วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

การคัดกรองผู้ป่วยวัณโรค

1.ชื่อผลงาน/โครงการพัฒนา
                การคัดกรองผู้ป่วยวัณโรค
2.. คำสำคัญ
                 ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อ

3.สรุปผลงานสำคัญโดยย่อ
                จากการดำเนินงาน ได้มีการเปลี่ยนแปลงแนวทางการปฏิบัติงานอย่างเห็นได้ชัด โดยแนวทางปฏิบัติดังกล่าวเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางให้ได้รับการคัดกรองอย่างรวดเร็ว เป็น One stop service และเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคปอด จากผู้ป่วยสู่บุคลากรและผู้ป่วยอื่น ซึ่งแนวทางปฏิบัติดังกล่าวถูกจัดทำขึ้นโดยบุคลากรสหวิชาชีพเพื่อความสะดวกและให้การปฏิบัติการคัดกรองง่ายต่อทุกหน่วยบริการที่เกี่ยวข้องกับการคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคปอด โดยมีแนวทางการปฏิบัติดังนี้













แนวทางการคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคปอด     
1. แยกผู้ป่วยที่มีอาการดังต่อไปนี้ ตรวจที่จุดแยกตรวจ ไอเรื้อรังเกิน  2  สัปดาห์ หรือมีเลือดปน ซักประวัติเพิ่มเติมตามแบบฟอร์มจากงานส่งเสริมสุขภาพ (check list)
- ผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยวัณโรคชัดเจน
-  ผู้ป่วยที่มาตามนัดฟังผล  Sputum  AFB
-  ผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มารับยาตามนัด  คลินิกวัณโรค
-  ผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ Admit  จากสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติหนองหิน
ผู้ป่วยดังกล่าวสวมผ้าปิดปากปิดจมูกและนั่งรอที่จุดแยกตรวจ
2.     พยาบาลคัดกรองที่พบผู้ป่วยแจ้ง เจ้าหน้าที่ห้องบัตรทำแฟ้มประวัติผู้ป่วยและนำส่งที่จุดแยกตรวจ
3.     พยาบาลคัดกรองซักประวัติเพิ่มเติมพร้อมวัดสัญญาณชีพที่จุดแยกตรวจ
4.      เมื่อได้แฟ้มประวัติผู้ป่วยครบถ้วน พร้อมผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการกรณีมาฟังผลตามนัด   พยาบาลคัดกรองรายงานแพทย์เวรอันดับสอง (  2nd  call )   ในกรณีผู้ป่วยรายใหม่  และรายงานแพทย์เจ้าของไข้ในกรณีที่ผู้ป่วยมาตามนัด  และรายงานแพทย์เวรกรณี Admit  จากสถานีเฉลิมพระเกียรติหนองหิน
5.     พยาบาลคัดกรองช่วยดูแลขณะแพทย์ตรวจและดำเนินการต่อจนเสร็จกระบวนการ
6.     แจ้งเจ้าหน้าที่ คลินิกวัณโรคที่งานส่งเสริม เพื่อสอบสวนโรคและลงทะเบียนผู้ป่วยวัณโรคในกรณีที่ผลการตรวจ  Sputum AFB   เป็นบวก และติดตามผู้ป่วยในกรณีผู้ป่วยวัณโรครายเก่ามารับยาตามนัด
7.    กรณีผู้ป่วยที่ไม่ได้Admit   ถ้ามีญาติมาด้วยให้ญาติผู้ป่วยดำเนินการรับยาให้ผู้ป่วย ถ้าไม่มีญาติให้พยาบาลคัดกรองเป็นผู้รับยาให้ผู้ป่วย  
8.    กรณีผู้ป่วยวัณโรครายเก่ามารับยาให้เจ้าหน้าที่คลินิกวัณโรคเป็นผู้ประสานงานกับห้องยาและนำยามาจ่ายให้ผู้ป่วยที่จุดแยกตรวจ   พร้อมนัดผู้ป่วยรับยาครั้งต่อไป  ตามวันคลินิกวัณโรค (วันศุกร์ที่ 2,และวันศุกร์ที่ 4 ของเดือน)
9.    กรณีผู้ป่วยที่ได้ Admit  ห้องแยกโรค ให้พยาบาลคัดกรองลงทะเบียน Admit  และโทรศัพท์ประสานงานกับพยาบาลห้องแยกโรคเพื่อเตรียมรับผู้ป่วย  และส่งทำ  Treatment   ต่างๆที่ห้องแยกโรค
หมายเหตุ กรณีผู้ป่วยที่เหนื่อยเพลียมาก หายใจหอบ อาการเจ็บหน้าอกรุนแรง  ไอเป็นเลือดปริมาณมาก  เสี่ยงต่อภาวะช๊อค  จำเป็นต้องให้ออกซิเจนหรือสัญญาณชีพผิดปกติ ให้รอตรวจที่ข้างห้องฉุกเฉิน
                ตารางแสดงจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการคัดกรองวัณโรคที่จุดแยกตรวจ
4.ชื่อและที่อยู่องค์กร
                งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล   โรงพยาบาลภูกระดึง   จังหวัดเลย
5.สมาชิกทีม    
            คณะกรรมการ IC  คณะกรรมการ PCT คณะกรรมการ  TB คลินิก  และองค์กรแพทย์
6.เป้าหมาย
                เพื่อสร้างแนวทางปฏิบัติการคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และป้องกันการแพร่กระจายเชื้อต่อผู้รับบริการและผู้ให้บริการและสามารถคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคปอดได้อย่างรวดเร็ว
7.ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ
                เนื่องจากในปัจจุบันมีผู้ป่วยวัณโรคปอดและผู้ติดเชื้อวัณโรคเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก และจำนวนผู้ป่วยเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลเพิ่มมากขึ้น หากโรงพยาบาลขาดการจัดการที่เหมาะสมอาจทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อต่อผู้รับบริการอื่นในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น จากเดิมโรงพยาบาลภูกระดึงไม่มีจุดแยกตรวจและแนวทางการคัดกรองผู้ป่วยที่ชัดเจน ต่างจุดบริการต่างปฏิบัติตามแนวทางของตนเอง ทำให้เกิดความขัดแย้งและทำงานซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงานรวมทั้งผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อไม่ได้รับการแยกตรวจและไม่มีช่องทางด่วนบริการ ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้ออย่างมาก และขาดระบบติดตามผู้ป่วยชัดเจนทำไม่สามารถติดตามผู้ป่วยได้
                จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น จุดบริการที่เกี่ยวข้องจึงได้ดำเนินการทบทวนการปฏิบัติใหม่เพื่อให้มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน เป็นแนวทางเดียวกัน
8.การเปลี่ยนแปลง
            1. มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน เป็นแนวทางเดียวกัน
                2. มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานแต่ละขั้นตอนที่ชัดเจน
                3. มีการทำงานเป็นทีม
                4. เจ้าหน้าที่ให้ความสำคัญของการคัดกรองมากขึ้น
                5. ลดเวลาในและขั้นตอนในการรับบริการสำหรับผู้ป่วยได้มากขึ้น
9.การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง 
1. ความขัดแย้งระหว่างจุดบริการลดลง
2. ผู้ป่วยทุกคนที่มีอาการตามข้อบ่งชี้ที่ต้องแยกตรวจได้รับการแยกตรวจที่จุดแยกตรวจ
3. จำนวนผู้ป่วยได้รับการคัดกรองวัณโรครวดเร็วขึ้น
4.ความครอบคลุมการติดตามผู้ป่วยวัณโรคเพื่อรับการรักษาเพิ่มขึ้น
10.บทเรียนที่ได้รับ

                เมื่อมีผลกระทบของปัญหาต่อหลายๆหน่วยงาน การแก้ปัญหาในเชิงสหวิชาชีพจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น