สรุปข้อมูลสำคัญของหน่วยงาน (Service Profile)
งานผู้ป่วยใน
โรงพยาบาลภูกระดึง จังหวัดเลย
Update 5 April 2015............
1.
หน่วยงาน
งานหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลภูกระดึง อำเภอภูกระดึง
จังหวัดเลย
2.
เจตจำนง/ความมุ่งหมายของหน่วยงาน (Purpose Statement)
การให้บริการรักษาพยาบาลโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ให้บริการแบบองค์รวมตามมาตรฐานวิชาชีพ ผู้ป่วยปลอดภัย พึงพอใจในบริการ
ส่งต่อการดูแลต่อเนื่องโดยการมีส่วนร่วมของผู้ป่วย ครอบครัว
และชุมชน
3.
ปรัชญา/อุดมการณ์ร่วม
บริการรวดเร็ว มีมาตรฐาน
ผู้รับบริการปลอดภัย พึงพอใจในบริการ
4.
ขอบเขตบริการ
ให้บริการผู้ป่วยทุกเพศ ทุกวัย
ด้านอายุรกรรม ศัลยกรรม กุมารเวชกรรม นรีเวชกรรม สูติกรรม จิตเวชและทันตกรรม ตลอด 24 ชั่วโมง
ตั้งแต่แรกรับจนกระทั่งจำหน่ายจากโรงพยาบาล และประสานส่งต่อเพื่อการดูแลต่อเนื่องในชุมชน
โดยแยกเป็นตึกผู้ป่วยในชายและตึกผู้ป่วยในหญิง
5. ผู้รับผลงาน และความต้องการที่สำคัญ
ผู้รับผลงาน
|
ความต้องการของผู้รับผลงาน
|
|
ลูกค้าภายนอก
ผู้ป่วย
|
ด้านสิ่งแวดล้อม
1.ห้องพักผู้ป่วยสะอาด
ไม่มีฝุ่น ไม่มีหยากไย่
2.มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
เช่น พัดลม น้ำร้อน น้ำเย็น
3.ห้องน้ำสะอาด
เพียงพอ มีกลิ่นหอม
ด้านบุคลากร
1.บริการดี
พูดจาไพเราะ ไม่ดุด่าผู้ป่วย
2.
เมื่อมีปัญหาในการรักษา หรือต้องการความช่วยเหลือรีบมาดูแลทันที
ด้านการดูแลรักษา
1.ได้รับการดูแลใกล้ชิดจากแพทย์และพยาบาล
2.เคารพในสิทธิผู้ป่วย
3.หายจากการเจ็บป่วยโดยเร็วและไม่มีภาวะแทรกซ้อน
4.ได้รับข้อมูลว่าเป็นโรคอะไร เมื่อไรจะได้กลับบ้าน
5.ได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับโรคที่เป็น
คำแนะนำการปฏิบัติตัว
6.ได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาที่ดีขึ้น ทันเวลา
|
|
ญาติ
|
1.เจ้าหน้าที่มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ให้การต้อนรับ การพูดจาไพเราะ
ยิ้มแย้ม
2.การเอาใจใส่และมีความกระตือรือร้นของเจ้าหน้าที่
3.ต้องการทราบข้อมูลการรักษาพยาบาล และภาวะความเจ็บป่วยของผู้ป่วย
4.ให้คำแนะนำต่างๆ เช่น สถานที่ ระเบียบปฏิบัติต่างๆ การบริการที่ได้รับ
5.ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
6.มีที่พักที่สะอาด
สะดวก ปลอดภัย
|
|
ลูกค้าภายใน
แพทย์
|
1.รายงานแพทย์ทันที
เมื่อผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลงทรุดลงหรือมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นและรายงานอาการผู้ป่วยได้ชัดเจน
รวดเร็ว ครบถ้วนครอบคลุมปัญหาที่สำคัญ
2.พยาบาลมีความรู้
ความสามารถในการประเมินและดูแลผู้ป่วยในภาวะเจ็บป่วยและ เมื่อเกิดภาวะวิกฤตได้
3.ให้ข้อมูลกับผู้ป่วยและญาติ
เกี่ยวกับโรค การดำเนินของโรค แผนการดูแลรักษาของแพทย์อย่างคร่าวๆ
และเน้นในเรื่องการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับโรคที่เป็น และการดูแลตนเองของผู้ป่วย
4.มีพยาบาลติดตาม
เพื่อรายงานอาการ ปัญหาความต้องการ
ความผิดปกติของผู้ป่วยขณะเยี่ยมตรวจ
|
|
งานผู้ป่วยใน
|
1.การจัดอัตรากำลังที่เพียงพอ
และเหมาะสมกับปริมาณงาน
2.การประสานงานที่ชัดเจน
สะดวก รวดเร็ว
3.ผู้ป่วยและญาติให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาล
|
|
งานผู้ป่วยนอก
|
1.การประสานงานที่สะดวก รวดเร็ว ชัดเจน
2.การส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยที่ถูกต้อง ครบถ้วน
3.การจัดเตรียมเตียงที่รวดเร็ว
เพียงพอ พร้อมรับผู้ป่วย Admit
|
|
งานห้องคลอด
|
1.ลงบันทึกข้อมูลการให้ความรู้แก่มารดาและทารกถูกต้องและครบถ้วน
2.ให้การดูแลมารดาและทารกตามมาตรฐานโครงการลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย
|
|
งานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน
|
1.การประสานงานที่สะดวก รวดเร็ว ชัดเจน
2.การส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยที่ถูกต้อง ครบถ้วน
3.มีการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ป่วยที่ส่งทำหัตถการ
เพื่อเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์และสถานที่
4.เตรียมเตียงผู้ป่วยและอุปกรณ์ ให้พร้อมก่อนรับ Admit
5.สนับสนุนช่วยเหลืออุปกรณ์เมื่อขาดแคลน
|
|
งานชันสูตร
|
1.การเก็บ
Specimen
ถูกวิธี ถูกคน
2.การติดต่อประสานงานง่าย
สะดวก รวดเร็ว
3.กรณีขอเลือด
2 unit
แล้ว unit ที่ 2
ถ้าไม่ได้ใช้เลือด
อยากให้ส่งกลับห้อง LAB ทันที
4.กรณีขอเลือดแต่ผู้ป่วย
Refer ให้แจ้งทันที
|
|
งาน
X-RAY
|
1.ลงข้อมูลในแบบฟอร์มนำส่ง
X-ray ชัดเจน ครบถ้วน ถูกต้องตาม Order
แพทย์
2.กรณีผู้ป่วยหนักมีพยาบาลติดตามดูแลขณะนำส่ง
X-ray
3.เก็บรักษา
Film ส่งคืนหลังจากผู้ป่วยกลับบ้าน
4.มีทะเบียนบันทึกรับ-ส่งผู้ป่วย X-ray
|
|
งานเวชระเบียน
|
1.ประสานงานสะดวก
รวดเร็ว เป็นกันเอง
2.การส่งคืนเวชระเบียนถูกต้อง ครบถ้วน
เวชระเบียนอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์
3.การบันทึกเวชระเบียนมีความถูกต้อง
ครบถ้วน
|
|
เภสัชกรรม
|
1.การประสานงานที่สะดวก
รวดเร็วและเป็นกันเอง
2.กรณีแพทย์สั่งยา
ให้เอา chart มาด้วย
3.ให้ไปรับยาเบิกตามกำหนดเวลา
4.ส่งใบเบิกยาและเวชภัณฑ์ประจำสัปดาห์ตามเวลาที่กำหนด
|
|
ฝ่ายทันตกรรม
|
1.มีการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ป่วยที่ส่งทำหัตถการ
/ Consult เพื่อเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์และสถานที่
2.การลงส่ง Consult ใน Hosxp
|
|
เวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน
|
1.การส่งผู้ป่วยเยี่ยมบ้านให้แจ้งล่วงหน้า
เพื่อเตรียมความพร้อมในการวางแผนการรู้จักผู้ป่วยและครอบครัว
2.แจ้งการสอบสวนโรคควรแจ้งแต่เนิ่น ๆ
ก่อนผู้ป่วยจำหน่าย
|
|
งานหน่วยจ่ายกลาง
|
1.การประสานงานที่สะดวก
รวดเร็วและเป็นกันเอง
2.การแยกเครื่องมือและขยะออกจากกัน
3.การส่งเครื่องมือให้ครบตามที่กำหนดก่อนส่ง
Sterile
4.ส่งของ
Sterile ตามเวลาที่กำหนด
|
|
งานควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล
|
1.มีการแยกน้ำและเลือดออกจากถังผ้าเปื้อนก่อนที่จะนำไปทำลายเพื่อลดจำนวนขยะติดเชื้อ
2.มีการกำหนดเส้นทางการลำเลียงขยะติดเชื้อที่ชัดเจน
3.จัดเรียงSet sterile แบบ First
in –First out
4.การเฝ้าระวังโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล
|
|
ซ่อมบำรุง
|
-ขอให้แจ้งซ่อมโดยใช้ใบส่งซ่อม
เพื่อสะดวกต่อการเรียงลำดับความสำคัญหลีกเลี่ยงการแจ้งซ่อมทางโทรศัพท์โดยไม่จำเป็น
|
|
พนักงานผู้ช่วยเหลือผู้ป่วย
|
1.การให้คำแนะนำญาติและผู้ป่วยเกี่ยวกับการเข้าห้องน้ำ การทิ้งขยะให้ถูกที่ ถูกถัง
2.การให้คำแนะนำเรื่องการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับผู้ป่วยที่เข้าพักห้องแยกโรคด้วย
|
|
โรงครัว
|
1.การบันทึกปริมาณอาหารที่ผู้ป่วยรับประทาน
|
|
ซักฟอก
|
1.อยากให้แยกผ้าสะอาด ผ้าสกปรกให้ชัดเจน
2.อยากให้ตรวจสอบและแยกเครื่องมือ ของมีคมขยะออกจากผ้าที่ส่งซัก
|
6.
เป้าหมายของหน่วยงาน
1.
ผู้รับบริการได้รับการบริการที่ดี มีคุณภาพ
และปลอดภัย
2.
ผู้ให้บริการมีทักษะและความรู้ความสามารถในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาล การช่วยฟื้นคืนชีพ มีสุขภาพดี
และมีความสุขในการทำงาน
3.
การปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของหน่วยงาน/ทีมต่าง ๆ
ภายในโรงพยาบาล
4.
ผู้ป่วยเรื้อรังและครอบครัวได้รับการวางแผนจำหน่ายก่อนกลับบ้านภายใต้การทำงานเป็นทีมสหวิชาชีพ และสามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม
7. ประเด็นคุณภาพที่สำคัญ
1.
ปลอดภัย
2.
หายจากความเจ็บป่วย
3.
ไม่มีภาวะแทรกซ้อน
4.
พึงพอใจ
5.
การดูแลต่อเนื่อง
8. ลักษณะงานสำคัญและผลงาน
ข้อมูล
|
ปี 2555
|
ปี 2556
|
ปี 2557
|
1.
ยอดผู้ป่วยรวมต่อปี(คน)
|
4,339
|
6,097
|
4,295
|
2.
อัตราครองเตียง
|
56.37
|
79.32
|
61.34
|
3.
อัตราวันนอนผู้ป่วยในเฉลี่ยคน/วัน
|
34
|
35
|
34.17
|
4.
อัตราวันนอนผู้ป่วยในเฉลี่ยวัน/คน
|
2.80
|
2.87
|
2.92
|
5.
การส่งต่อผู้ป่วย(ราย)
|
556
|
604
|
579
|
6.
ผู้ป่วย Re-Admit ภายใน 28 วันด้วยโรคเดิม
|
5.64
|
3.77
|
1.77
|
7.
อัตราความพึงพอใจของผู้รับบริการ
|
-
|
-
|
85.53%
|
8.
อัตราผู้ป่วยเสียชีวิตในโรงพยาบาล
|
0.21
|
0.21
|
0.30
|
10 อันดับโรคปี 2557
|
|||
ลำดับที่
|
โรค
|
ครั้ง
|
คน
|
1
|
Diarrhea and Gastroenteritis
|
429
|
424
|
2
|
Pneumonia, organism unspecified
|
286
|
247
|
3
|
Singer Spontaneous Delivery
|
230
|
229
|
4
|
Diabetic Mellitus
|
125
|
109
|
5
|
Cellulitis
|
111
|
107
|
6
|
Acute Bronchiolitis
|
104
|
87
|
7
|
Dyspepsia
|
101
|
90
|
8
|
COPD
|
89
|
53
|
9
|
Heart Failure
|
86
|
66
|
10
|
Sepsis
|
84
|
83
|
จุดเน้นในการพัฒนา
1. พัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงในหน่วยงาน
2. พัฒนาระบบบริหารยาในหอผู้ป่วย
3. เพิ่มความครอบคลุมการบันทึกเวชระเบียน
4. พัฒนาการเตรียมความพร้อมก่อนจำหน่าย
5. พัฒนาความพร้อมในการช่วยชีวิตผู้ป่วยเมื่อเกิดภาวะวิกฤต
6. พัฒนาพฤติกรรมบริการ
แบบวิเคราะห์หน่วยงาน
กระบวนการ
|
เป้าประสงค์
|
โอกาสพัฒนา / ความเสี่ยง
|
1. การเตรียมความพร้อม
1.1
เตรียมเจ้าหน้าที่
1.2
เตรียมความพร้อมของ
Unit ผู้ป่วย
1.3
เตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ทางการแพทย์
1.4
เตรียมแบบฟอร์ม
1.5
การตรวจสอบความถูกต้องของเวชระเบียนและการเซ็นยินยอมการรักษา
1.6
แนะนำสถานที่และข้อมูลที่ผู้ป่วยและญาติปฏิบัติเมื่ออยู่ใน
รพ.
1.7
ทบทวนข้อมูลที่แพทย์พยาบาลแจ้ง
แก่ญาติของผู้ป่วย
|
-เจ้าหน้าที่ทุกระดับมีความพร้อมในการให้บริการตลอด 24 ชม.
-เตียงผู้ป่วยและอุปกรณ์มีความพร้อมใช้งานขณะรับใหม่
-มีอุปกรณ์พร้อมใช้งานและเพียงพอกับภาระงาน
-มีแบบฟอร์มที่ถูกต้องพร้อมใช้งาน
-ผู้ป่วยและญาติได้รับข้อมูลถูกต้องครบถ้วนขณะรับใหม่
-เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติปฏิบัติตามระเบียบของหอผู้ป่วยได้ถูกต้อง
-เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติได้ข้อมูลพื้นฐานตรงกัน เช่น
การวินิจฉัย สิทธิ D/C
Plan การเซนต์ยินยอมรับการรักษา
|
-เจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอทำให้ต้องปฏิบัติงานต่อเนื่อง มีเวลาพักผ่อนน้อย
-ห้องแยกโรคไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ป่วย
และไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานการควบคุมโรค
-อุปกรณ์ไม่เพียงพอ ชำรุด ไม่ได้รับการตรวจสอบตามมาตรฐาน
-
-การบันทึกยังไม่ครบถ้วน
-ผู้ป่วยและญาติทิ้งขยะไม่ถูกที่
-มีการผลัดเปลี่ยนญาติมาเฝ้าไม่มีการส่งต่อข้อมูล
-การให้ข้อมูลไม่ครอบคลุมในเรื่องการวินิจฉัยโรค
เหตุผลในการรับไว้ในโรงพยาบาลและระยะเวลาที่ต้องอยู่ในโรงพยาบาลการใช้สิทธิรักษาของผู้ป่วย
|
2. เก็บข้อมูล
ค้นหาปัญหาและวิเคราะห์
ข้อมูล
2.1
รับแจ้งข้อมูลของผู้ป่วยทางโทรศัพท์
2.2
ซักประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบันและในอดีต
2.3
ประเมินอาการและอาการแสดงความรุนแรง และ จำแนกประเภทผู้ป่วย
-การประเมิน V/S
, N/S
-การตรวจร่างกาย
2.4
วินิจฉัยปัญหาทางการพยาบาล
2.5
ติดตามผลชันสูตร
2.6
ตรวจสอบสิทธิและให้ข้อมูลสิทธิแก่ผู้ป่วยและญาติ
|
-เพื่อเตรียมความพร้อมของ Unit อุปกรณ์สำหรับการดูแลผู้ป่วย
-ได้ข้อมูลของผู้ป่วยครบถ้วนเพื่อนำมาวางแผนการพยาบาล
-ผู้ป่วยได้รับการบริการทางการพยาบาลอย่างทันท่วงทีและเหมาะสม
-ทราบโรคและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นเพื่อนำมาวางแผนการพยาบาลให้ถูกต้องเหมาะสม
-เพื่อใช้ประกอบในการวินิจฉัยของแพทย์และวินิจฉัยทางการพยาบาล
-ผู้ป่วยได้รับการพิทักษ์สิทธิตามมาตรฐานของหน่วยงาน
|
-การส่งต่ออาการผู้ป่วยทางโทรศัพท์ไม่ครบสมบูรณ์/ไม่ได้รับแจ้ง
-การเตรียมความพร้อมของ Unit และอุปกรณ์ไม่พร้อมขณะที่ผู้ป่วยเข้ามา
Admit
-ผู้ป่วยที่ไม่สามารถให้ประวัติได้ไม่มีญาติให้ประวัติ
-การประเมินอาการไม่ครอบคลุมทำให้จำแนกประเภทผู้ป่วยไม่ถูกต้อง
-การประเมิน V/S , N/S
ไม่เหมาะสมกับประเภทผู้ป่วย
-การวินิจฉัยการพยาบาลไม่มีข้อมูลสนับสนุน
-ไม่ครอบคลุมลักษณะองค์รวม (กาย จิต สังคม จิตวิญญาณ)
-การติดต่อประสานงานมีปัญหาบางช่วงเวลา
-ผู้ป่วย
1 คน
สิทธิมากกว่า 1 สิทธิ
-ไม่มีการตรวจสอบสิทธิก่อน
admit
-ไม่ตรวจสอบหลักฐานให้ครบก่อน
D/C
|
3. การวางแผนการพยาบาล
3.1
การรับ
– ส่งเวร
3.2
วางแผนมอบหมายงานตามความเหมาะสมการดูแลผู้ป่วย
3.3
ประสานงานกับทีมสหวิชาชีพ
เพื่อหาแนวทางการ รักษา
3.4
กำหนด
D/C Plan
|
-ข้อมูลในการดูแลผู้ป่วยได้รับการส่งต่อครบถ้วน
-เจ้าหน้าที่ได้รับมอบหมายดูแลผู้ป่วยตามมาตรฐานวิชาชีพและเหมาะสมกับสมรรถนะ
-ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาพยาบาลได้ถูกต้องเหมาะสมครอบคลุม กาย จิต สังคม
จิตวิญญาณ
-ผู้ป่วยทุกรายได้รับการวางแผนในการดูแลอย่างเหมาะสม ถูกต้องตามมาตรฐานวิชาชี
|
-
-
-กระบวนการติดต่อประสานงานยังไม่ชัดเจน
-การวางแผนการ D/C
Plan ไม่ครอบ คลุม
|
4. การพยาบาล
4.1
ให้การพยาบาลตามอาการของ
PTโดยเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
4.2
การมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและญาติ
4.3
ให้การพยาบาลตามหลักมาตรฐานวิชาชีพ
4.4
ให้คำปรึกษาและสุขศึกษา
4.5
การบริหารยา
4.6
ช่วยเหลือแพทย์ทำหัตถการต่าง
ๆ
4.7
ติดตามผลทางห้องชันสูตร
4.8
บันทึกทางการพยาบาล
|
-ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาแบบองค์รวมตามแผนการรักษาของแพทย์
-ผู้ป่วยและญาติปลอดภัยและมีความพึงพอใจ
-ผู้ป่วยและญาติมีความรู้และปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง
-ผู้ป่วยได้รับยาตามคำสั่งแพทย์ถูกต้อง
-แพทย์สามารถทำหัตถการได้อย่างปลอดภัย รวดเร็ว
-มีผลการชันสูตรในการวินิจฉัยของแพทย์และวินิจฉัยทางการพยาบาล ทันเวลา เหมาะสม
-กิจกรรมทางการพยาบาลมีการบันทึกข้อมูลได้อย่างถูกต้องครบถ้วน ชัดเจนและเป็นหลักฐาน
|
-การวางแผนการพยาบาลไม่เหมาะสมกับสภาวะของผู้ป่วย
-การประเมินความพึงพอใจ
-การให้ข้อมูลไม่ครอบคลุม
-ผู้ป่วยไม่ได้รับยา
,การสั่งยาที่ผู้ป่วยแพ้
-ไม่ได้นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์
-การบันทึกกิจกรรมทางการพยาบาลยัง ไม่ครอบคลุมปัญหาผู้ป่วย
|
5. การประเมินผล
5.1
เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน
5.2
วิเคราะห์ข้อมูลการดูแลผู้ป่วย
5.3
รายงานผลการพยาบาล
5.4
ตรวจเยี่ยมทางการพยาบาล
5.5
บันทึกทางการพยาบาล
|
-สามารถวินิจฉัยภาวะแทรกซ้อนและสามารถป้องกันได้
-กระบวนการดูแลผู้ป่วยได้รับการดูแลถูกต้อง เหมาะสม
-ผลการพยาบาลถูกต้อง เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ผู้ป่วยปลอดภัย
-มีการตรวจเยี่ยมทางการพยาบาลอย่างสม่ำเสมอ
-กิจกรรมทางการพยาบาล
ได้มีการบันทึก ครบถ้วน ถูกต้อง
|
-ไม่ได้นำข้อมูลไปวิเคราะห์ครอบคลุมปัญหา
-
-การตรวจเยี่ยมทางการพยาบาลยังไม่ต่อเนื่อง
-การบันทึกกิจกรรมทางการพยาบาลยัง ไม่ครบถ้วน ชัดเจน
|
6.การจำหน่าย
6.1
ประเมินสภาพผู้ป่วยและความพร้อม
ของญาติก่อนกลับ
6.2
เตรียมความพร้อมญาติและสถานที่ก่อนกลับบ้าน
6.3
การส่งต่อ / ติดตามผลประเมินผลในผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน
6.4
บันทึกทางการพยาบาล
|
-ผู้ป่วยและญาติได้รับการดูแลถูกต้องและให้การช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสมก่อนกลับบ้าน
-ผู้ป่วยและญาติปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง เมื่อกลับไปอยู่บ้านหรือสังคมเดิม ได้อย่างมีความสุข
-มีการส่งต่อที่เหมาะสมและ ผู้ป่วยนัดได้รับการติดตามที่เหมาะสม
-กิจกรรมทางการพยาบาลมีการบันทึกข้อมูลได้อย่างถูกต้องครบถ้วน ชัดเจนและเป็นหลักฐาน
|
-การวางแผนการ D/C plan ไม่ครอบคลุม
ครบถ้วน สมบูรณ์
-ญาติไม่มีความพร้อมในการดูแลผู้ป่วย
สถานที่ยังไม่พร้อมสำหรับการรับผู้ป่วยไปดูแลที่บ้าน
-การออกบัตรนัดให้กับผู้ป่วยลงข้อมูลสำคัญไม่ครบเช่น
ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้พบแพทย์เจ้าของไข้ ในครั้งต่อไป
-ผู้ป่วยที่ควรได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องที่บ้านไม่ได้ส่ง
Case ให้ทีมงานเยี่ยมบ้าน
- การบันทึกไม่ครอบคลุมปัญหาผู้ป่วยทุกด้าน
|
รายละเอียดของการปฏิบัติตามมาตรฐานทั่วไป
บทที่
1 การนำ
GEN.2 การจัดองค์กรและการบริหาร
การจัดองค์กรและการบริหารในลักษณะที่เอื้อต่อการให้บริการผู้ป่วยตามพันธกิจที่กำหนดไว้เพื่อให้มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ
จากการปฏิบัติที่ผ่านมา มีการประชุมในรูปแบบคณะกรรมการต่าง ๆ
แต่ไม่มีความชัดเจนในการสื่อสารแก่บุคลากรในระดับปฏิบัติงาน การติดตามผลงานยุ่งยาก ขาดหลักฐานที่แสดงว่าทุกคนได้รับทราบข้อมูลในการประชุมแต่ละครั้ง ทำให้การประสานงาน ขาดประสิทธิภาพ
เพื่อให้เกิดวิธีการหรือช่องทางการสื่อสาร/ประสานงานได้ผลดีจึงปรับเปลี่ยน ดังนี้
1.
การประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนางานผู้ป่วยใน โรงพยาบาลภูกระดึง
2.
การประชุมคนงาน ลูกจ้างรายวัน
3.
หนังสือเวียน
4.
การแจ้งข่าว เช่น
แจ้งด้วยวาจา เสียงตามสาย ทางโทรศัพท์
บอร์ดข่าวสาร
รายงานอุบัติเหตุ/อุบัติการณ์ของโรงพยาบาล
วิธีการหรือช่องทางการสื่อสาร/ประสานงานที่ได้ผลดีคือ
1.
ร่วมประชุมกลุ่มการพยาบาล เดือนละ 1
ครั้ง
2.
ร่วมประชุมคณะกรรมการทีมนำทางคลินิก
3.
ร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล
สำหรับคณะกรรมการอื่น
ๆ ร่วมประชุมตามแผนของแต่ละคณะ
จัดทำสมุดบันทึกการประชุม
เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานทุกคนต้องทราบถ้าเป็นเรื่องด่วน หัวหน้างานรับผิดชอบแจ้งเจ้าตัวโดยตรง
1.
นำผลรายงานการเฝ้าระวัง ดัชนีชี้วัดต่าง ๆ
มาปรับปรุง/ปรับเปลี่ยน
ข้อบกพร่อง ข้อควรแก้ไขอย่างต่อเนื่อง
2.
ประชุมกลุ่มการพยาบาล เดือนละ
1 ครั้ง วันพุธสัปดาห์ที่ 2 ของเดือน
โดยการจัดทำสมุดบันทึกแยกต่างหาก
แจ้งให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานรับทราบ
ในการประชุมภายในหน่วยงานประจำเดือน
มีการบันทึกในสมุดบันทึกของหน่วยงาน
3.
ทีมผู้รับผิดชอบงานวิชาการของหน่วยงานหรือเลขาฯ/ผู้ช่วยเลขาฯ เป็นผู้จดบันทึกผู้ที่ไม่เข้าร่วมประชุม มีหน้าที่ต้องติดตามหาความรู้ด้วยตนเอง และเซ็นรับทราบในสมุดบันทึกการประชุม
4.
การแจ้งข่าว แจ้งด้วยวาจา
เสียงตามสายภายในโรงพยาบาล แจ้งทางโทรศัพท์ แจ้งเจ้าตัวโดยตรง หัวหน้างานพิจารณา ความด่วนของข่าว และจัดการตามความเหมาะสม
5.
นำผลการวิเคราะห์อุบัติเหตุ/อุบัติการณ์ มาปรับปรุงพัฒนาการปฏิบัติงาน เช่น การป้องกันความผิดพลาดในการให้ยา
โครงสร้างการบริหาร/ชี้นำการพัฒนาคุณภาพอยู่ในรูปของการมอบหมายงานแบ่งออกเป็น
1.
งานบริหารข้อมูลและข่าวสาร
2.
งานควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ(IC)
3.
งานบริหารความเสี่ยง(RM)
4.
งานพัฒนาระบบการบริหารยาในหอผู้ป่วย
5.
งานพัฒนาระบบการบันทึกข้อมูลด้านการรักษาพยาบาลผู้ป่วย
ผลงาน/มติสำคัญของคณะอนุกรรมการหรือที่ประชุมหน่วยงานในรอบปีที่ผ่านมา
1.
ร่วมจัดทำพันธกิจ และกำหนดเข็มมุ่งของหน่วยงาน
2.
จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพของหน่วยงาน
3.
ร่วมจัดทำแผนปฏิบัติการของหน่วยงาน กำหนดผู้รับผิดชอบ ระยะเวลา
ให้ชัดเจน
4.
ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้
วิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบายของโรงพยาบาล และเป้าหมายแผนการปฏิบัติ ระดับหน่วยงาน
ให้เจ้าหน้าที่ทุกคนรับทราบ
5.
พัฒนากิจกรรมคุณภาพของหน่วยงาน
6.
การจัดเก็บข้อมูลบันทึกอุบัติเหตุ/อุบัติการณ์ความเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุและหาแนวทางแก้ไข
ช่องทางในการเก็บรวบรวมข้อมูล
1.
การทบทวนดัชนีชี้วัดที่เฝ้าระวัง และปรับปรุงต่อเนื่องให้ดีขึ้น โดยใช้เครื่องชี้วัดในภาพรวมและทางคลินิก
2.
เก็บรวบรวมรายงานอุบัติการณ์ มีแบบฟอร์มในการเก็บข้อมูล เพื่อกำหนดแนวทางปรับปรุงแก้ไข
3.
ประเมินตนเองตามมาตรฐานโรงพยาบาล ระดับบุคคล
ระดับหน่วยงาน
เพื่อดูว่าประเด็นใดที่ดีอยู่แล้ว/ประเด็นใดต้องปรับปรุง
4.
สำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการ อย่างน้อยปีละครั้ง
5.
มีตู้ความคิดเห็น รวบรวมข้อมูล
เดือนละ 1 ครั้ง
6.
การนิเทศงานของหัวหน้างาน
ระบบในการส่งต่อปัญหาให้ผู้เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการ
การปัญหาแก้ไขในระดับหน่วยงานมีหัวหน้าตึกหรือ หัวหน้าเวรรับผิดชอบแก้ไขปัญหา
1.
ปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ หัวหน้าหน่วยงานรายงานต่อหัวหน้ากลุ่มการพยาบาล
หรือผู้อำนวยการตามลักษณะของปัญหาหรือแนวทางแก้ไข
2.
จัดประชุมทีมสหวิชาชีพ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ตัวอย่างปัญหาและการแก้ไขที่ทีมเห็นว่ามีการแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ?
ความผิดพลาดในการสั่งยาที่ผู้ป่วยแพ้ จากอุบัติการณ์ที่มีการสั่งยาที่ผู้ป่วยแพ้ ได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างแพทย์ เภสัชกร
พยาบาล เพื่อหาแนวทางในการลดและป้องกันการเกิดอุบัติการณ์ขึ้นอีก ซึ่งได้ข้อสรุปร่วมกัน คือ
การกำหนดให้แต่ละวิชาชีพมีการทวนกันผู้ป่วยและญาติทุกครั้ง
จัดทำตราปั้มเพื่อบันทึกยาที่ผู้ป่วยแพ้และโรคประจำตัวของผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับยาถูกต้องและครบถ้วน
LED.1 วัฒนธรรมองค์กร
วัฒนธรรมโรงพยาบาลภูกระดึง จะอยู่กันแบบพี่น้อง มีการทำงานเป็นทีม โดยมอบหมายหน้าที่ชัดเจนตามศักยภาพของเจ้าหน้าที่
1.
มีการปรับปรุงโครงสร้าง อาคารสถานที่
เอื้อต่อการบริการเพิ่มความสะดวก
ความปลอดภัย เช่น การจัดทำห้องแยกโรคสำหรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
2.
มีแนวทางระเบียบปฏิบัติในการปฏิบัติงาน
3.
มีการบันทึกข้อมูลในระบบ
Hosxp ให้สมบูรณ์
4.
มีการเพิ่มพูนความรู้ เพิ่มทักษะในการดูแลผู้ป่วย โดยจัดอบรม
ดูงาน ส่งอบรม
5.
ปรับปรุงการพัฒนาด้านพฤติคณะกรรมการบริการ ตามข้อเสนอแนะ
ความพึงพอใจของผู้ป่วยใน
และข้อร้องเรียนจากตู้แสดงความคิดเห็น
เช่น ประเด็นการดูแลเอาใจใส่ กิริยามารยาของเจ้าหน้าที่
การพูดจา
6.
การดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องครอบคลุมการวางแผนจำหน่ายร่วมกับทีม
COC
โอกาสในการพัฒนาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการให้ดีขึ้น?
1.
ปรับปรุงด้านความรวดเร็วในการให้บริการ
2.
มีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาอย่างชัดเจน
3.
มีการติดตามประเมินผลคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
4.
มีการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยให้ครอบคลุมโรคที่มีภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้ เช่น COPD
CVA DM
5.
จัดทำ
Policy และ Procedure
ให้ครอบคลุมกระบวนการงานหลักและจัดอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่นำไปสู่การปฏิบัติ
LED.4 บทบาทของผู้นำในการพัฒนาคุณภาพ
ผู้นำของโรงพยาบาลให้การสนับสนุน และผลักดันให้เกิดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ
1.
กำหนดเป้าหมาย และแผนงานชัดเจน ทุกคนเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง
2.
เจ้าหน้าที่หน่วยงานมีส่วนร่วมจัดทำแผนกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ
3.
มีกระบวนการทำงานเป็นทีม ทั้งภายใน
และนอกหน่วยงาน
4.
มีการจัดตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ
ภายในหน่วยงาน
เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานมีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการระดับทีมนำทางคลินิก และคณะกรรมการทีมต่าง ๆ
ในงานพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาล
5.
สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ได้รับการฝึกอบรม ทั้งภายในและนอกหน่วยงาน
6.
มีการสำรวจความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ นำมาปรับปรุงแก้ไข และเป็นแนวทางพัฒนางาน
มีการประสานเชื่อมโยงกิจกรรมพัฒนาคุณภาพต่าง ๆ
1.
มีการติดตามประเมินผลการพัฒนากิจกรรมคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
2.
การเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการระดับโรงพยาบาล และระดับหน่วยงาน
3.
การประสานกับหน่วยงานอื่น มีแนวทางการปฏิบัติงานร่วมกัน เช่น
การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย COPD
CVA DM
4.
ร่วมกันนำผลสำรวจความพึงพอใจ ผลการวิเคราะห์อุบัติเหตุ/อุบัติการณ์ มาปรับปรุงพัฒนาระบบงาน
ผลการประเมิน และติดตามความก้าวหน้า
เป็นไปในทางที่ดีขึ้น
ปัญหาและอุปสรรคอะไรเกิดขึ้น และผู้นำของหน่วยงานได้ช่วยขจัดอุปสรรค
1.
ระยะเริ่มแรกผู้ปฏิบัติคิดว่าเป็นการเพิ่มภาระงานซึ่งเดิมมีภาระงานมากอยู่แล้ว
2.
ขั้นตอนการประสานงานระหว่างหน่วยงานไม่ชัดเจน
3.
เจ้าหน้าที่ขาดความตระหนักในหน้าที่ ละเลยความต้องการบางส่วนของผู้รับบริการ
4.
ไม่กล้าเขียนใบอุบัติเหตุ/อุบัติการณ์
การแก้ไข?
1.
สร้างความตระหนักแก่เจ้าหน้าที่ให้ได้รับความรู้งาน
HA โดยร่วมเป็นคณะกรรมการของแต่ละทีมงาน
2.
มอบหมายงานที่รับผิดชอบ
3.
หัวหน้างานเป็นตัวอย่างในการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ และให้ทีมมีส่วนร่วม
4.
ประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน
บทที่
4
การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
GEN.3 การจัดการทรัพยากรบุคคล
การจัดการทรัพยากรเพื่อให้บริการผู้ป่วยได้ตามพันธกิจที่กำหนดไว้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ
ขอให้อธิบายการจัดเจ้าหน้าที่ให้เพียงพอ
เพื่อทำหน้าที่ของหน่วยงานได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ?
1.
การจัดอัตรากำลังเจ้าหน้าที่โดยอาศัยเกณฑ์มาตรฐานของ
-
การประเมินภาระงาน
-
เกณฑ์การจำแนกประเภทผู้ป่วย
2.
มีพยาบาลวิชาชีพเป็นหัวหน้าเวรทุกเวร
3.
จัดตารางเวรปฏิบัติงานครอบคลุมตลอด 24
ชั่วโมง
4.
มีการจัดอัตรากำลังสำรองกรณีฉุกเฉิน จัดเวร
On call
5.
มีการประเมินภาระงานเพื่อเป็นข้อมูลจัดอัตรากำลังที่เหมาะสม
6.
ปฏิบัติงานตามแนวทางการเพิ่มอัตรากำลังสำรอง
มีความเสี่ยงในเรื่องความไม่พอเพียงอย่างไร?
1.
เจ้าหน้าที่มีจำนวนจำกัด
ไม่เพียงพอต่อการให้บริการผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ ตามมาตรฐานครบถ้วน
2.
เจ้าหน้าที่มีวันหยุดพักน้อยทำให้เหนื่อยล้าจากการปฏิบัติงาน
3.
ระยะเวลารอรับบริการล่าช้า
มีมาตรฐานจัดการอย่างไร ในกรณีกำลังคนไม่เพียงพอ
1.
มีระบบการจัดอัตรากำลังสำรองแต่ละเวร
2.
มีข้อกำหนดปฏิบัติงานร่วมในกรณีฉุกเฉิน เช่น
ทีมงาน CPR
-
ใช้บุคลากร 3 - 4
คน ดังนี้ ร่วม
·
OPD/ER
2 คน
·
หอผู้ป่วยใน
2
คน
3.
การรับเจ้าหน้าที่เพิ่มเพื่อให้สามารถจัดอัตรากำลังที่เพียงพอต่อการให้บริการ
วิธีการส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่มีการพัฒนาตนเอง
1.
สร้างความตระหนักให้เจ้าหน้าที่มีการพัฒนาตนเอง
·
ติดตามนิเทศจากหัวหน้างาน
·
การประเมินตนเอง
2.
ส่งการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองผ่านทางระบบ Internet
3.
ร่วมประชุมวิชาการ
4.
การปฐมนิเทศเจ้าหน้าที่ใหม่
5.
จัดหาคู่มือ/ส่งเสริมให้ได้รับการฝึกอบรมทั้งภายในและภายนอก
6.
ศึกษาต่อทั้งหลักสูตรระยะสั้น ระยะยาว
GEN.4/HUM
การพัฒนาทรัพยากรบุคคล
มีการเตรียมความพร้อม
การเพิ่มพูนความรู้และทักษะที่มีผลกระทบต่อคุณภาพการดูแลผู้ป่วยซึ่งได้จัดปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีคุณภาพ
1.
มาตรฐานคุณภาพการบันทึก จัดอบรมให้เจ้าหน้าที่มีความรู้ ความเข้าใจ
ในการบันทึกทางการพยาบาลได้อย่างครบถ้วน
2.
งาน
IC
การบริหารความเสี่ยง
การบันทึกอุบัติการณ์
ทบทวนความรู้เพิ่มเติมวิทยาการใหม่
ๆ
เพื่อเป็นแนวทางในการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงาน
3.
การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย CVA COPD
DM
เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน
4.
อบรม
CPR
เมื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน
5.
การซ้อมแผนอุบัติเหตุหมู่ เพื่อเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่
6.
สาธิตการใช้เครื่อง
Defibrillator, Infusion pump เพื่อให้มีความรู้ในการใช้เครื่องมือ
7.
การปฐมนิเทศเจ้าหน้าที่ใหม่ก่อนประจำการ เพื่อเตรียมความพร้อมของบุคลากรในการปฏิบัติงาน
8.
มีการจัดกิจกรรม Case conference,
Grand Round, Nursing
Rounds
9.
จัดอบรมบรรยายให้ความรู้เรื่อง
HA
10.
การรับเป็นแหล่งฝึกของนักศึกษาพยาบาลเพื่อกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่มีการพัฒนาตนเอง
การกำหนดเนื้อหาโดยการ
1.
การสำรวจความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ (Training need)
2.
การพิจารณาจากปัญหาและอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้น
3.
การรวบรวมจากผลการประเมินการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
4.
พิจารณาจากความจำเป็น เนื่องจากมีการใช้เครื่องมือใหม่ ๆ
5.
การพิจารณาจากผลการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นแก่ผู้ป่วย
6.
การพิจารณาจากความจำเป็นเมื่อมีการเพิ่มขอบเขตของการบริการ
7.
การประกาศใช้ระเบียบปฏิบัติ วิธีปฏิบัติใหม่
มีการนำข้อมูลจากการติดตามเครื่องชี้วัด การพัฒนาคุณภาพ
และการนิเทศงานมาใช้ในการกำหนดเนื้อหาในการฝึกอบรมอย่างไร?
1.
นำข้อมูลทั้งหมดร่วมประชุมคณะอนุคณะกรรมการงานผู้ป่วยใน
2.
ร่วมจัดทำแผนพัฒนาเจ้าหน้าที่
3.
วิธีการประเมินผลการอบรมโดยประเมินจาก
-
ความรู้
-
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริการต่อการปฏิบัติงาน
-
ประเมินผลแผนพัฒนาว่าผลลัพธ์เป็นไปตามเป้าหมาย และวัตถุประสงค์หรือไม่ เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข
อะไรคือปัญหาคุณภาพบริการที่เกี่ยวข้องกับความรู้ และทักษะของเจ้าหน้าที่ซึ่งพบได้บ่อย?
1.
เทคนิคบริการ CPR การช่วยทำหัตถการ เช่น
การช่วยแพทย์ใส่ ICD
2.
การทำงานเป็นทีม/การทำงานร่วมกับผู้อื่น
3.
พฤติกรรมบริการ
บทที่
5
การบริหารสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
ENV.1 โครงสร้างกายภาพและสิ่งแวดล้อม
โรงพยาบาลมีโครงสร้างกายภาพและสิ่งแวดล้อม
ที่เป็นหลักประกันว่าผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างได้ผล มีประสิทธิภาพ
ปลอดภัย สะดวกสบาย
และเป็นที่พึงพอใจ
1.
จัดซื้อเครื่องผลิตออกซิเจนเพื่อลดการใช้ออกซิเจนจากท่อซึ่งมีความเสี่ยงต่อการล้มทับผู้ป่วยและญาติ
2.
จัดทำแผนป้องกันอัคคีภัย
3.
จัดทำป้ายเตือนภัย เช่น
ป้ายห้ามสูบบุหรี่ ป้ายทางหนีไฟ
4.
ปรับปรุงห้องน้ำผู้ป่วยติดตั้งพัดลมเพื่อช่วยให้พื้นแห้งเร็วป้องกันผู้ป่วยลื่นล้ม
ENV.2 การกำจัดน้ำเสีย
มีแนวทางเพื่อให้มีการแยกขยะประเภทต่าง ๆ
อย่างถูกต้อง
1.
จัดหาถังขยะให้เพียงพอมีฝาปิดมิดชิด
2.
มีป้ายบอกชัดเจน
3.
ให้คำแนะนำผู้ป่วยและญาติที่มา
Admit ทุกราย
4.
จัดทำ/ปฏิบัติตามนโยบาย และคู่มือปฏิบัติเรื่องการกำจัดขยะมูลฝอย
ขยะอันตรายที่เกิดจากการทำงานของหน่วยงานนี้มี
ชนิดของขยะมูลฝอยของผู้ป่วยในมี ดังนี้
1.
ขยะทั่วไป
2.
ขยะติดเชื้อ
3.
ขยะอันตราย
วิธีการแยกขยะมูลฝอย
1.
ขยะทั่วไป ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของคน และสิ่งแวดล้อม จัดหาถังรองรับกรุด้วยถุงพลาสติกสีดำ ขนถ่ายไปพักไว้ที่พักขยะด้านข้างโรงไฟฟ้ากำจัดโดยได้รับความร่วมมือจากเทศบาลภูกระดึง
2.
ขยะติดเชื้อ จัดถังรองรับภายในกรุด้วยถุงพลาสติกสีแดงไว้ที่ห้องหน้าห้องน้ำหญิง
ขนถ่ายไปไว้ที่พักขยะติดเชื้อบริเวณที่พักขยะติดเชื้อข้างโรงไฟฟ้า กำจัดโดยบริษัทรับจ้างกำจัดขยะติดเชื้อ
2.1
ขยะจากการให้บริการทางการแพทย์ เช่น
ก๊อซ สำลี ถุงมือ
ฯลฯ
2.2
ขยะจากผู้ป่วย
เช่น ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป
3.
ขยะอันตราย
3.1
ประเภทของมีคม เช่น
เข็มฉีดยา ใบมีดผ่าตัด หลอดแก้วยา
ใช้ภาชนะพลาสติกที่มีความหนาป้องกันการทิ่มแทงทะลุ และมีผ่าปิดมิดชิด
3.2
ประเภทสารเคมี เช่น
ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ หลอดฟลูออเรสเซนต์
เก็บรวบรวมทิ้งบริเวณที่พักขยะของโรงพยาบาลเพื่อส่งกำจัด
มีแนวทางในการจัดการดังนี้
1.
ขยะไม่ติดเชื้อกำจัดโดยเทศบาลภูกระดึง
2.
ขยะติดเชื้อดำเนินการกำจัดโดยบริษัทรับจ้างกำจัดขยะติดเชื้อ
3.
ขยะอันตรายใส่ถุงดำมัดปากมิดชิดกำจัดโดยบริษัทรับจ้างกำจัดขยะ
ENV.การป้องกันอัคคีภัย
โดยพยาบาลได้รับการจัดเตรียมเครื่องมือ ดำเนินงาน
และบำรุงรักษา เพื่อป้องกันอันตรายและความเสียหายจากอัคคีภัย
การประเมินภาวะเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย
มีการประเมินภาวะเสี่ยงโดยหัวหน้างาน หัวหน้าเวร
ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน
ภาวะเสี่ยงหรือจุดที่มีความเสี่ยงที่พบเห็น?
1.
O2 Tank
2.
พัดลม เนื่องจากเปิดใช้งานเป็นเวลานาน
3.
ปลั๊กไฟภายในตึกหลวม
ได้มีการแก้ไขป้องกันโดย
1.
O2
Tank
-
ติดตั้งเครื่องดับเพลิงชนิดเคมีแห้งในที่ที่เหมาะสม
-
ติดป้ายเตือนระบุอันตราย ห้ามสูบบุหรี่บริเวณที่เห็นชัดเจน
-
การติดตั้งโซ่ยึด
O2 Tank ป้องกันการล้ม
2.
กำหนดช่วงเวลาในการปิดพักพัดลมเพื่อไม่ให้ร้อนจนเกินไป
3.
ปลั๊กไฟภายในตึกหลวม
-
แจ้งหน่วยซ่อมบำรุงเปลี่ยนปลั๊กไฟภายในตึกที่ชำรุด หลวมใหม่
มีการประเมินความเหมาะสมและความเพียงพอ
ของเครื่องมือดับเพลิงในแต่ละพื้นที่หรือไม่ ผลเป็นอย่างไร?
1.
มีการประเมินความเหมาะสม และเพียงพอของเครื่องมือดับเพลิง
โดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาล
-
มีจำนวนเครื่องมือดับเพลิงไม่เพียงพอ และได้ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมแล้ว
เข้าร่วมซ้อมแผนการป้องกันอัคคีภัยระดับโรงพยาบาล และมีการอบรมในเรื่องการป้องกันอัคคีภัย
โดยมีการอบรมซ้อมแผนป้องกันอัคคีภัยปีละ 1
ครั้ง
ปัญหาที่พบระหว่างการฝึกซ้อมมีอะไรบ้าง มีการปรับปรุงแก้ไขอย่างไร?
ในเรื่องการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ
ให้คำแนะนำและจัดลำดับความสำคัญในการช่วยเหลือและเคลื่อนย้าย
ENV.4 การจัดการด้านความปลอดภัย
การจัดการเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ต่อผู้ใช้บริการและเจ้าหน้าที่
อะไรคือความเสี่ยงทางกายภาพที่สำคัญในหน่วยงานนี้?
1.
เหล็กกั้นเตียงชำรุด
2.
ญาติส่งเสียงดังรบกวนผู้ป่วย
3.
ห้องแยกไม่ได้มาตรฐานการป้องกันการติดเชื้อและไม่เพียงพอกับปริมาณผู้ป่วยติดเชื้อ
4.
การไม่ปฏิบัติตามแนวทางการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ
5.
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่มีปัญหาต้องการ
O2
รอบปีที่ผ่านมา มีอุบัติเหตุอันตราย ขัดข้องที่สำคัญ อะไรเกิดขึ้น
1.
ผู้ป่วยโรควัณโรคนอนปะปนกับผู้ป่วยอื่น ใช้ห้องน้ำร่วมกัน
2.
การ
Admit
ผู้ป่วยหนักเข้าห้องพิเศษ
การแก้ไข
1.
การจัดทำแผนการปรับปรุงห้องแยกโรคให้ได้มาตรฐาน
2.
ซ่อมแซมและเพิ่มเหล็กกั้นเตียงครบทุกเตียง
3.
การทบทวนและการกำหนดเกณฑ์ในการคัดกรองผู้ป่วยให้ชัดเจนรวมทั้งการควบคุมกำกับให้ปฏิบัติตามแนวทางการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ
อะไรคือความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานนั้น?
1.
อุบัติเหตุจากการทำงาน เช่น
เข็มตำ ของมีคมบาด
2.
การสัมผัสสารคัดหลั่ง
3.
การติดเชื้อ
TB ไวรัสตับอักเสบ B ผู้ไม่มีภูมิคุ้มกัน
ได้มีการดำเนินการเพื่อป้องกันแก้ไขอย่างไร?
1.
จัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน
2.
จัดพื้นที่เตียง แยกผู้ติดเชื้อทางเดินหายใจ เข้าห้องแยกเป็นอันดับแรก
3.
ให้ภูมิคุ้มกันแก่บุคลากร
4.
ตรวจสุขภาพประจำปี
สถิติจากการเจ็บป่วยจากการทำงานเกิดขึ้นเท่าไร?
ถูกเข็มตำ
1 ราย
บทที่
6
เครื่องมือและการจัดการเกี่ยวกับเครื่องมือ
GEN.7 เครื่องมือ อุปกรณ์
และสิ่งอำนวยความสะดวก
มีเครื่องมือ
อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้บริการผู้ป่วย ได้อย่างปลอดภัย มีคุณภาพ
และประสิทธิภาพ
เครื่องมือที่มีความสำคัญต่อคุณภาพ และประสิทธิภาพในการทำงานหน่วยงานที่มีความต้องการเพิ่มเติม
1.
Defibrillator
2.
ไฟส่องเด็ก
3.
เครื่อง
X-ray Portable
4.
เครื่อง
EKG
5.
เครื่องวัดความดันโลหิต
6.
ขวด Chest drain
7.
Infusion Pump
8.
Stethoscope
9.
O2
Tank
10.
O2
Flow Meter
11.
เครื่องผลิตออซิเจน
มีการจัดการให้มีเครื่องมือที่จำเป็นเพียงพอสำหรับใช้อย่างไร?
1.
มีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำที่จำเป็นในการใช้เครื่องมือ
2.
สำรวจความเพียงพอต่อการใช้งาน และตรวจสอบวัสดุอุปกรณ์ สม่ำเสมอ
3.
ดูแลจัดเก็บเครื่องมืออย่างถูกต้อง สะดวกต่อการใช้งาน
4.
จัดส่งซ่อมโดยเร็ว เมื่อชำรุดเสียหายใช้งานไม่ได้
5.
จัดทำคู่มือการใช้และบำรุงรักษาเครื่องมือที่สำคัญ เช่น Infusion
pump
6.
อบรมและให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้และบำรุงรักษาเครื่องมือ
ปัญหาข้อบกพร่องเกี่ยวกับเครื่องมือที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมา?
1.
ผู้ใช้ขาดทักษะ และความเชี่ยวชาญในการใช้ ทำให้ชำรุดได้ง่าย
2.
เครื่องมือรุ่นเก่าบางอย่าง ไม่มีคู่มือการใช้ทำให้ยากต่อการดูแลบำรุงรักษา เช่น Defibrillator ทำให้ขาดประสิทธิภาพในการทำงาน
3.
ไม่มีเจ้าหน้าที่ช่างเทคนิคเฉพาะที่รับการอบรมเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์ เมื่อชำรุดส่งซ่อมใช้เวลานาน ไม่ได้ตามกำหนดเวลา ขาดความสะดวกในการใช้งาน
4.
ไม่มีผู้รับผิดชอบเฉพาะในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล ไม่ทราบประวัติเครื่องมือ
ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม
และแก้ไข
ความชำรุดของเครื่องมือมีรอบปีที่ผ่านมามูลค่าเท่าไร?
1.
เครื่องวัดความดันโลหิตและ
O2 sat
2.
เครื่องผลิตออกซิเจน
(Oxygen Concentrate)
3.
Infusion pump
บทที่
7
ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล
IM.2 การดำเนินงานระบบสารสนเทศ
มีการเชื่อมโยงข้อมูลและสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหาร การดูแลผู้ป่วย และการพัฒนาคุณภาพ
ข้อมูล และสารสนเทศที่หน่วยงานต้องการจากระบบสารสนเทศโรงพยาบาลเพื่อใช้ในการประเมิน และพัฒนาคุณภาพการทำงานของหน่วยงานนี้?
1.
อัตราการครองเตียง
2.
ความสมบูรณ์ของเวรระเบียน
3.
อัตราการป่วยด้วยโรค 5
อันดับแรก
4.
อัตราตาย
5.
อัตราความคลาดเคลื่อนทางยา
6.
อัตราแพ้ยาซ้ำ
7.
อัตราการเกิดแผลกดทับ
8.
อัตราการติดเชื้อในหอผู้ป่วย
9.
อัตราการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำภายใน 28
วัน โดยไม่ได้นัดหมาย
10.
อัตราข้อร้องเรียนผู้รับบริการ
11.
อัตราความพึงพอใจของผู้รับบริการ
12.
อุบัติการณ์ความไม่พร้อมใช้ของเครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์
13.
อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการทำหัตถการ
การนำข้อมูลและสารสนเทศดังกล่าวมาใช้ประโยชน์
1.
เพื่อเป็นการสื่อสารที่ดีมีความต่อเนื่องในการรักษา
2.
ใช้ในการวางแผนการดูแลรักษา ซ่อมบำรุงเครื่องมือ เพื่อเชื่อมโยงในระดับโรงพยาบาล
3.
ใช้เป็นข้อมูลในการบริการ เช่น
การเพิ่มทักษะ เจ้าหน้าที่ การพัฒนาคุณภาพการบริการให้เหมาะสมตามระดับความรุนแรงของปัญหา หรือแต่ละโรค
4.
มีการจัดเก็บที่มีประสิทธิภาพ สะดวกในการค้นหาข้อมูล
5.
ปรับปรุงมาตรฐานการดูแลผู้ป่วย ให้มีประสิทธิภาพ และลดภาวะแทรกซ้อนของโรค
การนำระบบสารสนเทศมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของหน่วยงานนี้
1.
ด้านการพัฒนาบุคลากร บุคลากรได้รับการเพิ่มความรู้และทักษะตามความต้องการ ตามความเหมาะสมสำหรับแต่ละคน เช่น
การดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก
การดูแลผู้ป่วย MI การดูแลผู้ป่วย Stroke
2.
การวิเคราะห์งานบริการจากอัตราการตายโดยวิเคราะห์แต่ละรายที่เสียชีวิต (Dead case
conference)
มาเป็นบทเรียนในการดูแลให้การพยาบาลต่อไป
3.
ด้านระบบวิทยา นำข้อมูลดังกล่าว
มาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการดูแลผู้ป่วยตามความชุก และความรุนแรงของโรค เช่น
ไข้เลือดออก อุจจาระร่วง
4.
ด้านการเฝ้าระวังการติดเชื้อ นำผลการวิเคราะห์ NI มาเป็นประสบการณ์ และแนวทางการปฏิบัติงาน เพื่อลดการเกิด NI ให้น้อยที่สุด
บทที่
8
กระบวนการคุณภาพทั่วไป
GEN.9 มีกิจกรรมติดตามประเมินและพัฒนาคุณภาพของหน่วยงาน หรือการบริการ
โดยการทำงานเป็นทีม
และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ในรอบปีที่ผ่านมามีการทำกิจกรรมคุณภาพร่วมกับหน่วยงานอื่นอะไรบ้าง?
หน่วยงาน
|
กิจกรรม
|
แพทย์
|
1.จัดทำ
Discharge Planning ผู้ป่วย CVA
ติดตามผู้ป่วยจนกระทั่งกลับไปบ้านมีแบบฟอร์มระบบส่งต่อ
2.ทบทวนความรู้ทางวิชาการร่วมกัน
เกี่ยวกับโรคที่มักเกิดปัญหาในการดูแลผู้ป่วย (case conference)
|
เภสัชกรรม
|
1.ลดความช้ำช้อนของการถ่ายทอดคำสั่งการใช้ยาของแพทย์ โดยเฉพาะ
Drug profile
Med Record การ์ดยา
เป็นแบบบันทึกการจ่ายยา Drug profile โดยพยาบาล
เป็นผู้คัดลอกคำสั่งการใช้ยาของแพทย์
และเภสัชกรเป็นผู้ตรวจสอบ
2.ทบทวนเมื่อเกิดความผิดพลาด จากการใช้ยาร่วมกัน
3.ประสานงานในเรื่องผู้ป่วยที่มีปัญหา Adverse
Drug Reaction
เพื่อซักประวัติการแพ้ยา
ออกบัตรแพ้ยา
และหาแนวทางแก้ปัญหาจากการใช้ยา
4.ติดตามเรื่องความคลาดเคลื่อนทางยา โดยเภสัชกรติดตามตรวจสอบ
Admin error หลังการจ่ายยาทุกครั้ง
|
โภชนาการ
|
1.การให้ความรู้เรื่องอาหารผู้ป่วยเฉพาะโรค
2.วางแผนในการคำนวณปริมาณสารอาหาร พลังงานที่ควรได้รับในแต่ละมื้อใน 1
วัน
3.การประกอบอาหารรายโรค
เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เก๊าท์ เป็นต้น
|
ห้องฉุกเฉิน
|
-ระบบส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ ลดระยะเวลารอคอยความพร้อมของเจ้าหน้าที่ และผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ต่อเนื่อง และปลอดภัย
|
กายภาพบำบัด
|
-วางแผนเพื่อการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย วางแผนเพื่อการดูแลต่อเนื่อง การติดตามเยี่ยมบ้าน ในผู้ป่วยที่มีปัญหาทางกายภาพบำบัด
|
ศูนย์สุขภาพชุมชน
|
1.แนวทางการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน
|
|
2.การส่งต่อข้อมูลการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน
|
ฝ่ายชันสูตรสาธารณสุข
|
-การส่งสิ่งส่งตรวจไปยังหน่วยงานอื่น ผลการชันสูตรได้รับการป้องกันข้อมูล
|
|
|
ทีม
IC
|
-การเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล
|
ศูนย์ประกันสุขภาพ
|
1.ทบทวนการใช้สิทธิในการรักษา
2.การตรวจสอบสิทธิของผู้ป่วย
|
กิจกรรมเหล่านั้นส่งผลต่อการปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้นอย่างไร?
1.
มีระบบการทำงานเป็นทีม มีกระบวนการทำงานเป็นขั้นตอน ชัดเจน
ปฏิบัติไปในทางเดียวกันสามารถปรับปรุงพัฒนาหน่วยงานได้ง่าย ได้รับความร่วมมือซึ่งกันและกัน
2.
บุคลากรมีความรู้ ผู้ป่วยได้รับความรู้ในการปฏิบัติตน ได้รับการพิทักษ์สิทธิ ปกป้องข้อมูลเป็นรูปธรรมมากขึ้น ทำให้ได้แนวทางการรักษาที่ได้ผลดียิ่งขึ้น ปฏิบัติงานไม่ซ้ำซ้อน
แนวทางการปฏิบัติงานที่เป็นปัญหา ไม่สามารถปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ได้ครบได้แก่
1.
การประสานงานที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพ
ครอบคลุมทุกหน่วยงาน
2.
ระบบความปลอดภัยด้านทรัพย์สิน เช่น
ของหาย
3.
เรื่องขยะ ผู้รับบริการขาดความตระหนักในการทิ้งขยะให้ถูกที่
4.
ผู้ป่วยหนีกลับบ้าน ไม่จ่ายค่ารักษา
5.
การบันทึกทางการพยาบาลไม่ครอบคลุม
6.
เจ้าหน้าที่ขาดทักษะในการปฏิบัติการต่อไปอย่างไร
มีแผนการที่จะดำเนินการต่อไปอย่างไร?
1.
ร่วมกันสร้างแนวทางการประสานงานที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพ
ครอบคลุมทุกหน่วยงาน
2.
ปิดล็อคประตูเมื่อหมดเวลาเยี่ยมและจัดจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยด้านทรัพย์สิน เช่น
ของหาย
3.
จัดทำนโยบายเกี่ยวกับการจัดเก็บค่ารักษาพยาบาล
4.
ให้ความรู้/สร้างความตระหนักในการบันทึกการพยาบาล ปรับปรุงแบบบันทึกให้ครอบคลุม ครบถ้วนและใช้เวลาไม่มาก
5.
ร่วมกันจัดทำแผนฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น CPR อุบัติภัยต่าง
ๆ
6.
สร้างความตระหนักแก่ผู้รับบริการ ในการทิ้งขยะให้ถูกที่
มีการนำเครื่องชี้วัดผลการปฏิบัติงานที่สำคัญ (Key performance indicator)?
1.
เป็นเครื่องมือประเมินคุณภาพการปฏิบัติตามมาตรฐาน การบริการพยาบาล
2.
เป็นเครื่องมือในการรักษา
ประเมินคุณภาพการเตรียมความพร้อมของผู้ป่วย และผู้ดูแลในการดูแลตนเองภายหลังจำหน่าย
3.
นำผลมาวิเคราะห์มาเป็นข้อมูลในการปรับปรุงระบบงาน
4.
ใช้นำการประเมินผลงาน
กิจกรรมพัฒนาคุณภาพ
และการเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลจากการติดตามเครื่องชี้วัดดังกล่าว?
1.
การวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วย
CVA, DM, COPD
2.
จัดทำนโยบายและวิธีปฏิบัติงาน
3.
จัดทำคู่มือในการใช้เครื่องมือ
4.
การเฝ้าระวังการติดเชื้อ
5.
การนำความรู้วิทยาการใหม่ ๆ มาใช้ในการพัฒนางานทางคลินิก
6.
พฤติกรรมบริการของเจ้าหน้าที่ให้ยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
ลดความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้รับบริการได้ในระดับหนึ่ง
หน่วยงานที่สามารถนำปัญหา/โอกาสพัฒนาที่วิเคราะห์ไว้มาปรับปรุงแก้ไข เช่น
1.
สร้างความตระหนักในหน่วยงานเกี่ยวกับความถูกต้องของเวชระเบียน
2.
การมอบหมายงาน
3.
การจัดทำมาตรฐานต่าง ๆ
4.
การจัดทำ
Policy และ Procedure การจำแนกประเภทผู้ป่วย
5.
การลงนามยินยอมทำการรักษาทุกราย และทุกครั้งที่มีการปฏิเสธการรักษา
6.
การนำผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้รับบริการมารปรับปรุงพัฒนาการบริการ
7.
การใช้แบบ
Discharge planning ในผู้ป่วย CVA,
DM, COPD
8.
นำผล CQI
มาใช้ประโยชน์ตลอดไปในเรื่องดังต่อไปนี้
-
การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย
CVA
-
การจัดทำ
IV marker IV round
-
การป้องกันปรอทวัดไข้แตก
9.
จัดทำมาตรฐาน นโยบาย/วิธีปฏิบัติในเรื่อง
-
ขั้นตอนการรับใหม่ผู้ป่วย
-
ขั้นตอนการจำหน่ายผู้ป่วย
-
การป้องกันความผิดพลาดในการใช้ยา
-
การพยาบาลผู้ป่วยใน
-
การทำกิจกรรมทบทวนทางคลินิกทีมนำทางคลินิก
-
การป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล
-
การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย
ตัวอย่างการให้ข้อมูล
การใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาหรือการพัฒนาคุณภาพของหน่วยงานที่ได้ทำไป?
การนำรายงานอุบัติการณ์มาปรับปรุงแก้ไขปัญหาในแต่ละกรณี เช่น
1.
ความผิดพลาดในการให้ยา
2.
อุบัติการณ์ที่เครื่องมือ อุปกรณ์ไม่พร้อมใช้ เช่น
รถ Emergency เครื่องมือต่าง ๆ
3.
การป้องกันการเกิด
Phlebitis
ในผู้ป่วยที่ได้ IV ยา Cloxacillin หรือยา PGS
4.
ปรับเปลี่ยนรูปแบบบันทึกการพยาบาลให้ครอบคลุมกระบวนการพยาบาล
ในรอบปีที่ผ่านมา ได้มีการปรับปรุง ระบบงานที่มีผลมาจากการเฝ้าระวังความเสี่ยงหรือจากระบบรายงานอุบัติการณ์
1.
การป้องกันความผิดพลาดในการใช้ยา
2.
การเพิ่มประสิทธิภาพและการพร้อมใช้ของเครื่องมือ
3.
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ต้องการใช้ออกซิเจน
4.
การควบคุมอุณหภูมิของตู้เย็นเก็บยา
5.
การป้องกันการเกิดแผล
Bed sore ในผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยง
6.
การติดตามพฤติคณะกรรมการแจกยาของพยาบาล
ความเสี่ยงอะไรที่ยังเป็นเรื่องท้าทายในการหามาตรการการป้องกันให้ดีขึ้น?
1.
การป้องกันความผิดพลาดในการใช้ยา
2.
การป้องกันการเกิดแผล bed sore ในผู้ป่วย
3.
การตรวจสอบการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
4.
การแยกผ้าและขยะให้ถูกต้อง
หน่วยงานมีส่วนในการรวบรวมและประมวลผลข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความเสี่ยงอย่างไร?
1.
เจ้าหน้าที่ทุกคนเห็นความสำคัญในการลงบันทึกรายงานอุบัติการณ์ของโรงพยาบาล
2.
หัวหน้างานรวบรวมและสรุปอุบัติการณ์ไว้เป็นข้อมูลของหน่วยงาน และรวบรวมข้อมูลส่งทีมบริหารความเสี่ยงทุกเดือน
บทที่
10
การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล
IC.6 กระบวนการดำเนินงาน
กระบวนการดำเนินงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล (Nosocomial infection
: NI) อย่างเป็นระบบ
และมีประสิทธิภาพ
อะไรคือ
NI
ที่เป็นปัญหาสำคัญหรือมีโอกาสเกิดขึ้นในหน่วยงานนี้?
1.
ติดเชื้อในกระแสโลหิตจากการให้สารนำทางหลอดเลือดดำส่วนกลาง
2.
ติดเชื้อบริเวณที่ใช้สารนำทางหลอดเลือดดำส่วนกลาง
3.
การเกิด
Phlebitis
4.
การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะจากการใส่สายสวนปัสสาวะ
สถิติเกี่ยวกับ
NI
ในหน่วยงานนี้เป็นอย่างไร?
ข้อมูลที่รวบรวมได้มีความน่าเชื่อถือเพียงใด?
ในหน่วยงานมี ICWN เป็นผู้เฝ้าระวังและรายงาน NI ไปยัง
ICN
ซึ่งการวิเคราะห์ Case NI จะมีแพทย์ร่วมกับ ICWN แต่ละหน่วยงานและนำ Case ไปวิเคราะห์
นำเสนอในที่ประชุมในลักษณะทีมสหวิชาชีพ
มีการปรับปรุงระบบงานหรือทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ เพื่อลดปัญหาหรือการป้องกัน
NI
1.
การอบรมให้ความรู้เจ้าหน้าที่
2.
การวิเคราะห์ Case NI ในลักษณะทีมสหวิชาชีพ นำข้อมูลปรับปรุงพัฒนามาปรับใช้ในหน่วยงาน
3.
การติดตามตัวชี้วัดของงาน
IC
วิธีการส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามหลัก Universal
Precaution/Inolation
Precaution อย่างถูกเทคนิค?
1.
มีแนวทางการปฏิบัติและให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่
2.
สนับสนุนความเพียงพอของอุปกรณ์ป้องกัน
3.
สร้างความตระหนักให้เจ้าหน้าทีทุกระดับปฏิบัติตามคู่มือ
4.
ประเมินผลโดย ICN หัวหน้างาน/ICWN
หน่วยงานมีข้อจำกัดอะไรบ้าง?
-อุปกรณ์เกี่ยวกับการทิ้งขยะติดเชื้อ เข็ม
วัสดุมีคม
มีอุปกรณ์รองรับไม่เพียงและไม่เหมาะสม
แก้ปัญหาอย่างไร?
ICWN รวบรวมปัญหานำเสนอคณะกรรมการ IC จัดหาอุปกรณ์สนับสนุน
ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีโอกาสเสี่ยงต่อ NI
มีอะไรบ้าง?
1.
การสวนคาสายสวนปัสสาวะ
2.
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
3.
การเกิด
Phlebitis จากการให้ยาทางหลอดเลือดดำ
แนวทางปฏิบัติและควบคุมกำกับเพื่อลดความเสี่ยง
1.
มีนโยบาย และมีคู่มือปฏิบัติงานเป็นลายลักษณ์อักษร
2.
ควบคุมกำกับและประเมินผลโดยหัวหน้างาน หรือหัวหน้าเวร และคณะกรรมการ IC
3.
นำผลการวิเคราะห์
Case NI มาพัฒนาปรับปรุงระบบงาน
ระบบประเมินการปฏิบัติงานตามแนวทางที่กำหนดไว้เกี่ยวกับเรื่อง Hand hygiene และการป้องกัน Sharp
injury
Hand
Hygiene - การเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ เครื่องใช้
- สุ่มสถิติตามพฤติคณะกรรมการล้างมือของเจ้าหน้าที่
- ปริมาณการใช้ผ้าเช็ดมือในแต่ละวัน
Sharp
injury - ใช้เทคนิค One
hand technique
-
จัดทำชุดสำหรับเจาะเลือดโดยใช้ดินน้ำมันสำหรับเสียบเข็มที่ใช้เจาะเลือดผู้ป่วยโดยไม่ต้องเสียบเข็มคืนปลอกเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น