพทย์ลงมาดูอีกครั้งหลังผ่านไป2ชม.พบว่าEKG
มีความผิดปกติชนิด STEMI หลังทำEKGอีก1ครั้ง
ผลการอ่านEKGเปลี่ยนไปจากเดิมเป็นNSTEMIทำให้การวินิจฉัยล่าช้าซึ่งไม่สามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดได้ อีก1ราย ผู้ป่วยมาด้วยอาการเจ็บหน้าอก
เข้าระบบMI Fast tract แพทย์ดูEKGแล้ว
ยังไม่พบการเปลี่ยนแปลงจึงให้ยาและสังเกตอาการต่อและให้ทำEKG 30นาทีต่อมาแต่อยู่ในระหว่างแพทย์พักเวรเที่ยง ขึ้นมาอีกครั้ง1ชม.ต่อมา
จึงอ่านผลพบว่าเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของEKG และให้ทำอีกครั้ง30นาทีต่อมาพบมีความผิดปกติของEKGชัดเจน consult
อายุรแพทย์รพ.เครือข่ายวินิจฉัยว่าผู้ป่วยควรได้รับยาตั้งแต่การทำEKGครั้งที่2
อายุรแพทย์รพ.เครือข่ายวินิจฉัยว่าผู้ป่วยควรได้รับยาตั้งแต่การทำEKGครั้งที่2
จากอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นแม้จะมีจำนวนน้อยแต่เป็นอุบัติการณ์ที่ทำให้ผู้ป่วยเสียโอกาสในการได้รับยาละลายลิ่มเลือดและบางรายอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ถ้าได้รับการเฝ้าระวังที่ไม่เพียงพอ
จึงได้มีการทบทวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เห็นปัญหาและปัจจัยที่น่าจะเป็นสาเหตุดังนี้
1).ความครบถ้วนของข้อมูลในการรายงาน(SBAR)
2).ความผิดพลาดในการแปลผล
3).ความล่าช้าในการอ่านผลและการตัดสินใจของแพทย์
8.การพัฒนาและการปรับปรุงระบบ
1).ทบทวนและปรับระบบการคัดกรองผู้ป่วยที่มาด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอกตามระบบ MI FAST TRACT
2).จัดหาตัวอย่างEKGที่ปกติและผิดปกติโดยเฉพาะลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่มีอาการขาดเลือด
3).ทบทวนการรายงานข้อมูลโดยใช้SBAR
4).พัฒนาบุคลากรจัดประชุมวิชาการเพิ่มความรู้และทักษะในการประเมินคัดกรองผู้ป่วยAMIแก่พยาบาลปฏิบัติงาน
แนวทางการค้นหา warning signs
5).จัดอบรมทบทวนฟื้นฟูทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพแก่เจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงาน
6).
ทบทวนระบบการให้คำปรึกษาของรพ.แม่ข่าย
7).ระบบการส่งต่อ
การดูแลระหว่างส่งต่อและกำหนดข้อตกลงร่วมกันในการส่งต่อผู้ป่วยในเวลาที่กำหนด
8).พัฒนาระบบการดูแลรักษาให้ได้ตามมาตรฐาน
9.การวัดผลและผลการเปลี่ยนแปลง
ในปี2555พบผู้ป่วยเสียชีวิตโดยไม่คาดในโรงพยาบาล
1ราย จากจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการเฝ้าระวังที่ตึกผู้ป่วยในทั้งหมด 11 ราย ในปี2556 เฝ้าระวัง
12รายพบมีการเปลี่ยนแปลงของTrop-I Positive 1รายและได้รับการส่งต่อไปรพ.เลย
พบผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ภาวะวิกฤติ sudden cardiac arrest 1ราย
ในปี 2556
ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการเจ็บหน้าอกได้รับการประเมินคัดกรองที่ERจำนวน 74 รายพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ STEMI 8ราย ได้รับยาละลายลิ่มเลือดจำนวน 6ราย Door to needle time เฉลี่ย 47นาที
ไม่ได้รับยา2รายเนื่องจากการตรวจวินิจฉัยล่าช้า 1ราย
และผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ภาวะวิกฤติ 1ราย และได้รับการส่งต่อทั้งหมด
มีผู้ป่วยเสียชีวิตหลังส่งต่อ2ราย
บทเรียนที่ได้รับ
การควบคุมกำกับและพัฒนาทักษะบุคลากรเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำควบคู่กับการพัฒนาคู่มือ
มาตรฐานและกระบวนการปฏิบัติ
แนวทางการพัฒนาต่อเนื่อง
พัฒนาต่อโดยในด้านการคัดกรองติดตามให้ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนด
อย่างคลอบคลุมทุกหน่วยงาน พัฒนาระบบการดูแลรักษาให้ได้ตามมาตรฐาน
ส่วนในระยะการดูแลต่อเนื่องเน้นการพัฒนาการประเมินและเฝ้าระวังขณะผู้ป่วยนอนในโรงพยาบาลและการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น