1. ชื่อผลงาน/โครงการพัฒนา
ลดจำนวนครั้งของการเกิดผู้ป่วยแพ้ยาซ้ำในโรงพยาบาลภูกระดึง
2. คำสำคัญ
แพ้ยา, แพ้ยาซ้ำ,
ผู้ป่วยรพ.ภูกระดึง, ผู้ป่วยแพ้ยา
3.
สรุปผลงานโดยย่อ
จากข้อมูลของผู้ที่มาเข้ารับการบริการโรงพยาบาลภูกระดึง
ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2553
– 2555
ปีงบประมาณ 2553 จำนวนใบสั่งยาผู้ป่วยนอก 67,357 ครั้ง จำนวนวันนอน 5,322
วัน
พบว่ามีการสั่งจ่ายยา
ที่ผู้ป่วยแพ้ซ้ำให้กับผู้ป่วย ซึ่งสามารถตรวจเจอได้จากการตรวจสอบยาที่ผู้ป่วยได้กลับบ้าน โดยเจ้าหน้าที่ในตึกผู้ป่วยใน แต่ไม่มีการบันทึกข้อมูลในเชิงสถิติ
ปีงบประมาณ
2554
จำนวนใบสั่งยาผู้ป่วยนอก 87,171 ครั้ง
จำนวนวันนอน 16,058 วัน
ไม่พบการจ่ายยาที่ผู้ป่วยแพ้ซ้ำในผู้ป่วยนอก
แต่ยังคงพบการสั่งจ่ายยาซ้ำในผู้ป่วย แต่สามารถตรวจเจอได้ก่อนที่ผู้ป่วยจะได้รับยา
ปีงบประมาณ 2555
จำนวนใบสั่งยาผู้ป่วยนอก 91,124 ราย
จำนวนวันนอน 12,328
ครั้ง
พบมีการจ่ายยาให้ที่ผู้ป่วยแพ้ยาซ้ำ
จำนวน 1
ราย ในผู้ป่วยหลังคลอด
![]() |
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต |
4.
ชื่อและที่อยู่องค์กร
กลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค โรงพยาบาลภูกระดึง จังหวัดเลย
5. ผู้จัดทำ
ภญ. พนมพร ศรีบัวรินทร์ เภสัชกรชำนาญการ
6. เป้าหมาย
ลดจำนวนครั้งของการเกิดผู้ป่วยแพ้ยาซ้ำในโรงพยาบาลภูกระดึง
7. ปัญหาและสาเหตุ
ระบบการแจ้งเตือนข้อมูลการแพ้ยาของผู้ป่วยปีงบประมาณต่างๆ
มีดังนี้คือ
ปีงบประมาณ 2553 จะมีแสดงเฉพาะในส่วนของหน้าปกแฟ้มผู้ป่วยนอก (OPD
card)
ปัญหาที่พบคือ กระบวนการตรวจสอบการแพ้ยาของผู้ป่วยใน
จะสามารถตรวจสอบได้เฉพาะในกรณี ก่อนและหลังจากที่ผู้ป่วยได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
จากการตรวจสอบจากหน้าปกแฟ้มผู้ป่วยนอก โดยเจ้าหน้าที่ในตึกผู้ป่วยในและจากการซักถามผู้ป่วยหรือญาติที่มารับยาที่ห้องจ่ายยา
ซึ่งจากกระบวนการทั้งหมดแฟ้มประวัติผู้ป่วยนอก จะไม่ผ่านมาทางห้องจ่ายยา
ปีงบประมาณ 2554 แสดงระบบการเตือนที่หน้าปกแฟ้มผู้ป่วยนอก (OPD
card) และระบบเตือนจากคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเตือนในกรณีที่มีการพิมพ์ยาเพื่อสั่งจ่ายให้กับคนไข้
ปัญหาที่พบคือ พบการสั่งจ่ายยาซ้ำในผู้ป่วย เนื่องจากระบบการเตือนแพ้ยายังไม่ครอบคลุมการสั่งจ่ายยาโดยแพทย์ในผู้ป่วยใน แต่สามารถตรวจเจอได้ก่อนที่ผู้ป่วยจะได้รับยา
เนื่องจากมีระบบการแจ้งเตือนที่คอมพิวเตอร์เมื่อมีการคีย์ข้อมูลการเบิกจ่ายยาที่ห้องยา
แต่อาจเกิดการให้ยาที่ผู้ป่วยแพ้ยาซ้ำได้ หากเจ้าที่หอผู้ป่วยใน ให้ยาที่ stock
ไว้ โดยไม่มาเบิกยาที่ห้องยา
ปีงบประมาณ 2555 แสดงระบบการเตือนดังนี้
-
หน้าปกแฟ้มผู้ป่วยนอก (OPD
card) : กรณีที่ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล จะต้องนำแฟ้มมาให้เจ้าหน้าที่ห้องยาตรวจสอบทั้งก่อนเข้าและหลังออกจากโรงพยาบาล
-
ระบบเตือนจากคอมพิวเตอร์
-
ลงรายละเอียดยาที่ผู้ป่วยแพ้ในภกด.005
(ใบเบิกยา) และ progress note พร้อมสติกเกอร์สีชมพู
ปัญหาที่พบคือ การจ่ายยาให้ที่ผู้ป่วยแพ้ยาซ้ำ จำนวน 1 ราย
ในผู้ป่วยหลังคลอด เนื่องจากไม่มีการนำแฟ้ม OPD มาให้ห้องยาตรวจสอบ
และอยู่ในช่วงเริ่มกรอกข้อมูลในคอมพิวเตอร์ จึงมีข้อมูลบางส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์
จึงไม่มีการแจ้งเตือนเมื่อมาเบิกยา
8. การเปลี่ยนแปลง
ขั้นตอนกระบวนการทำงานประกอบด้วย
8.1 ประชุมบุคลากรที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายเภสัชกรรมและฝ่ายผู้ป่วยใน
เพื่อกำหนดรูปแบบการดำเนินงาน
8.2 รูปแบบกระบวนการการดำเนินงาน ประกอบด้วย
กระบวนการและแนวทางปฏิบัติในการจัดยาผู้ป่วยใน
(ก่อนAdmit)
พยาบาลลงทะเบียน admit
![]() |
ญาติผู้ป่วย / เจ้าหน้าที่นำแฟ้ม
admit + OPD card มายื่น
![]() |
เภสัชกร / จพ.เภสัช : คัดลอกยาจาก doctor’s order ลงใน ภกด.005 / พิมพ์ฉลากยา
(ลงรายละเอียดยาที่ผู้ป่วยแพ้ในภกด.005 และ progress note พร้อมสติกเกอร์สีชมพู)
![]() |
จพ.เภสัช / จนท. ห้องยา : ติดฉลาก
/ จัดยา
![]() |
เภสัชกร : check ยาเทียบกับ doctor’s order
(ตรวจสอบการแพ้ยาผู้ป่วย)
![]() |
เภสัชกร / จพ.เภสัช
: ส่งมอบยา + แฟ้ม admit แก่ญาติผู้ป่วย
/ จนท. Ward
(สอบถามญาติผู้ป่วยเรื่องแพ้ยา)
![]() |
ญาติผู้ป่วย / จนท. ward : นำยา + แฟ้ม admit ยื่น พยาบาล ward
ขั้นตอนการดำเนินงานแสดงรายละเอียดตาม
Flow
chart ดังกล่าว โดย
แตกต่างจากกระบวนการเดิมดังนี้
-
ส่ง OPD card + doctor’s order มาห้องยาเพื่อ
check ประวัติแพ้ยา
-
หากมีการสั่งจ่ายยาที่ผู้ป่วยแพ้
เจ้าหน้าที่ห้องยาจะปรึกษาแพทย์อีกครั้ง หากมีการแก้ไข
จะโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ผู้ป่วยในทันที
-
เภสัชกร / จพ.เภสัช : คัดลอกยาที่ผู้ป่วยแพ้ ลงใน ภกด.005
-
เภสัชกรจะตรวจสอบการแพ้ยาที่ OPD card และ ภกด.005 อีกครั้ง
-
เภสัชกร / จพ.เภสัช
จะสอบถามญาติผู้ป่วยเรื่องแพ้ยาอีกครั้ง ก่อนส่งมอบยา
ขั้นตอนการดำเนินงานแสดงรายละเอียดตาม
Flow chart ดังกล่าว โดย แตกต่างจากกระบวนการเดิมดังนี้
-
เภสัชกร/ จพ.เภสัช จะตรวจสอบ
doctor’s order (copy) เทียบกับ ภกด.005 ว่ามีการสั่งจ่ายยาที่ผู้ป่วยแพ้หรือไม่ ก่อนการพิมพ์ฉลากยา
-
หากมีการพิมพ์ยาที่ผู้ป่วยเคยแพ้
คอมพิวเตอร์จะแจ้งเตือนที่หน้าจอ
-
หากมีการสั่งจ่ายยาที่ผู้ป่วยแพ้
เจ้าหน้าที่ห้องยาจะปรึกษาแพทย์อีกครั้ง หากมีการแก้ไข
จะโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ผู้ป่วยในทันที
ขั้นตอนการดำเนินงานแสดงรายละเอียดตาม Flow chart ดังกล่าว
โดย แตกต่างจากกระบวนการเดิมดังนี้
-
ward จะส่ง OPD card แนบแฟ้ม D/C มาด้วยเพื่อตรวจสอบประวัติแพ้ยา
-
เภสัชกร/ จพ.เภสัช จะตรวจสอบ
doctor’s order เทียบกับ OPD card ว่ามีการสั่งจ่ายยาที่ผู้ป่วยแพ้หรือไม่
ก่อนการพิมพ์ฉลากยา
-
หากมีการพิมพ์ยาที่ผู้ป่วยเคยแพ้
คอมพิวเตอร์จะแจ้งเตือนที่หน้าจอ
-
หากมีการสั่งจ่ายยาที่ผู้ป่วยแพ้
เจ้าหน้าที่ห้องยาจะปรึกษาแพทย์อีกครั้ง
-
เภสัชกร / จพ.เภสัช
จะสอบถามญาติผู้ป่วยเรื่องแพ้ยาอีกครั้ง ก่อนส่งมอบยา
9. การวัดผลและผลการเปลี่ยนแปลง
ปีงบประมาณ 2553 พบว่ามีการสั่งจ่ายยา
ที่ผู้ป่วยแพ้ซ้ำให้กับผู้ป่วย แต่ไม่มีการบันทึกข้อมูลในเชิงสถิติ
ปีงบประมาณ 2554
ไม่พบการจ่ายยาที่ผู้ป่วยแพ้ซ้ำในผู้ป่วยนอก แต่ยังคงพบการสั่งจ่ายยาซ้ำในผู้ป่วย
แต่สามารถตรวจเจอได้ก่อนที่ผู้ป่วยจะได้รับยา
ปีงบประมาณ 2555 พบมีการจ่ายยาให้ที่ผู้ป่วยแพ้ยาซ้ำ จำนวน 1 ราย
ในผู้ป่วยหลังคลอด
พบว่าคณะผู้จัดทำได้ศึกษาข้อมูลสาเหตุที่ทำให้มีการจ่ายยาที่ผู้ป่วยแพ้ซ้ำและพัฒนาระบบการป้องกันการสั่งจ่ายยาที่ผู้ป่วยแพ้ให้เร็วขึ้นและครอบคลุมกระบวนการให้มากขึ้น
ทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วย ตั้งแต่กระบวนการก่อนการเริ่มให้ยาผู้ป่วย
และมีการเฝ้าระวังตลอดระยะเวลาที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษา จนได้รับยากลับบ้าน แต่ยังคงมีการจ่ายยาให้ผู้ป่วยซ้ำ
เนื่องจากอยู่ในช่วงที่พัฒนาระบบยังไม่สมบูรณ์ และลักษณะการเกิดเหตุการณ์ไม่ได้เกิดซ้ำที่จุดเดิม
จึงต้องมีการมีพัฒนาระบบให้ครอบคลุมมากขึ้น
10.
บทเรียนที่ได้รับ
เนื่องด้วยอาการของโรคของผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษา
โดยการนอนในโรงพยาบาล
จึงทำให้ต้องใช้ความเร่งรีบในการรักษา จึงอาจทำให้มีโอกาสมองข้ามประเด็นการแพ้ยาของผู้ป่วยไปได้
ฝ่ายเภสัชกรรมจึงต้องกำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อช่วยทีมงานสหวิชาชีพ
ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
จากการดำเนินงานที่ผ่านมา
สามารถช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นได้ แต่หากมีเครื่องมือที่ช่วยแพทย์ในการเตือนก่อนที่มีการสั่งจ่ายเช่น
การแสดงข้อความเตือนที่หน้าจอคอมพิวเตอร์เหมือนผู้ป่วยนอกหรือการติดสติกเกอร์แพ้ยาเพิ่มเติมที่ชาร์ทเหล็กร่วมกับเดิมที่เคยติดที่ progress
note น่าจะช่วยป้องกันปัญหาได้มากยิ่งขึ้น
11.
การติดต่อทีมงาน
ภญ.
พนมพร ศรีบัวรินทร์ กลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค โรงพยาบาลภูกระดึง
จังหวัดเลย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น