หน่วยงาน งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลภูกระดึง
ความมุ่งหมายของหน่วยงาน
( Purpose )
เป็นหน่วยงานที่ให้บริการ ส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพบำบัด
ทั้งในโรงพยาบาลและในชุมชน ตามมาตรฐานวิชาชีพ
อย่างปลอดภัย และพึงพอใจ
ปรัชญา / ค่านิยม / อุดมการณ์ร่วม
ให้บริการผู้ป่วยโดยเคารพศักดิ์ศรีและสิทธิผู้ป่วย ให้เกียรติซึ่งกันและกัน สามัคคีมีน้ำใจ ช่วยเหลือกัน มีการประสานงานที่ดี มุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถและและเต็มใจแก้ไขข้อบกพร่องของตนเอง เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ขอบเขตการจัดบริการ
เป็นหน่วยงานที่ให้บริการผู้ป่วยทางด้านระบบกระดูก กล้ามเนื้อ
ระบบหายใจและทรวงอก ระบบประสาทโดยมีขอบเขตบริการ ดังนี้
1. งานรักษาให้บริการแก่ผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน
2. งานส่งเสริมและป้องกัน ได้แก่ สอนออกกำลังกายสตรีหลังคลอด กระตุ้นพัฒนาการ และออกกำลังกายผู้ป่วย Ashma and COPD
3. ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ ทางกายและการเคลื่อนไหว ทางสายตา (เป็นศูนย์ของจังหวัดเลย)
4. บริการยืม – คืน และรับบริจาคกายอุปกรณ์
ในธนาคารอุปกรณ์เครื่องช่วย
5. ร่วมประเมินและออกเอกสารรับรองความพิการ
ส่งต่อนักสังคมสงเคราะห์เพื่อให้คำปรึกษาด้านการศึกษา
6. ให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพในชุมชน
( Home Health
Care)
สรุปภาวะที่ต้องการกายภาพบำบัด
ภาวะที่ปรากฏในเอกสารนี้
เป็นภาวะที่มักส่งทำกายภาพบำบัด แต่มิใช่จำเป็นต้องทุกราย หรืออาจมีภาวะอื่นที่จำเป็นที่ต้องส่งก็ได้
กรุณาติดเอกสารนี้ไว้ที่โต๊ะตรวจของแพทย์ หรือเคาน์เตอร์วอร์ด
ภาวะทางออร์โธปิดิกส์
1.
กลุ่มอาการปวด
ปวดหลัง
|
Spondylosis, spondylolysis, spondylolisthesis, herniated nucleus
pulposus, stenosis
|
ปวดคอ
|
เช่นเดียวกับปวดหลัง เพิ่ม
Thoracic outlet syndrome, Vertebrobasilar insufficiency, headache vertebral
origin
|
ปวดไหล่
|
Frozen shoulder, supraspinatus tendinitis, subacromial bursitis,
biceps tendinitis
|
ปวดศอก แขน
มือ
|
Tennis/Golf elbow, carpal tunnel syndrome, DeQuervain, elbow/ wrist/
thumb sprain
|
ปวดเข่า
|
Osteoarthritis, rheumatoid arthritis, Sprain of collateral ligament,
bursitis, patellar tendinitis, patellofemoral joint pain (chondromalacia
patellae) , muscle contusion
|
ปวดขา ข้อเท้า
เท้า
|
Shin splint, ankle sprain, plantar fasciitis, Achilles tendinitis
|
2. กลุ่มกระดูกหักและข้อเคลื่อน
ทุกประเภท ทั้งภายหลังจากใส่เฝือกทันที (
immediate post-immobilization with cast ) และภายหลังผ่าตัด
( post-operative ) และภายหลังจากเอาเฝือกออก หรือกระดูกติดการผ่าตัดเปลี่ยนข้อ
( joint replacement )
ภาวะทางระบบประสาท
อัมพาตครึ่งท่อน/ทั้งตัว
|
Spinal cord injury, ภาวะที่ทำอันตรายต่อ spinal
cord เช่น วัณโรค, ตัวจี๊ด
|
อัมพาตครึ่งซีก
|
Cerebrovascular accident (CVA), haed injury
|
อัมพาตของเส้นประสาท
|
Nerve injury, peripheral neuropathy เช่น facial
palsy, Guillain Berre, leprosy
|
ความผิดปกติทางการเคลื่อนไหว
|
Parkinsonism, cerbellar syndrome
|
Myoneural
junction disorders
|
Myasthenia grevis
|
ภาวะทางระบบหายใจ
หัวใจ และหลอดเลือด
Pulmonary
infection
|
Pneumonia, lung abcess, pulmonary TB, infected bronchiectasis
|
Chronic
obstructive pulmonary
|
Chronic bronchitis, pulmonary emphysema, bronchial asthma
|
Restrictive
pulmonary diseases
|
Pleuritis, pleural effusion, empyema thoracis, pulmonary fibrosis,
pneumothorax, hemothorax
|
Occupational
lung diseases
|
Sarcoidosis, asbestosis, silicosis
|
Pre-post
operative conditions
|
Cardiovascular surgery, thoracic surgery, abdominal surgery
|
Rehabilitation
|
Cardiac rehabilitation, pulmonary rehabilitation
|
ผู้ป่วย ICU ที่มี lung
complication, neurological condition, musculoskeletal complication
ผู้ป่วยเด็ก ได้แก่ ภาวะ cerebral
palsy, Down’s syndrome, Muscular dystrophy (Duchene ect.)
ผู้ป่วยสูงอายุ ได้แก่ ภาวะต่างๆที่พบ
ทั้งทางระบบประสาท กระดูกและข้อ กายหายใจ หัวใจและหลอดเลือด
ภาวะอื่นๆ ได้แก่
diabetes melletus, pressure sore, injuries form work, obstetrics and
gynecoloic, burn เป็นต้น
จำนวนผู้รับบริการแผนกกายภาพบำบัด
|
||||
กลุ่มโรค
|
ปี 2555
|
ปี 2556
|
ปี2557
|
|
กลุ่ม Musculoskeletal conditon
|
955
|
1,391
|
1167
|
|
กลุ่ม Neurological conditon
|
590
|
935
|
590
|
|
กลุ่ม Cariopulmonary conditon
|
44
|
846
|
224
|
|
กลุ่ม Miscellaneous systen
|
311
|
448
|
390
|
โรงพยาบาลภูกระดึง อำเภอภูกระดึง
จังหวัดเลย
ระยะเวลาดำเนินงาน เดือนตุลาคม 2556
– กันยายน 2557
สถานที่ปฏิบัติงาน โรงพยาบาลภูกระดึง อำเภอภูกระดึง
กิจกรรมที่ดำเนินงาน
การให้บริการทางกายภาพบำบัดผู้รับบริการ
ณ โรงพยาบาลภูกระดึง
สามารถจำแนกโรคตามระบบต่างๆได้ดังนี้
(จากมากไปน้อย)
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
5 อันดับแรก
1. muscle strain
2. low back pain
3. myalgia
4. OA Knee
5. myofascial pain syndrome
ระบบประสาท
5 อันดับแรก
1. CVA
2. muscle weakness
3. cord lesion
4. bell’s palsy
5. head injury
ระบบทางเดินหายใจและทรวงอก
5 อันดับแรก
1. pneumonia
2. acute bronchitis
3. COPD
4. asthma
5. TB
สรุปการดำเนินงาน
1. การให้บริการทางกายภาพบำบัดที่มารับบริการ
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
จากการสังเกต การตรวจร่างกาย การนัดผู้ป่วยมาประเมินในช่วง
3 วันแรกของการรักษา พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการดีขึ้น ลดอาการเจ็บป่วย
สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างเต็มที่ และสามารถออกกำลังกายตามโปรแกรมการรักษาที่ให้ไปได้อย่างถูกต้อง
รวมถึงมีการดูแลตนเองไม่ให้กลับไปเจ็บป่วยซ้ำอีก
ระบบประสาท
พบว่าการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันของผู้ป่วย พบว่า ผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
สามารถช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันได้ดี ลดภาระของครอบครัว รวมถึง ยอมรับและเอาใจใส่กับการฝึกทางกายภาพบำบัดได้เป็นอย่างดี
ระบบทางเดินหายใจและทรวงอก
พบว่าจากการประเมินสภาพของผู้ป่วยที่ได้ทำการรักษาโรคทางระบบทรวงอกนั้น พบว่า ผู้ป่วยลดภาวะแทรกซ้อนในระบบทางเดินหายใจ
สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัดได้อย่างถูกต้อง และมีการเคลื่อนไหวที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในรายที่ต้องนอนนานๆ
และไม่มีการเคลื่อนไหวเลย ซึ่งจะมีผลกระทบต่อระบบกล้ามเนื้อและกระดูกต่อไป
2. การให้บริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
สตรีหลังคลอด
พบว่า จากการที่มีการพาสตรีหลังคลอดออกกำลังกายเป็นกลุ่มในช่วงเช้าของทุกวันนั้น
ทำให้สตรีหลังคลอดมีสุขภาพแข็งแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว ลดภาวะเจ็บป่วยต่างๆ และลดการติดเชื้อของแผลได้ดี
อีกทั้งยังมีความเข้าใจและรู้ถึงประโยชน์ของการออกกำลังกายหลังคลอด และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่อง
ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดีต่อผู้ป่วยโดยตรง
การออกกำลังกายในผู้ป่วย
COPD - Ashma จากการปฏิบัติจริงในการออกกำลังกายนั้น พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการออกกำลังกาย
สามารถเรียนรู้ถึงการเคลื่อนไหวที่ถูกต้องและเหมาะสมสภาพของตนเองได้ดี และยังส่งผลถึงความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
และยังเป็นการทำความรู้จักกัน ซึ่งโดยรวมแล้วผู้ป่วย มีความสนุกสนาน และเพลิดเพลิน
กับการออกกำลังกายมาก เพราะเป็นการออกกำลังกายที่ไม่เหนื่อยเกินไป
อีกทั้งยังสามารถนำหลักการและวีธีการออกกำลังกายไปใช้ได้อย่างถูกต้องและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป
3. การให้บริการในชุมชน
ประเมินผลการดำเนินงานได้โดยจากการซักประวัติ
การตรวจร่างกายด้านการเคลื่อนไหว และการตรวจประเมินทางกายภาพบำบัด ร่วมกับมีการสังเกต
พบว่า ผู้พิการส่วนใหญ่มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ยอมรับสภาพความพิการ เข้าใจและเอาใจใส่ต่อการฝึกทางกายภาพบำบัดมากขึ้น
รวมถึงการเข้าสังคมของผู้ป่วยก็เป็นไปอย่างปกติ แต่จะมีในรายของผู้พิการที่ไม่ยอมรับการรักษาทางกายภาพบำบัด
และไม่มีกำลังใจที่จะฝึก ซึ่งทำให้การรักษายังทำได้ไม่เต็มที่นัก ก็จะมีการปรับเปลี่ยนแนวทางการฝึกให้แก่ผู้ป่วยแต่ละรายตามความเหมาะสมต่อไป และสำหรับเด็กสมองพิการนั้น พบว่า
มีสภาพการเคลื่อนไหวทางร่างกายที่ไม่แตกต่างจากเดิมมากนัก แต่ก็ได้รับการดูแลจากนักกายภาพบำบัด
และญาติเป็นอย่างดี ทำให้เด็กลดภาวะแทรกซ้อนลงไปได้ เช่น แผล bed sore หรือ ปอดติดเชื้อ และจากการซักถามพูดคุยกับผู้ปกครองของเด็ก พบว่า เด็กมีกำลังใจและสนุกกับการฝึกทางกายภาพบำบัดพอสมควร
สรุปการพัฒนาคุณภาพของฝ่าย/งานกายภาพบำบัด.
ปัญหา/โรค/เหตุการณ์
|
การปรับปรุง/การพัฒนา
|
1. ความปลอดภัย
|
|
1.1
เกิดผลแทรกซ้อนหรือบาดเจ็บจากการให้บริการทางกายภาพบำบัด
|
- ทบทวนแนวทางการป้องกันการเกิดอุบัติการณ์
|
1.2
เครื่องมือและอุปกรณ์ในการรักษาทางกายภาพบำบัดไม่พร้อมใช้/ไม่เพียงพอ
|
-
จัดทำตารางการตรวจสอบความพร้อมใช้ของเครื่องมือและอุปกรณ์
-
จัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบตรวจสอบความพร้อมใช้ของเครื่องมือและอุปกรณ์ในฝ่ายงาน
-
พัฒนาทักษะการดูแลซ่อมแซมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่สามารถดูแลเองได้โดยหน่วยงาน
-
จัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็น
|
1.3
อุปกรณ์เครื่องช่วยไม่พร้อมใช้/ไม่เพียงพอ
|
-
จัดทำตารางการตรวจสอบความพร้อมใช้ของเครื่องมือและอุปกรณ์
-
จัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบตรวจสอบความพร้อมใช้ของเครื่องมือและอุปกรณ์ในฝ่ายงาน
-
พัฒนาทักษะการดูแลซ่อมแซมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่สามารถดูแลเองได้โดยหน่วยงาน
-
จัดหาอุปกรณ์เครื่องช่วยที่จำเป็น
|
2.
มาตรฐานวิชาชีพ
|
|
2.1 ผลการรักษาไม่เป็นไปตามแผนการรักษา
|
- จัดอบรมวิชาการเจ้าหน้าที่ 1 ครั้ง / เดือน
- ส่งเจ้าหน้าที่เข้ารับการอบรมวิชาการ 2 ครั้ง
/ คน / ปี
-
จัดทำ Clinical Practice Guideline
- ส่งปรึกษาแพทย์ในรายที่ผลการรักษาไม่เป็นไปตามแผน
|
2.2 ไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้
|
- จัดอบรมวิชาการเจ้าหน้าที่ 1 ครั้ง / เดือน
- ส่งเจ้าหน้าที่เข้ารับการ อบรมวิชาการ 2
ครั้ง / คน / ปี
-
จัดทำ Clinical Practice Guideline
- ส่งปรึกษาแพทย์ในรายที่ผลการรักษาไม่เป็นไปตามแผน
|
2.3
ผู้ป่วยติดตามเยี่ยมบ้านเกิดภาวะเทรกซ้อนที่ป้องกันได้
|
-
ทบทวนแนวทางการป้องกันการเกิดอุบัติการณ์
|
2.4
ไม่มีแนวทางการฟื้นฟูและการประเมินสมรรถภาพผู้ป่วย
|
-
จัดทำแบบประเมินการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย
-
ประเมินการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยทุก 9 สัปดาห์
-
ทบทวนการใช้แบบประเมินการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย
|
3.
ความพึงพอใจ
|
-
จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจแผนกกายภาพบำบัด
-
สุ่มประเมินความพึงพอใจผู้รับบริการรายใหม่ของหน่วยงานทุกวัน
-
สรุปการประเมินความพึงพอใจทุก 3 เดือน
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น