IC Team




Service Profile  งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล โรงพยาบาลภูกระดึง

1.บริบท (contex)  งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล โรงพยาบาลภูกระดึง
วิสัยทัศน์
                มุ่งมั่นพัฒนางานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นความปลอดภัยของผู้รับบริการ ผู้ให้บริการและการมีส่วนร่วมของเครือข่าย
พันธกิจ
1.     กำหนดนโยบาย แผนงาน มาตรการ ระเบียบวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับงานการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล
2.      เฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลอย่างทันท่วงที
3.     รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล พร้อมรายงานผลการปฏิบัติงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4.     เฝ้าระวังพร้อมให้การดูแลบุคลากรที่สัมผัสเลือด สารคัดหลั่งหรือเจ็บป่วยจากการปฏิบัติงาน
5.     ประสานงานกับทุกภาคส่วน เพื่อสนับสนุนการดำเนินการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล
6.     พัฒนางานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่องทั้งในโรงพยาบาลและเครือข่าย
7.     ให้คำปรึกษา คำแนะนำเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล
8.     ส่งเสริม สนับสนุนการทำวิจัยและนวัตกรรมใหม่เพื่อพัฒนาระบบงาน

2.ความมุ่งหมายของหน่วยงาน (purpose statement)
          เพื่อลดและป้องกันความเสี่ยงในการติดเชื้อในโรงพยาบาล ทั้งต่อผู้รับบริการและบุคลากรในโรงพยาบาล มีความปลอดภัยจากสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล ผู้รับบริการได้รับบริการที่มีคุณภาพจากทีมสุขภาพที่มีความรู้ ความสามารถในการให้บริการ ควบคู่ไปกับความตระหนักถึงความสำคัญของการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาลในทุกบริการที่ให้ผู้รับบริการ โดยทีมสุขภาพได้รับการเพิ่มศักยภาพ ความรู้ ความสามารถ เพื่อให้การปฏิบัติงานเพื่อป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลเป็นไปตามมาตรฐานที่พึงประสงค์และทันสมัยอยู่เสมอ
          ภาระหน้าที่ของหน่วยงาน
       1.เฝ้าระวังและลดการติดเชื้อในโรงพยาบาล
       2.เพิ่มความปลอดภัยจากการทำงาน    
       3.ควบคุมสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมให้ดีและปลอดภัย
                กิจกรรมหลักของงานIC
  1. Surveillance system
  2. Education system
  3. Consultation
  4. Isolation system
  5. Waste control
  6. Employee health
  7. Investigation of epidemics
8.     Antibiotic control

3.ขอบเขตบริการ
1.การเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาลครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม                           
        1. ผู้ป่วย(ผู้รับบริการ) กลุ่มดี/ปกติ  กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย
        2. เจ้าหน้าที่(ผู้ให้บริการ) กลุ่มดี/ปกติ  กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย
        3. ชุมชนและสิ่งแวดล้อม กลุ่มดี/ปกติ  กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย
ระดับความสามารถและข้อจำกัดของหน่วยงาน
1.เฝ้าระวังการติดเชื้อในผู้รับบริการแบบ Target surveillance ในกลุ่มเสี่ยง
                1.1 ผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลทุกราย
                1.2 Post Discharge ในกลุ่มมารดาที่มีแผล Episiotomy
2.เฝ้าระวังการติดเชื้อในบุคลากร
                2.1ตรวจสุขภาพประจำปี ปีละ 1 ครั้ง
                2.2ดูแลบุคลากรที่เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อ
               2.3ให้ภูมิคุ้มกันโรค Hepatitis และภูมิคุ้มกันโรค ตามการ ระบาด
               2.4เฝ้าระวังอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานและ PEP
 3.เฝ้าระวังการติดเชื้อในสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
3.1จัดการมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยทั่วไป มูลฝอยมีคม มูลฝอย อันตราย
3.2ติดตามผลการตรวจคุณภาพน้ำดื่ม น้ำใช้ ทุก 3 เดือนร่วมกับงาน ENV
3.3ติดตามผลการตรวจคุณภาพน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดแล้วร่วมกับงาน ENV
3.4ดูแลการทำความสะอาดอาคารสถานที่ประจำวัน
3.5กำจัดสัตว์พาหะนำโรค
3.6ดูแลการจัดการผ้าเปื้อนแยก
3.7ดูแลการจัดการด้านโภชนาการ
3.8ควบคุม ดูแลการจัดการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อรวมทั้งการตรวจสอบคุณภาพการทำให้ปราศจากเชื้อ
4.เฝ้าระวังการใช้ยาต้านจุลชีพ ส่งเสริมการป้องกันเชื้อดื้อยา

2.ป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาล
ระดับความสามารถและข้อจำกัดของหน่วยงาน
 1.  ควบคุมล้างมือถูกต้องตามวิธีการปฏิบัติให้ครอบคลุมตามหลัก  5 moments
 2.  ควบคุมเทคนิคบริการ ตามหลัก Standard Precaution Transmission based  precautions
       -Airborn     precautions 
       -Droplet     precautions
       -Contact     precautions
 3. IC Round เดือนละ 1 ครั้ง ร่วมกับ ENV Round 2 ครั้ง / ปี
 4. ควบคุมโซนนิ่ง พื้นที่ใช้สอย ห้องฉุกเฉิน ผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน จ่ายกลาง ซักฟอก โรงครัว ห้องคลอด ห้องชันสูตร ห้องทันตกรรม
 5. จัดให้มีห้องแยก และแยกผู้ป่วยติดเชื้อระยะแพร่เชื้อ
 6. กำหนดจุดแยกตรวจและช่องทางด่วนสำหรับโรคกลุ่มเสี่ยงระบบทางเดินหายใจและวัณโรคปอด
 7.สอบสวนและควบคุมการระบาด ร่วมกับทีม SRRT

4.อัตรากำลังและภาระงาน
                อัตรากำลัง
                ICN  :  1   คน  (พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ  ผ่านการอบรมหลักสูตรการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล 4 เดือน)
                ICWN  :  12  คน  เป็นตัวแทนจากแต่ละงาน  งานละ 1 คน (ผ่านการอบรมหลักสูตรการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล 2 สัปดาห์ จำนวน  6 คน )
                ภาระงาน
                1.จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลประจำปี
                2.เฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล
                3.สอบสวนและวินิจฉัยโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลร่วมกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
                4.กำหนดแนวทางการปฏิบัติงานและแนวทางการแก้ปัญหาการติดเชื้อในโรงพยาบาล
                5.ทบทวนกิจกรรม ปัญหา และปรับปรุงวิธีปฏิบัติงานให้เหมาะสม ถูกต้องได้มาตรฐานและเป็นปัจจุบัน
                6.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในโรงพยาบาลและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน
                7.พัฒนาคุณภาพและศักยภาพของบุคลากรในโรงพยาบาล  เกี่ยวกับการปฏิบัติงานการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล
                8.ดูแลและเฝ้าระวังการติดเชื้อของบุคลากรในโรงพยาบาล เสริมภูมิคุ้มกันโรคที่มีความเสี่ยงจากการปฏิบัติงาน
                9.ดูแลสภาพแวดล้อมในโรงพยาบาลให้ปลอดภัยต่อผู้ให้บริการ ผู้รับบริการและต่อชุมชนใกล้เคียง
                10.เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล รายงานข้อมูลการติดเชื้อในโรงพยาบาล
                11.ร่วมจัดทำแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลกับทีมป้องกันและควบคุมการติดเชื้อของจังหวัดเลย

5. ผู้รับผลงานและความต้องการที่สำคัญ(จำแนกตามกลุ่มผู้รับผลงาน)

ผู้รับผลงาน
ความต้องการ
ผู้ป่วยและญาติ(ผู้รับบริการ) กลุ่มดี/ปกติ  กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย

ได้รับบริการที่ปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อนติดเชื้อจากการรับบริการ
เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลกลุ่มดี/ปกติ  กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย

1.ได้รับความมั่นใจและปลอดภัยจากการปฏิบัติงาน
2.ได้รับข้อมูลการติดเชื้อในหน่วยงาน และได้รับความรู้ด้าน IC ที่ทันสมัยอยู่เสมอ
3.ได้รับคำปรึกษาและดูแลเมื่อเกิดอุบัติเหตุสัมผัสสารคัดหลั่งและของมีคมทิ่มตำขณะปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง
4.มีเครื่องมือ เครื่องใช้การทำลายเชื้อ มีเครื่องป้องกัน PPE ที่เพียงพอเหมาะสม
5.มีคู่มือ IC ที่เข้าถึงง่าย
6.ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี และได้รับการดูแลเมื่อเจ็บป่วย
7.ดูแลสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ปลอดภัย
8. ได้รับการนิเทศติดตามอย่างต่อเนื่อง
เจ้าหน้าที่ รพ.สต.
ต้องการได้รับการป้องกันการติดเชื้อทุกอย่างเหมือนโรงพยาบาล
ชุมชนกลุ่มดี/ปกติ  กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย

1. ให้เยี่ยมติดตามอาการหลังกลับบ้าน
2.ได้รับความรู้การป้องกันการติดเชื้อในชุมชนผ่านสื่อต่างๆ เช่นแผ่นพับ หอกระจายข่าว วิทยุชุมชน
3.ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพื่อให้ปลอดภัยจาการติดเชื้อทั้งขณะอยู่ในโรงพยาบาลและหลังกลับบ้าน
4. ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อทั้งผู้ป่วยและญาติ ไม่นำการแพร่กระจายเชื้อต่อชุมชน
5. ได้รับการสนับสนุนเกี่ยวกับPPE ที่จำเป็น
6. เป็นสถานที่รับมูลฝอยติดเชื้อที่ผู้ป่วยไม่สามารถกำจัดเองได้ เช่น เข็มฉีดยา
ความต้องการในการประสานงานภายในที่สำคัญ
ฝ่าย/งานประสานภายใน
ความต้องการที่สำคัญ
คัดกรอง
-Mask ชนิด N 95 และชนิด sugical mask เพียงพอ
-Alcohol hand rub ประจำจุด-คู่มือความรู้การป้องกันการติดเชื้อ
 -แนวทางการคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ /วัณโรคผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง
 งานอุบัติเหตุ – ฉุกเฉิน
   งานผู้ป่วยนอก งานชันสูตร
- PPE ที่เหมาะสมเพียงพอ   -Alcohol hand rub ประจำจุด
-โซนนิ่ง -เครื่องมือ sterile  พร้อมใช้การเฝ้าระวังการติดเชื้อในผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยง/การป้องกันการติดเชื้อจากสิ่งส่งตรวจ ขยะ / ผ้าเปื้อน / แนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดของมีคมทิ่มตำ สัมผัสสารคัดหลั่ง
ผู้ป่วยใน
 งานห้องคลอด










งานทันตกรรม
-การส่งเสริมเทคนิคบริการ ตามหลัก Standard Precaution
 - PPE ที่เหมาะสมเพียงพอ   -Alcohol hand rub ประจำจุด
-โซนนิ่ง -เครื่องมือ sterile  พร้อมใช้การเฝ้าระวังการติดเชื้อในผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยง/การป้องกันการติดเชื้อจากสิ่งส่งตรวจ ขยะ / ผ้าเปื้อน / แนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดของมีคมทิ่มตำ สัมผัสสารคัดหลั่งTransmission based  precautions
 -Airborn     precautions 
  -Droplet     precautions
 -Contact     precautions
  IC Round เดือนละ 1 ครั้ง
-การเฝ้าระวังการติดเชื้อในผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาล
-ข้อมูลการติดเชื้อในหน่วยงาน
การจัดทำ Cental supply ที่ได้มาตรฐานในหน่วยทันตกรรม
งานจ่ายกลาง
-ความรู้/คู่มือการทำลายเชื้อทำให้ปราศจากเชื้อ
-การตรวจสอบประสิทธิภาพการทำให้ปราศจากเชื้อ
งานซักฟอก
- PPE ที่เหมาะสมเพียงพอ  Alcohol hand rub ประจำจุด
อ่างล้างมือ
 งานโรงครัว
-โซนนิ่ง การตรวจสุขภาพปีละ2 ครั้งร่วมกับงานอาชีวอนามัย


6. ประเด็นคุณภาพที่สำคัญ
           1. ประสิทธิภาพการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล
     2. ลดอัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่เป็นปัญหาสำคัญ
          2.1 CAUTI
          2.2 Neonatal sepsis
                 2.3 Phlebitis
          2.4  อุบัติการณ์ของมีคมทิ่มตำ/สัมผัสสารคัดหลั่ง
3. ส่งเสริมการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ทางการพยาบาลตามหลักการป้องกันการติดเชื้อ
    3.1 การล้างมือถูกต้องตามหลัก  5 moments
    3.2 การปฏิบัติตามหลัก Isolation  precaution
         Standard precaution 10 ประการ  / Transmission- Based  precaution  3 ประการ

7. ความท้าทาย  และความเสี่ยงที่สำคัญ จุดเน้นในการพัฒนา
  ความท้าทาย
      1.ความท้ายทาย เรื่องการลดอัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่เป็นปัญหาสำคัญ อุบัติการณ์การเกิด CAUTI / Neonatal sepsis / Phlebitis /อุบัติการณ์ของมีคมทิ่มตำ/สัมผัสสารคัดหลั่ง
       2.ความท้ายทายเรื่อง เพิ่มร้อยละของการล้างมือถูกต้องตามหลัก 5 moments ของบุคลากร
             3.ความท้ายทายเรื่อง เพิ่มร้อยละของการปฏิบัติตามหลัก Isolation  precaution ซึ่งประกอบด้วย    Standard precaution 10 ประการ  / Transmission- Based  precaution  3 ประการ
4.ความท้ายทายเรื่อง เพิ่มร้อยละของประสิทธิภาพการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล

ความเสี่ยงที่สำคัญ( ข้อมูลปี 2556)
ความเสี่ยงที่สำคัญ
แนวทางป้องกันและแก้ไข
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
จากการเฝ้าระวัง
1.CA-UTI  พบ 0 ต่อ 1000 วันคาสายสวนปัสสาวะ(แต่เป็นหัตการที่ทำบ่อย)
1. ทบทวนร่วมกับแพทย์ และพยาบาลทีมผู้ดูแล ญาติผู้ดูแล
ให้ความรู้การป้องกันและลดการติดเชื้อ
2.ทบทวนการวินิจฉัยการติดเชื้อ
3.ติดตาม IC Round
1. CA-UTI พบ 0 ต่อ 1000 วันนอน

2.Neonatal sepsis พบ ร้อยละ 6.13
3.Phlebitis พบ 0 ต่อ 1000 วันนอน


2. Neonatal sepsis พบร้อยละ 6.20
3. Phlebitis  พบ 0.06 ต่อ1000วัน  On IV Fluid
 4.เจ้าหน้าที่ถูกของมีคม/สารคัดหลั่ง พบร้อยละ 1.44 เป็นพยาบาลใหม่

ปฐมนิเทศก่อนปฏิบัติงาน
ดูแลตามระบบเมื่อเกิดเหตุ
พบร้อยละ 3.2 เป็นพยาบาลใหม่
 5.เจ้าหน้าที่ไม่ล้างมือตามหลัก  5 moments  /ล้างมือไม่ถูกต้อง /ไม่มี alcohol gel
1.จัดอบรมความรู้ประจำปี
2.รณรงค์การล้างมือในโรงพยาบาล
3.ส่งเสริมการปฏิบัติตามหลัก Isolation  precaution ซึ่งประกอบด้วย
 Standard precaution 10 ประการ  / Transmission- Based  precaution  3 ประการ

ประสิทธิภาพการล้างมือ ร้อยละ 60         
มีเจลล้างมือครบทุกจุดบริการ  
 6.เจ้าหน้าที่ละเมิดหลัก IC

 จุดเน้นในการพัฒนา(ระบบบริการและบริการส่งเสริมสุขภาพ)
จุดเน้นโรงพยาบาล
จุดเน้นหน่วยงาน
1. ลดอัตราการติดเชื้อที่เป็นปัญหาสำคัญให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ( 2 )
1.การลดอัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่เป็นปัญหาสำคัญ CAUTI / Neonatal sepsis / Phlebitis /อุบัติการณ์ของมีคมทิ่มตำ/สัมผัสสารคัดหลั่ง
2.ป้องกันการติดเชื้อในกลุ่มโรคตามยุทธศาสตร์โรงพยาบาล
2.ส่งเสริมการปฏิบัติตามหลัก Isolation  precaution ซึ่งประกอบด้วย Standard precaution 10 ประการ  / Transmission- Based  precaution  3 ประการ  
3.ทำCQI ตามปัญหาและความเสี่ยงที่พบคือบุคลากรละเมิดหลัก IC
3.เน้นตาม PSG  SIMPLE ( Hand Hygiene)        
4.ส่งเสริมการล้างมือถูกต้องตามหลัก  5 moments ของบุคลากร




 8. ตัวชี้วัดการดำเนินงาน (Performance Indicator)
ตัวชี้วัดผู้รับบริการ
Indicator
เป้าหมาย
ระดับที่ปฏิบัติได้
๒๕๕๔
๒๕๕๕
๒๕๕๖
๒๕๕๗
.  อัตราการติดเชื้อใน โรงพยาบาล
< %
.๐๗
๐.๐๕
.๔๑
.  อัตราการติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะ (ต่อ ๑๐๐๐วันนอน)
</พันวันนอน
.  อัตราการติดเชื้อจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ (ต่อ ๑๐๐๐ วันนอน)
</พันวันนอน
.๐๔
๐.๐๖
3.อัตราการติดเชื้อของแผลผ่าตัด (แผลสะอาด)
<๕ %
4.อัตราการติดเชื้อแผลฝีเย็บ
๐ %
5.อัตราการติดเชื้อในทารก (neonatal  sepsis)
๐%
.๘๗
.๕๕
.๒๐
.๑๓
6.อัตราการติดเชื้อที่สะดือทารก
๐%
7.อัตราการเกิดปอดอักเสบจากการนอนรพ.
</พันวันนอน
NA
NA
NA
.๔๘
ตัวชี้วัดงาน IC บุคลากร
กิจกรรมการดูแลบุคลากร
เป้าหมาย
ระดับที่ปฏิบัติได้
๒๕๕๓
๒๕๕๔
๒๕๕๕
๒๕๕๖
. การตรวจสุขภาพบุคลากร

บุคลากรได้รับการตรวจสุขภาพทุกปีรวมทั้งบุคลากรใหม่
ไม่ได้เก็บ
๗๔.๘๒
๙๔.๙๒
๙๒.๗๔
.  การส่งเสริมภูมิคุ้มกันให้กับบุคลากร ไวรัสตับอักเสบบี
บุคลากรได้รับภูมิคุ้มกันตามลักษณะงาน/ความเสี่ยง/คน
๓การส่งเสริมภูมิคุ้มกันให้กับบุคลากรไข้หวัดใหญ่ 
บุคลากรได้รับการวัคซีนไข้หวัดใหญ่
ไม่ได้เก็บ
๑๔

๔๗
๖๐
๔. บุคลากรได้รับอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน
<      ราย
. บุคลากรติดเชื้อจากการปฏิบัติงาน
๐   ราย
๖. บุคลากรปฏิบัติเรื่องการล้างมือได้ถูกต้องตามมาตรฐาน
๘๐ %
ไม่ได้เก็บ
ไม่ได้เก็บ
๕๖
๖๐


ตัวชี้วัดงาน IC ด้านสิ่งแวดล้อม
กิจกรรมการดูแลบุคลากร
เป้าหมาย
ระดับที่ปฏิบัติได้
๒๕๕๔
๒๕๕๕
๒๕๕๖
๒๕๕๗
ขยะติดเชื้อ
๐.๕กก/ คน/ เตียง
.๐๒
.๐๓
.๐๓
.๗๙
ผลตรวจคุณภาพน้ำใช้
ผ่าน
NA
NA
NA
NA
ผลตรวจคุณภาพน้ำเสีย
ผ่าน
ผ่าน
ผ่าน
ผ่าน
ผ่าน
ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องนึ่ง
๑๐๐%
๑๐๐
๑๐๐
๑๐๐
๑๐๐
๔. กระบวนการหรือระบบงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย และมีคุณภาพ
.๑ การพัฒนาคุณภาพที่เสร็จสิ้นแล้ว
. การเฝ้าระวังการติดเชื้อใน ร.. เฝ้าระวังการติดเชื้อแบบTarget Surveillance และมีระบบการเฝ้าระวังในผู้ป่วยหลังจำหน่าย โดยดำเนินการเฝ้าระวังในตำแหน่งของแผลผ่าตัด
. การเฝ้าระวังและการดูแลสุขภาพบุคลากร มีระบบการดูแลสุขภาพบุคลากรร่วมกับ HPH ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพ การส่งเสริมภูมิคุ้มกันโรค และสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันร่างกายที่มีประสิทธิภาพให้กับบุคลากร
๓. การพัฒนาคุณภาพน้ำทิ้งและพัฒนาระบบการเติมคลอรีน ร่วมกับงาน ENV จนค่าน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์มาตรฐานกรมอนามัย
๔.๒ การพัฒนาคุณภาพที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ     
การพัฒนาคุณภาพ
กิจกรรมพัฒนาคุณภาพ
ตัวชี้วัด
. การใช้การจัดการความรู้ในการเย็บแผลฝีเย็บ
- นำ Evidence Base มาใช้
- อบรม นิเทศ เจ้าหน้าที่ใหม่ในการเย็บแผลฝีเย็บ โดยหัวหน้างานห้องคลอด
- อัตราการติดเชื้อที่แผลฝีเย็บ
. พัฒนาการทำให้ปราศการเชื้อ
- จัดทำที่เก็บ set  sterile ใหม่
- การล้างเครื่องปรับอากาศ
- ผลการสุ่มเพาะเชื้อของอุปกรณ์
๓. การดูแลทารกที่มีภาวะ Neonatal Sepsis
- นำ Evidence Base มาใช้
- การอบรมเจ้าหน้าที่ในการดูแล
- อัตราการติดเชื้อในทารกแรกเกิด
. ลดอุบัติการณ์บุคลากรติดเชื้อจากการปฏิบัติงาน
- จัดระบบ isolation precaution
- อบรม universal  precaution
- อัตราการติดเชื้อจากการปฏิบัติงาน
๕. พัฒนาโรงครัว
- ปรับปรุงโครงสร้างโรงครัว
- มีการจัดโครงสร้างได้มาตรฐาน
๖. การส่งเสริมสุขภาพบุคลากร
- ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
-การปรับพฤติกรรมสุขภาพบุคลากรกลุ่มเสี่ยง
- อัตราบุคลากรได้รับวัคซีน
๕.แผนพัฒนาต่อเนื่อง

โครงการ/งาน

วัตถุประสงค์

ตัวชี้วัด

ระยะเวลา

๑.การพัฒนาพัฒนาความรู้ ICWN

เพื่อให้มีความรู้ที่ทันสมัย

จำนวน ICWNที่ได้รับการอบรมเพิ่มเติม

ก.พ.๕๖-มี.ค.๕๗

๒.อบรมฟื้นฟูความรู้งาน ICแก่บุคลากร

-เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ด้าน IC

ผลการประเมินความรู้บุคลากรที่เข้ารับการอบรม

ก.พ.๕๗-มี.ค.๕๗

๓.เพิ่มประสิทธิภาพการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล

-เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล

ประสิทธิภาพการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล

ต.ค.๕๖-ก.ย.๕๗

๔.เพิ่มประสิทธิภาพของห้องปฏิบัติการในการเพาะเชื้อ

-เพื่อให้ห้องชันสูตรสามารถทำการเพาะเชื้อได้เองโดยไม่ต้องส่งตรวจภายนอก

-การเพาะเชื้อของห้องชันสูตร

ต.ค.๕๖-ก.ย.๕๗

๕.การส่งเสริมสุขภาพบุคลากร

-ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่

-การปรับพฤติกรรมสุขภาพบุคลากรกลุ่มเสี่ยง

-อัตราบุคลากรได้รับวัคซีน

ต.ค.๕๖-ก.ย.๕๗


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น