วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

การพัฒนาระบบการลงข้อมูลการรับบริการทันตกรรมในรายงานทันตกรรมประจำวันให้สมบูรณ์


ชื่อผลงาน
การพัฒนาระบบการลงข้อมูลการรับบริการทันตกรรมในรายงานทันตกรรมประจำวันให้สมบูรณ์

คำสำคัญ                                                                                              
ข้อมูลการรับบริการทันตกรรม       รายงานทันตกรรมประจำวัน

 สรุปผลงานโดยย่อ
                การลงบันทึกข้อมูลการรับบริการทันตกรรมในรายงานทันตกรรมประจำวัน  เป็นการลงบันทึกการมารับบริการ  การรักษา  ป้องกัน  และฟื้นฟู ในคลินิกทันตกรรม  เพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลและหลักฐานการให้บริการทันตกรรมในสถานบริการ   และใช้เป็นข้อมูลในการสรุปและวิเคราะห์การมารับบริการ ตลอดจนความต้องการรับบริการทันตกรรมของประชาชน   เพื่อใช้วางแผนการปรับปรุงระบบการให้บริการให้มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ  สร้างการเข้าถึงบริการ และความพึงพอใจในการมารับบริการ               
           ฝ่ายทันตสาธารณสุข  โรงพยาบาลภูกระดึง  ได้ดำเนินการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการในการบันทึกข้อมูลการรับบริการทันตกรรมในรายงานทันตกรรมประจำวัน   โดยการทบทวนและตรวจสอบการลงบันทึกรายงานทันตกรรมประจำวันอย่างต่อเนื่อง       ในปี 2556 พบว่า มีความสมบูรณ์และถูกต้องของข้อมูลในรายงานทันตกรรมประจำวันเมื่อเปรียบเทียบจากแฟ้มประวัติการรับบริการ  เฉลี่ยร้อยละ 99.07   ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ดี  ส่งผลให้ ข้อมูลรายงานทันตกรรม มีความถูกต้อง สมบูรณ์และน่าเชื่อถือ    เพื่อเป็นกลไกในการสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการในคลินิกทันตกรรมอย่างต่อเนื่องต่อไป
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต




ชื่อและที่อยู่องค์กร ;  
ฝ่ายทันตสาธารณสุข  กลุ่มงานบริการทางการแพทย์   โรงพยาบาลภูกระดึง
สมาชิกทีม  
เจ้าหน้าที่ฝ่ายทันตสาธารณสุข  กลุ่มงานบริการทางการแพทย์   โรงพยาบาลภูกระดึง
เป้าหมาย
ข้อมูลรายงานทันตกรรมประจำวันมีความถูกต้องและสมบูรณ์  มากกว่าร้อยละ 95.00 

ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ
         ในการปฏิบัติงานให้บริการในคลินิกทันตกรรม จำเป็นต้องมีการลงบันทึกการให้บริการทันตกรรม
เป็นข้อมูลประวัติการมารับบริการ    ซึ่งจะมี รายละเอียดและลักษณะรูปแบบการลงข้อมูลแตกต่างไปตามลักษณะงานหัตถการในคลินิกทันตกรรม      จากการสุ่มตรวจสอบข้อมูลในรายงานทันตกรรมประจำวัน   เบื้องต้น  ในปี 2555   ซึ่งมีผู้มารับบริการในคลินิกทันตกรรม  จำนวน  11,535 ราย  มักพบข้อผิดพลาดในการลงข้อมูล หรือ มีการลงข้อมูลไม่ครบถ้วนสมบูรณ์เป็นประจำ  ซึ่งส่งผลถึงความน่าเชื่อถือของข้อมูลและความคลาดเคลื่อนของข้อมูลการรับบริการทันตกรรม ส่งผลให้เกิดความผิดพลาดในการวางแผนและพัฒนาระบบบริการในคลินิกทันตกรรม

การปรับปรุงและพัฒนา
1.             เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานคลินิกทันตกรรมร่วมกันทบทวนและกำหนดแนวทางในการบันทึกข้อมูล  การรับบริการทันตกรรมในรายงานทันตกรรมประจำวัน 
  1. มีการตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของข้อมูลรายงานทันตกรรมประจำวัน  เปรียบเทียบอ้างอิงจากแฟ้มผู้มารับบริการทันตกรรม     โดยผู้รับผิดชอบงานเวชระเบียนของฝ่ายทันตสาธารณสุข  เป็นประจำทุกเดือน
  2. จัดให้มีการประเมินผลและทบทวนแนวทางในการบันทึกรายงานทันตกรรมประจำวันเป็นประจำทุกเดือน

ผลการปรับปรุงพัฒนา

ตัวชี้วัด
รวม
ตค
พย
ธค
มค
กพ
มีค
เมย
พค
มิย
กค
สค
กย
ร้อยละเวชระเบียนที่ถูกต้อง สมบูรณ์
99.07
99.70
99.70
99.90
99.80
99.90
99.20
96.40
98.70
96.90
99.60
99.80

จำนวนเวชระเบียนที่ถูกต้อง สมบูรณ์
10,779
1043
764
965
844
1075
1169
912
814
995
1080
1118

จำนวนเวชระเบียนทั้งหมด
10,880
1046
766
966
846
1076
1178
946
825
1027
1084
1120



บทเรียนที่ได้รับ:
              กระบวนการทบทวน และกำหนดแนวทางร่วมกัน  ตลอดจนมีการตรวจสอบและทบทวนเป็นประจำทุกเดือน  ทำให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทันตสาธารณสุข  มีความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญในการลงบันทึกการรับบริการทันตกรรมในรายงานทันตกรรมประจำวัน ให้ถูกต้อง สมบูรณ์    โดยในปี พ.. 2556   มีผู้มารับบริการทันตกรรม ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2555 ถึงเดือน สิงหาคม 2556 ทั้งหมด จำนวน 10,880 ราย  มีการลงข้อมูลถูกต้องสมบูรณ์  เฉลี่ยร้อยละ 99.07 ยกเว้นในเดือน เมษายน 2556 ถึงเดือน มิถุนายน 2556 ที่มีการลงข้อมูลถูกต้องสมบูรณ์  ต่ำกว่าร้อยละ 99.00  จากการตรวจสอบพบว่า เป็นผลมาจากเจ้าหน้าที่ที่มาปฏิบัติงานใหม่ลงข้อมูลไม่สมบูรณ์   จึงมีการติดตามและทบทวนการลงข้อมูลเป็นประจำทุกเดือน  ส่งผลให้สามารถลงข้อมูลได้สมบูรณ์มากขึ้น  และมีข้อมูลถูกต้องสมบูรณ์ เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 99.60  และ 99.80 ในเดือนกรกฏาคม 2556 และสิงหาคม 2556 ตามลำดับ

แนวทางการพัฒนาต่อเนื่อง

          จากการดำเนินงานที่ผ่านมา  การตรวจสอบความสมบูรณ์ถูกต้องของการบันทึกการรับบริการ    ทันตกรรมในรายงานทันตกรรมประจำวัน จะดำเนินการเดือนละ 1 ครั้ง โดยผู้รับผิดชอบงานเวชระเบียนของฝ่ายทันตสาธารณสุข  ซึ่งจะใช้เวลานานเนื่องจากมีข้อมูลการรับบริการทันตกรรมจำนวนมากในแต่ละเดือน  จึงควรปรับรูปแบบและความถี่ในการตรวจสอบ  โดยกำหนดให้ ผู้ให้บริการในคลินิกทันตกรรมและไม่ได้เป็นผู้บันทึกรายงานทันตกรรมประจำวันในวันนั้น      ทำการตรวจสอบความสมบูรณ์ถูกต้องของรายงานทันตกรรมประจำวันร่วมกับผู้รับผิดชอบงานเวชระเบียนเป็นประจำทุกวัน   เพื่อลดระยะเวลา  เพิ่มความเข้าใจและชำนาญในงานเวชระเบียน   ตลอดจนเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการติดตามและ ตรวจสอบรายงานทันตกรรมประจำวันของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทุกคน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น