วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

การป้องกันการเกิด neonatal sepsis

1.ชื่อผลงาน/โครงการพัฒนา
                การป้องกันการเกิด neonatal sepsis

2.คำสำคัญ
                การติดเชื้อในทารกแรกเกิด (neonatal sepsis) เป็นการติดเชื้อที่ส่งผลกระทบหลายด้าน ซึ่งได้แก่ ทารกต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้น ความวิตกกังวลของญาติ สิ้นเปลืองงบประมาณของรัฐจากการรักษา



3.สรุปผลงานสำคัญโดยย่อ
                อัตราการติดเชื้อในทารกแรกเกิด (neonatal sepsis) 3 ปีย้อนหลัง
อัตราการติดเชื้อในทารกแรกเกิด ปี 2555  ร้อยละ  5.55  ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาที่ต้องจ่ายเพิ่ม 30,000 บาท ทารกต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้นรวมเป็น 60 วัน
อัตราการติดเชื้อในทารกแรกเกิด ปี 2556  ร้อยละ  6.20  ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาที่ต้องจ่ายเพิ่ม 35,000 บาท ทารกต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้นรวมเป็น 70 วัน
อัตราการติดเชื้อในทารกแรกเกิด  ปี 2557  ร้อยละ 6.13  ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาที่ต้องจ่ายเพิ่ม 32,500 บาท ทารกต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้นรวมเป็น 65 วัน

4.ชื่อและที่อยู่องค์กร
                งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล   โรงพยาบาลภูกระดึง   จังหวัดเลย

5.สมาชิกทีม
สุจิตตรา  จันสาวะดี  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ  พยาบาลป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล พร้อมด้วยคณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล

6.เป้าหมาย
                เพื่อลดอัตราการติดเชื้อในทารกแรกเกิดและผลกระทบที่เนื่องมาจากการเกิดการติดเชื้อในทารกแรกเกิด



7.ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ
                เนื่องด้วยโรงพยาบาลชุมชน จำเป็นต้องมีการบริการการคลอดปกติสำหรับผู้รับบริการและนำส่งมารดาที่มีภาวะเสี่ยงในการคลอดต่อที่โรงพยาบาลทั่วไปที่มีศักยภาพสูงกว่าเพื่อความปลอดภัยของผู้รับบริการ ในผู้รับบริการการคลอดทั่วไปที่โรงพยาบาลชุมชนสามารถให้บริการการคลอดได้ในแต่ละปี ประมาณ 200-300 ราย เพื่อความปลอดภัยของมารดาและทารก บุคลากรประจำหน่วยบริการจำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญพิเศษ การดูแลผู้ป่วยทุกระยะของการคลอดจำเป็นจะต้องยึดหลักปราศจากเชื้อที่เคร่งครัด เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อในทารกแรกเกิด จากระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา พบว่าการติดเชื้อในทารกแรกเกิด ยังค่อนข้างสูงและสิ้นเปลืองงบประมาณเป็นจำนวนมาก คณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อนาโรงพยาบาลได้มีการทบทวนแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการติดเชื้อในทารกแรกเกิดร่วมกับพยาบาลห้องคลอด และทบทวนกรณีผู้ป่วยร่วมกับแพทย์พบว่าทารกแรกเกิดบางรายจำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะเพื่อเป็นการป้องกัน(prophylactic) เนื่องมาจากหลายสาเหตุ ได้แก่ มารดา PROM ,Thick meconium ,BBA จึงทำให้อัตราการติดเชื้อในทารกแรกเกิดค่อนข้างสูง แต่ในมุมมองของคณะกรรมการป้องกันละควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลถึงอัตราการติดเชื้อของทารกแรกเกิดอาจจะสูงเนื่องมาจากเป็นการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อเป็นการป้องกันก็ตาม จำเป็นต้องมีการจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ตามแนวทางการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นของผู้รับบริการและความมั่นใจของผู้ปฏิบัติงานห้องคลอด และส่งผลต่อเนื่องเพื่อลดอัตราการติดเชื้อในทารกแรกเกิดต่อไป
 
8.การเปลี่ยนแปลง
                จากการทบทวนปัญหาดังกล่าวการเปลี่ยนแลงทางผลลัพธ์ยังไม่ชัดเจน แต่มีการเปลี่ยนแปลงในเชิงกระบวนการการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการแต่งกายที่ถูกต้องขณะทำคลอดของผู้ทำคลอดและผู้ช่วยทำคลอด ระยะเวลาการเปิด Set เครื่องมือคลอดรอไม่เกิน2 ชั่วโมง การทำความสะอาดห้องคลอดหลังมีการคลอดโยการเช็ดทำความสะอาดเตียงและห้องคลอดด้วยทำยาทำลายเชื้อ การตรวจสอบอุปกรณ์ปราศจากเชื้อก่อนการใช้งาน

9.การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง
                การวัดผลมีการวัดผลเชิงกระบวนการ โดยวัดจากการปฏิบัติและมีการนิเทศจากหัวหน้างานห้องคลอด และมีการวัดผลทางผลลัพธ์คือวัดจากอัตราการติดเชื้อในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาล
อัตราการติดเชื้อในทารกแรกเกิด ปี 2555  ร้อยละ  5.55  
อัตราการติดเชื้อในทารกแรกเกิด ปี 2556  ร้อยละ  6.20
อัตราการติดเชื้อในทารกแรกเกิด ปี 2557  ร้อยละ  6.13
10.บทเรียนที่ได้รับ
                การประเมินผลการปฏิบัติงานจะต้องมองหลายๆมุม การมองแค่ผลลัพธ์เพียงอย่างเดียวอาจไม่ทราบถึงสาเหตุของปัญหาอย่างแท้จริง เพราะอาจมีหลายๆปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลลัพธ์นั้นๆ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น