วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

การกำหนดค่าวิกฤตทางห้องปฏิบัติการ และมาตรฐานการรายงานผลวิเคราะห์กรณีอยู่ในช่วงค่าวิกฤต

1.    ชื่อผลงาน/ โครงการพัฒนา  : การกำหนดค่าวิกฤตทางห้องปฏิบัติการ และมาตรฐานการรายงานผลวิเคราะห์กรณีอยู่ในช่วงค่าวิกฤต
2.    สรุปผลงานโดยย่อ ; ค่าวิกฤต หมายถึง   ผลการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการที่ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยที่จำเป็นจะต้องรายงานโดยด่วน เพื่อให้เกิดมาตรฐานในการปฏิบัติสำหรับผู้ตรวจวิเคราะห์ กรณีค่าที่วิเคราะห์ได้อยู่ในช่วงค่าวิกฤต
-          เพื่อให้เกิดการกำหนดค่าวิกฤตทางห้องปฏิบัติการ เพื่อใช้ในการตัดสินใจ แก่ผู้ที่ทำการวิเคราะห์
-          ค่าวิกฤตที่กำหนดขึ้นจะช่วยให้แพทย์และพยาบาลในการตัดสินใจวางแผนการรักษาผู้ป่วยได้ทันท่วงที



3.    ชื่อและที่อยู่องค์กร ;   กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลภูกระดึง
4.    สมาชิกทีม  เจ้าหน้าที่ในกลุ่มงานเทคนิคการแพทย์
5.    เป้าหมาย :   ผลการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการที่ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยที่จำเป็นจะต้องรายงานโดยด่วนทุกราย  
6.    ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ มีอุบัติการณ์การไม่รายงานค่าวิกฤติเมื่อผลการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยที่จำเป็นจะต้องรายงานโดยด่วน
7.    การเปลี่ยนแปลง:
                Plan
1.      ร่วมกันทบทวน และกำหนดค่าวิกฤตตามความเห็นของแพทย์ผู้ใช้ผลตรวจวิเคราะห์ ที่มีความจำเป็นต้องรายงานผลทันที
2.      ร่วมกันกำหนดแนวทางมาตรฐานการปฏิบัติงานกรณีค่าที่วิเคราะห์ได้อยู่ในช่วงค่าวิกฤต
              Do
1.      จัดทำค่าวิกฤตทางห้องปฏิบัติการ  โดยการกำหนดอ้างอิงกับค่ามาตรฐานทางเทคนิคการแพทย์ร่วมกับแพทย์ พิจารณาให้สอดคล้องและเหมาะสมกับโรงพยาบาล
2.      จัดทำมาตรฐาน ในการปฏิบัติงานกรณีค่าที่วิเคราะห์ได้อยู่ในช่วงค่าวิกฤตเพื่อให้บุคคลากร ยึดถือปฏิบัติใช้ไปในทิศทางเดียวกัน
          Check and Act
ติดตามตัวชี้วัด  เพื่อนำมาวิเคราะห์หาโอกาสพัฒนา ได้แก่จำนวนครั้งที่มีการรายงานผลกรณีค่าที่ได้อยู่ในช่วงค่าวิกฤต

สรุปการรายงานค่าวิกฤติทางโทรศัพท์ประจำปีงบประมาณ 2555

เดือน
FBS
K+/Na
AST
ALT
Cr
MB
Hct
WBC
count
Plt
VCT
รวม
ตุ.ค 54
6
3
1
1
1
1
3
2

1
19
พ.ย 54
1
2/2




2
2


9
ธ.ค 54

3


1

3



7
ม.ค 55
2
1/1


1

2



7
ก.พ 55
3
6




2



11
มี.ค 55
2
8


1

3
1
1

16
เม.ย55
2
4




1



7
พ.ค.55
1
5/1




1



   8
มิ.ย 55
1
6





1
1

9
ก.ค 55
1
3




2


1
7
ส.ค 55

4




1

1
2
8
กย.55
1
1/3
1
1


1

1

9
เข้าเกณฑ์
20
46/7
2
2
4
1
21
6
4
4
117
รายงาน
20
46/7
2
2
4
1
21
6
4
4
117
ร้อยละ
100
100
100
100
100
100
100
100
100
100
100


สรุป     การรายงานค่าวิกฤติตั้งแต่เดือน ต..54-ก.ย.55 มีการรายงานค่าวิกฤตจำนวน 117 ครั้ง และเนื่องจากมีการทบทวนค่าวิกฤติร่วมกับแพทย์ทุกปี ทำให้เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการมีความตระหนักถึงความสำคัญในการรายงาน ในปีงบประมาณ 2555 พบว่า เดือน ตุลาคม 2554 มีการรายงานค่าวิกฤติสูงสุดจำนวน 19 ครั้ง ค่าวิกฤตที่มีความถี่ในการรายงานมากที่สุดคือ K+  และในปีงบประมาณ 2555 ไม่พบอุบัติการณ์การไม่รายงานค่าวิกฤติ ทำให้การรายงานมี เป็นประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยได้ทันท่วงที ตอบสนองต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย และนำผลการรายงานมาทบทวนเพื่อการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ต่อไป
   
 8.   ผลการเปลี่ยนแปลง
-          เกิดมาตรฐานในการปฏิบัติงานกรณีค่าที่วิเคราะห์ได้อยู่ในช่วงค่าวิกฤต
-          หน่วยงานหรือหอผู้ป่วยสามารถใช้ค่าที่กำหนดไว้นี้ เป็นเกณฑ์ตัดสินใจ เพื่อประโยชน์ในการรักษา ผู้ป่วยได้ทันท่วงที



9.      บทเรียนที่ได้รับ:
เนื่องจากมีการทบทวนค่าวิกฤติทุกปี ทำให้เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการมีความตระหนักถึงความสำคัญในการรายงาน ในปี 2555  ไม่พบอุบัติการณ์การไม่รายงานค่าวิกฤติ ทำให้การรายงานมี เป็นประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยได้ทันท่วงที ตอบสนองต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย และนำผลการรายงานมาทบทวนเพื่อการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ต่อไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น