Service Profile
หน่วยจ่ายกลาง โรงพยาบาลภูกระดึง จังหวัดเลย
1.
บริบท (Context)
หน่วยงานจ่ายกลาง
ให้บริการรับ – ส่ง
เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ที่ปราศจากเชื้อแก่หน่วยงาน อย่างเพียงพอ
ปลอดภัยได้มาตรฐานและผู้รับบริการพึงพอใจ ทั้งในยามปกติและฉุกเฉินให้กับหอผู้ป่วยและหน่วยงานต่างๆ
ในโรงพยาบาลภูกระดึงและหน่วยงานภายนอก เพื่อประกอบการรักษา/วินิจฉัย
และทำหัตการตามความต้องการ ด้วยกระบวนการปฏิบัติงานรับอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้แล้วมาล้างทำความสะอาดถูกวิธี
ตรวจสอบประสิทธิภาพความสมบูรณ์พร้อมใช้ก่อนจัดบรรจุเข้าชุดให้ครบถ้วน
ถูกต้องตามขั้นตอน และทำให้ปราศจากเชื้อด้วยการนึ่งอบไอน้ำ ด้วยวิธีที่ถูกต้อง ครบถ้วน
ตามหลักวิชาการและผ่านการตรวจสอบประสิทธิภาพ
การทำให้ปราศจากเชื้อด้วยกระบวนการทางกลไก
ทางเคมี และทาง ชีวภาพ
มีการควบคุมการจัดเก็บ เบิกจ่าย และการจัดส่ง มิให้เกิดการปนเปื้อน
เพื่อให้อุปกรณ์เครื่องมือที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพในการใช้งาน
ความท้าทายของหน่วยงานเป็นศูนย์กลางทำให้ปราศจากเชื้อและการใช้ทรัพยากรคุ้มค่าตามจุดเน้นในการพัฒนาซึ่งได้แก่พัฒนาระบบการทำให้ปราศจากเชื้อของเครื่อง
มืออย่างมีประสิทธิภาพ
พัฒนาชุดเครื่องมือให้มีใช้อย่างเพียงพอ และลดจำนวนของ Re-Sterile โดยมีปริมาณงานดังนี้ Set
Suture ER 10 Set ต่อ 1 วัน Set D/S 50 Set
ต่อ 1 วัน อุปกรณ์ต่าง ๆ 100 ชิ้น / วัน
จัดชุดพ่นยาและสาย O2 50 ชุด/ วัน Re-Sterile 15 ชิ้น / วัน มีบุคลากร 3 คน จัดให้ปฏิบัติงานดังนี้ เจ้าหน้าที่บรรจุหีบห่อ 2 คนเจ้าหน้าที่รับเครื่องมือและล้างเครื่องมือ 2 คน
เจ้าหน้าที่นึ่งและส่งเครื่องมือ 1 คน
การใช้งานหม้อนึ่งเฉลี่ย 1-2 รอบ / วัน
บุคลากรมีความรู้ความสามารถในการตรวจสอบ
บำรุงรักษา ระบบบันทึก การใช้งานอุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงาน
และมีแนวทางปฏิบัติตามเกณฑ์สากลในระบบการป้องกัน และควบคุมการติดเชื้อ
การแพร่กระจายเชื้อ การบริหารความสิ่งแวดล้อม ทั้งภายใน และภายนอก
เพื่ออำนวยต่อการปฏิบัติงานและความปลอดภัยของบุคลากร
2.
กระบวนการสำคัญ (Key
Processes)
กระบวนการสำคัญ
(Key Process)
|
สิ่งที่คาดหวังจากกระบวนการ
( Process
Requirement )
|
ตัวชี้วัดที่สำคัญ
( Performance
Indicator )
|
1.การรับอุปกรณ์
|
-
การใส่อุปกรณ์ป้องกันร่างกายอย่างเคร่งครัด
-
ภาชนะที่บรรจุมิดชิด(รถรับของสกปรก)
-
รับอุปกรณ์ตามเวลาที่กำหนด
-
การตรวจสอบ/นับแยกประเภทอุปกรณ์
-
การทำความสะอาดภาชนะที่รองรับอุปกรณ์
-การล้างมือ
|
อัตราการเกิดอุบัติเหตุขณะปฏิบัติงาน
|
2.การล้างทำความสะอาดอุปกรณ์
|
-
เจ้าหน้าที่สวมเครื่องป้องกันร่างกายอย่างเคร่งครัด
-
การแยกประเภทอุปกรณ์ถูกต้อง
-
การทำความสะอาดอุปกรณ์/น้ำยาที่มีส่วนผสม Detergent ตามาตรฐาน
-
การทำความสะอาดอ่างล้างและเครื่องล้างอุปกรณ์ตามมาตรฐาน
-
การล้างมือ
|
อัตราการล้างเครื่องมือแพทย์
สะอาด
|
3.การเตรียมและการห่ออุปกรณ์
|
-
การล้างมือ
-
การตรวจสภาพของอุปกรณ์ก่อนการจัดห่อ
-
การจัดชุดอุปกรณ์ถูกต้องครบถ้วน
-
การเลือกวัสดุที่ใช้ในการห่อชุดอุปกรณ์เหมาะสม
-
ปิดป้ายหน้าห่อชุดเครื่องมืออุปกรณ์ถูกต้อง
|
อัตราการจัดเครื่องมือ
วัสดุ อุปกรณ์การแพทย์ ถูกต้องครบถ้วน
|
4.
การทำให้ปราศจากเชื้อ
|
-การเตรียมเครื่องนึ่งไอน้ำถูกต้อง
-
การจัดเรียงอุปกรณ์เข้าเครื่องนึ่งไอน้ำถูกต้องตามมาตรฐาน
-
มีการตรวจสอบประสิทธิภาพเครื่องนึ่งปราศจากเชื้อ
-
มีการบันทึกข้อมูลการนึ่ง
|
อัตราการตรวจสอบประสิทธิภาพการทำให้ปราศจากเชื้อผ่านเกณฑ์
|
กระบวนการสำคัญ
(Key Process)
|
สิ่งที่คาดหวังจากกระบวนการ
( Process
Requirement )
|
ตัวชี้วัดที่สำคัญ
( Performance
Indicator )
|
6.
การจัดเก็บชุดอุปกรณ์
|
-การแต่งการของบุคลากรก่อนเข้าห้องถูกต้องตามมาตรฐาน
IC
-
มีการตรวจสอบวันหมดอายุสภาพของห่ออุปกรณ์ทุกครั้ง
-
มีการจัดเก็บ FIFO
|
อัตราการหมดอายุของการเก็บอุปกรณ์ปราศจากเชื้อในหน่วยงาน
|
7.การจ่ายชุดอุปกรณ์
|
- การแต่งกายเจ้าหน้าที่ถูกต้อง
- มีการตรวจนับจำนวนจ่ายชุดอุปกรณ์ทุกครั้ง
- มีการจัดเก็บบันทึกข้อมูล
- มีการทำความสะอาดรถส่งชุดอุปกรณ์
|
อัตราการจ่ายเครื่องมือ
วัสดุ อุปกรณ์การแพทย์ให้หน่วยงานครบถ้วนถูกต้อง
|
4.
กระบวนการหรือระบบงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย และมีคุณค่า
4.1
ระบบงานในปัจจุบัน ที่พัฒนาคุณภาพเสร็จสิ้นแล้ว
4.1.1 กระบวนการปฏิบัติงานหลักของหน่วยงาน
(ระบบต่างๆที่ใช้อยู่และเกิดผลลัทธ์ที่ดีในการปฏิบัติงาน)
1)
ระบบCentral supply มีกระบวนการรับเครื่องมือ
ล้างทำความสะอาด จัดเตรียมและหีบห่อ การจัดเรียงหีบห่อในเครื่องทำปราศจากเชื้อ
การทำปราศจากเชื้อ การประกันคุณภาพ
การเก็บรักษาและการแจกจ่ายสู่หน่วยงานบริการผู้ป่วยต่อไป
2)
การปรับปรุงห้องเก็บอุปกรณ์เครื่องมือที่ปราศจากเชื้อแล้วโดยมีการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
3)
การปรับปรุงโครงสร้างอาคารจ่ายกลางเป็นระบบOne way มีการแบ่งโซนภายในหน่วยงานให้แยกออกจากกัน
โดยการทุบห้องยาและห้องส่งเสริมสุขภาพเดิมมาเป็นหน่วยจ่ายกลางโดยกั้นเป็นแบบห้องกระจกเพื่อใช้แบ่งโซนปนเปื้อน
โซนสะอาด และโซนปราศจากเชื้อตามขนาดของพื้นที่ที่มี
4)
ระบบการทบทวน 12 กิจกรรม
มีการนำความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในหน่วยงาน
มาทบทวนและประชุมร่วมกันก่อนการปฏิบัติงานและมีการประชุมประจำเดือน
บางกรณีนำปัญหาเข้าเสนอต่อคณะกรรมการความเสี่ยง คณะกรรมการIC และคณะกรรมการบริหารฝ่ายการพยาบาลเพื่อร่วมแก้ไขปัญหา
การพัฒนาคุณภาพที่เกิดจากการทบทวน 12 กิจกรรม เช่น การปรับปรุงระบบงานจ่ายกลาง
มาเป็นระบบ Central supply เป็นต้น
4.1.2 การทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ
( CQI,
การใช้มาตรฐานต่างๆและระบบอื่นๆที่ดี )
มีการทบทวนการปฏิบัติงานทุกวันและนำประเด็นปัญหาสำคัญเข้าทบทวนหน้างานและประชุมประจำเดือน
นำประเด็นความเสี่ยงสำคัญเข้าประชุมคณะกรรมการความเสี่ยง คณะกรรมการ IC ตัวอย่างกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ ( CQI) ที่สำคัญได้แก่ การลดค่าใช้จ่าย re-sterile เครื่องมือแพทย์
หลักการและเหตุผล
สืบเนื่องจากวัตถุประสงค์เพื่อที่ต้องการทราบต้นทุนของแผนกและศึกษาต้นทุนค่าแรง
ต้นทุนค่าวัสดุ ต้นทุนค่าลงทุนเพื่อสามารถวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์การเงินของแผนกและจากที่ทางโรงพยาบาล
ภูกระดึงมีนโยบายให้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทุกคนช่วยกันประหยัดและหามาตรการในการประหยัดร่วมกัน
จึงได้มีการร่วมกันวิเคราะห์ต้นทุนขึ้นเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้ก่อเกิดประโยชน์สูงสุด
สรุปผลการดำเนินงาน
เรื่อง ลดการ Re-
sterile อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์
มกราคม –
กันยายน 2554
จากการเก็บข้อมูลการ Re- sterile เครื่องมือซึ่งเป็นกิจกรรมทบทวนการใช้ทรัพยากรของหน่วยงานที่ทำในรูปแบบ COI
ทางหน่วยจ่ายกลางได้มีการเก็บข้อมูลมาอย่างต่อเนื่องจากปี 2550 – ปัจจุบัน ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเพื่อให้เข้ากับบริบทหน่วยงานมาอย่างต่อเนื่อง
หน่วยงานได้มีการเปรียบเทียบข้อมูล การ RE-sterile เครื่องมือ
3 ปีย้อนหลัง เพื่อแสดงถึงแนวโน้มการลด Re-sterile เครื่องมือ
และมูลค่าการ RE-sterile เครื่องมือ ดังนี้
ตารางแสดงจำนวนและมูลค่าการ
Re-sterile เครื่องมือปราศจากเชื้อ เปรียบเทียบปี 2551 – 2554 (ม.ค.-ก.ย.)
รายการ
|
ปี 2551
|
ปี 2552
|
ปี 2553
|
ม.ค.-ก.ย. 2554
|
จำนวนครั้ง RE-Streile
|
375
|
244
|
198
|
158
|
มูลค่าการ Re-Sterile
|
3,637.50
|
2,367
|
1,920.60
|
1,532.60
|
กราฟแสดงจำนวนและมูลค่า
Re-sterile
เครื่องมือปราศจากเชื้อ เปรียบเทียบปี 2551 – 2554 (ม.ค.-ก.ย.)
จากข้อมูลพบว่าในปี 2551
จำนวน/มูลค่าการ Re-sterile
มีจำนวนสูงมาก สาเหตุจากหน่วยงานไม่ได้มีการตรวจสอบ Exp.อุปกรณ์ และเบิกของจำนวนมาก จึงได้แก้ไขโดยการลดปริมาณการ Stock ของที่หน่วยงานลงและให้มีการตรวจสอบวัน Exp. อุปกรณ์ทุกวัน
และได้มีการศึกษาเพื่อยืดอายุการจัดเก็บอุปกรณ์โดยการส่งเพาะเชื้ออุปกรณ์ พบว่า
ไม่มีเชื้อก่อโรคใดๆ ผลลัพธ์ในปี 2552 และในปี 2553 มีแนวโน้มลดลง
ในปี 2554 พบว่า จากเดือนมกราคม –
กันยายน 2554 จำนวน/มูลค่า การ re-sterile มีแนวโน้มลดลง จำนวน/มูลค่า
คือ 158 ชิ้น/1,532.6 บาท ซึ่งทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณในการทำให้ปราศจากเชื้อ
ดังนั้นหน่วยงานจึงได้นำมาทบทวนและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
พร้อมทั้งวางแนวทางการแก้ไข ดังนี้ และผลการเก็บข้อมูลในปี 2554 จากเดือนมกราคม
–กันยายน พบว่า
ตารางแสดงจำนวน/มูลค่าการ
Re-sterile
เครื่องมือปราศจากเชื้อ มกราคม- กันยายน 2554
ที่
|
เดือน
|
จำนวน
Re- Sterile 2553
|
ราคา/SET
|
มูลค่ารวม
|
1
|
ม.ค. 54
|
12
|
9.7
|
116.4
|
2
|
ก.พ. 54
|
21
|
9.7
|
203.7
|
3
|
มี.ค.54
|
49
|
9.7
|
475.30
|
4
|
เม.ย.54
|
3
|
9.7
|
29.1
|
5
|
พ.ค.54
|
6
|
9.7
|
58.2
|
6
|
มิ.ย.54
|
10
|
9.7
|
97
|
7
|
ก.ค.-54
|
13
|
9.7
|
126.1
|
8
|
ส.ค.-54
|
20
|
9.7
|
194
|
9
|
ก.ย.-54
|
24
|
9.7
|
232.8
|
รวม
|
158
|
|
1,532.60
|
จากข้อมูลพบว่า
การ Re-Sterile เครื่องมือทั้งหมดในมกราคม- กันายน
2554 จำนวน 158 ชิ้น มูลค่า 1,532.6 บาท จากกราฟจะพบว่าช่วงที่มี re-sterile เครื่องมือมากที่สุด คือ เดือนมีนาคม 2554 จำนวน 49 ชิ้น มูลค่า 475.30
บาท ซึ่งมีจำนวนมากที่สุด
หน่วยงานจึงได้นำมาวิเคราะห์ว่าหน่วยงานใดที่มีการส่งเครื่อง Re-sterile มากที่สุด พบว่า
ที่
|
หน่วยงาน/เดือน
|
ม.ค.-54
|
ก.พ.54
|
มี.ค.-54
|
เม.ย.-54
|
พ.ค.-54
|
มิ.ย.-54
|
ก.ค.-54
|
ส.ค.-54
|
ก.ย.-54
|
รวม
|
1
|
LR
|
5
|
8
|
4
|
|
3
|
1
|
3
|
7
|
7
|
38
|
2
|
OR
|
5
|
5
|
6
|
3
|
3
|
7
|
4
|
3
|
5
|
41
|
3
|
WARD 1
|
1
|
7
|
12
|
|
|
1
|
3
|
9
|
12
|
45
|
4
|
ER
|
1
|
1
|
1
|
|
|
|
|
|
|
3
|
5
|
WARD2
|
|
|
1
|
|
|
|
|
|
|
1
|
6
|
DENT
|
|
|
25
|
|
|
|
|
|
|
25
|
7
|
HEALT
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
0
|
8
|
OPD
|
|
|
|
|
|
1
|
3
|
1
|
|
5
|
รวม
|
12
|
21
|
49
|
3
|
6
|
10
|
13
|
20
|
24
|
158
|
จากข้อมูลจะพบว่าในช่วงเดือน มีนาคม
2554 มีจำนวนการส่ง Re-sterile
เครื่องมือมากที่สุด จำนวน 49รายการ และหน่วยงานที่มีการส่ง Re-sterile
เครื่องมือมากที่สุดคือ แผนกผู้ป่วยในชั้น 1 จำนวน 45 รายการ และ
ห้องผ่าตัด จำนวน 41 รายการ ห้องคลอด จำนวน 38 รายการ และเครื่องมือที่ส่ง Re-sterile
มากที่สุด
ตารางแสดง
จำนวนเครื่องมือที่หน่วยงานส่ง re-sterile มากที่สุดจากเดือนมกราคม –
กันยายน 2554
ที่
|
หน่วยงาน
|
Re-sterile มากที่สุด
|
จำนวน
|
1
|
ทันตกรรม
|
นมบน-ล่าง
|
14
|
หัวขัด
|
6
|
||
หัวพิเศษ
|
4
|
||
2
|
OR
|
Silk 3/0
|
5
|
SET TR
|
3
|
||
Set สวนปัสสาวะ
|
2
|
||
3
|
WARD
|
SET dressing
|
18
|
Set สวนปัสสาวะ
|
7
|
||
Set cut down
|
3
|
||
4
|
LR
|
Set flush เล็ก
|
7
|
Set ขูดมดลูก
|
5
|
||
Set สวนปัสสาวะ
|
2
|
จากข้อมูลหน่วยงานที่ส่งเครื่องมือ
Re-sterile
มากที่สุด คือ Set Dressing จากแผนกผู้ป่วยในชั้น
1 จำนวน 18 ครั้ง และ จากแผนกทันตกรรม จำนวน 14 ครั้ง และ set สวนปัสสาวะ 7 ครั้งจากแผนกผู้ป่วยในและ set flush เล็ก จำนวน 7
ครั้งจากห้องคลอด
จากการทบทวนข้อมูลและทะเบียนการเก็บข้อมูลของหน่วยงานพบว่ามีบางหน่วยงาน เช่น
ทันตกรรม,Ward ,OR และ LR เป็นต้น ที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด คือ
1.
หน่วยงานไม่ได้ Check ของที่ Exp. เนื่องจากอุปกรณ์ในวันที่ส่ง re-sterile
มีอุปกรณ์ที่ Exp. ก่อนหน้าแล้ว
2.
มีอุปกรณ์ Dead stock ในหน่วยงานจำนวนมาก
3.
เบิกของใช้เยอะเกินความจำเป็น เช่น แผนก OR ,set ออกหน่วยของทันตกรรม และแผนกผู้ป่วยใน
หน่วยงานจึงได้ดำเนินการแก้ไขเพื่อลดจำนวน
Re-sterile
ดังนี้
แนวทางการแก้ไขเพิ่มเติม
1.
ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ทราบถึงจำนวนอุปกรณ์ที่ส่ง
Re-sterile
เช่น ทันตกรรม Ward
OR และ LR
และให้หน่วยงานมีการทบทวนการลด re-sterile เครื่องมือ
โดยจัดทำเป็น CQI หน่วยงาน
2.
ประสานหน่วยงานให้มีการสำรวจเครื่องมือที่จะต้องมี
Stock
ไว้ใช้ในหน่วยงานทุกวัน
หากอุปกรณ์ใดที่หน่วยงานนานๆครั้งใช้หรือมีผู้มารับบริการนานครั้งไม่จำเป็นต้อง Stock
ของไว้หน่วยงาน
หากต้องการใช้ให้ประสานกับงานจ่ายกลางเพื่อขอเบิก SET เครื่องมือดังกล่าวได้ทันที
3.
ร่วมกับคณะกรรมการ IC เพื่อให้หน่วยงานปฏิบัติตามหลัก FI/FO อย่างเคร่งครัด
4.
ยกเลิกการ Stock อุปกรณ์ปราศจากเชื้อที่ห้องผ่าตัดทุกชนิด
หากมีผู้ป่วยที่ทำหัตถการให้ห้องผ่าตัดประสานกับจ่ายกลางเพื่อเตรียมอุปกรณ์ให้ต่อวัน
4.1.3 การพัฒนาศักยภาพบุคลากร
มีการกำหนดสมรรถนะหลักของบุคลากร
สอดคล้องกับโรงพยาบาลกำหนดสมรรถนะเชิงวิชาชีพ
และคุณลักษณะของบุคลากรหน่วยงานจ่ายกลางที่สอดคล้องกับความเสี่ยงสำคัญในหน่วยงาน
พัฒนาศักยภาพบุคลากรโดยใช้กระบวนการประชุมปรึกษา การทบทวนความรู้
การจัดบุคลากรเข้ารับการอบรมเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาล
มีการจัดให้มีการศึกษาดูงานภายนอกโรงพยาบาล จัดให้บุคลากรลาอบรม ICWN หลักสูตร 2 สัปดาห์และ ICN 4เดือน
ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมามีการจัดอบรมทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาล
ได้แก่ การอบรมผู้ช่วยเหลือคนไข้ (เจ้าหน้าที่งานจ่ายกลาง)และเจ้าหน้าที่ทุก
ร.พ.ส.ต.ภานใน Cup
ในเรื่องการจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ อบรมเกี่ยวกับIC การล้างมือ การสวมเครื่องป้องกันร่างกาย หลัก UP และเข้าร่วมอบรมเกี่ยวกับการซ้อมแผนอัคคีภัย
การอบรมฟื้นคืนชีพ ปี 2553 ,2554 และ 2555
4.2
การพัฒนาคุณภาพระหว่างดำเนินการ
1. พัฒนาระบบการเตรียมเครื่องมือ /
อุปกรณ์ทางการแพทย์ให้ถูกต้อง เพียงพอ โดยจัดทำคู่มือ และชุดเครื่องมือ
พร้อมทั้งภาพประกอบเพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้รับทราบชนิดของเครื่องมือ
และจัดเตรียมได้ถูกต้อง ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ คือ
ความผิดพลาดต่างๆจากการจัดชุดอุปกรณ์เครื่องมือลดน้อยลง
2. ลดจำนวน Re-Sterile ของอุปกรณ์ เครื่องมือทางการแพทย์
โดยมีวิธีการสำรวจข้อมูลชุดเครื่องมือที่ re sterile บ่อย
ตรวจสอบปริมาณการใช้ มีการปรับเปลี่ยนวัสดุในการหีบห่อ ตามมาตรการที่กำหนด
ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ คือ หน่วยงานจ่ายกลางสามารถลดอุบัติการณ์การ re-sterile
ได้ตามเป้าหมาย
5. แผนการพัฒนาต่อเนื่อง
กิจกรรมพัฒนาต่อเนื่อง
|
วัตถุประสงค์
|
ระยะเวลา
|
ผู้รับผิดชอบ
|
-
การสร้างนวตกรรม
|
-
เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงาน สร้างสรรค์ผลงาน
ลดต้นทุน
ลดค่าใช้จ่าย
|
-ปีงบประมาณ
2555
|
-ในหน่วยงาน
-เจ้าหน้าที่ทุกคนในหน่วยงาน
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น