วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558

นวัตกรรมอุปกรณ์จับยึดคาสเสทสำหรับถ่ายภาพรังสี

1.        ชื่อผลงานการพัฒนาคุณภาพหรือการพัฒนาระบบงาน  :
นวัตกรรมอุปกรณ์จับยึดคาสเสทสำหรับถ่ายภาพรังสี

2.        คำสำคัญ :
 ถ่ายภาพรังสี Lateral C-Spine ในผู้ป่วยอุบัติเหตุและถ่ายภาพรังสี Chest Lateral Decubitus ไม่ได้มาตรฐาน

3.        สรุปผลงานโดยย่อ :
                       จากปัญหาที่เกิดจากการถ่ายภาพรังสี Lateral C-Spine,Skull Lateral Cross Tableในผู้ป่วยอุบัติเหตุและ Chest Lateral Decubitus ไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีที่จับยึดคาสเสททำให้ฟิล์มเอียงหรือล้มทำให้การถ่ายภาพรังสีไม่ได้มาตรฐานและบางครั้งต้องให้ญาติผู้ป่วยยืนจับคาสเสทไว้ขณะถ่ายภาพรังสีและญาติโดนแสงเอ็กซเรย์โดยไม่จำเป็น ทำให้การถ่ายภาพรังสีสะดวกรวดเร็วมีคุณภาพยิ่งขึ้นและไม่ต้องใช้ญาติผู้ป่วยถูกรังสีโดยไม่จำเป็น

อุปกรณ์จับยึดสำหรับฉายภาพรังสี


วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก

การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก
คำสำคัญ : ไข้เลือดออก ,Shock, การเสียชีวิต

ความสำคัญของปัญหา
                เนื่องจากการระบาดของไข้เลือดออกสูงขึ้นในเขตจังหวัดเลย  โดยเฉพาะในเขตอำเภอภูกระดึงมีผู้ป่วยไข้เลือดออกเข้ารับการรักษาเพิ่มสูงขึ้นกว่าทุกปีที่ผ่านมาและมีผู้ป่วยที่เสียชีวิตจำนวน 1 ราย  ดังนั้น  งานผู้ป่วยในจึงร่วมกับทีมสหวิชาชีพในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

สมาชิกทีม :  1. แพทย์ผู้รับผิดชอบงาน PCT
                    2. คณะอนุกรรมการตึกผู้ป่วยใน
                    3. ทีมควบคุมโรค  PCU
เป้าหมาย :  1. เพื่อหาแนวทางการดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
                  2. เพื่อป้องกันการเสียชีวิตด้วยไข้เลือดออก
                  3. เพื่อควบคุมโรคในชุมชนและลดการเพิ่มจำนวนของผู้ป่วยไข้เลือดออก
ปัญหาและสาเหตุ จากการประเมินการดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออกพบว่ามีการจัดในผู้ป่วยนอนตามเตียงที่ว่าง  ให้การดูแลเหมือนกับผู้ป่วยทั่วไป  โดยวัดสัญญาณชีพทุก 4  ชั่วโมง  ทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการเปลี่ยนแปลงได้รับการดูแลที่ล้าช้า  เสี่ยงต่อการเสียชีวิต



การพัฒนาระบบการลงข้อมูลการรับบริการทันตกรรมในรายงานทันตกรรมประจำวันให้สมบูรณ์


ชื่อผลงาน
การพัฒนาระบบการลงข้อมูลการรับบริการทันตกรรมในรายงานทันตกรรมประจำวันให้สมบูรณ์

คำสำคัญ                                                                                              
ข้อมูลการรับบริการทันตกรรม       รายงานทันตกรรมประจำวัน

 สรุปผลงานโดยย่อ
                การลงบันทึกข้อมูลการรับบริการทันตกรรมในรายงานทันตกรรมประจำวัน  เป็นการลงบันทึกการมารับบริการ  การรักษา  ป้องกัน  และฟื้นฟู ในคลินิกทันตกรรม  เพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลและหลักฐานการให้บริการทันตกรรมในสถานบริการ   และใช้เป็นข้อมูลในการสรุปและวิเคราะห์การมารับบริการ ตลอดจนความต้องการรับบริการทันตกรรมของประชาชน   เพื่อใช้วางแผนการปรับปรุงระบบการให้บริการให้มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ  สร้างการเข้าถึงบริการ และความพึงพอใจในการมารับบริการ               
           ฝ่ายทันตสาธารณสุข  โรงพยาบาลภูกระดึง  ได้ดำเนินการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการในการบันทึกข้อมูลการรับบริการทันตกรรมในรายงานทันตกรรมประจำวัน   โดยการทบทวนและตรวจสอบการลงบันทึกรายงานทันตกรรมประจำวันอย่างต่อเนื่อง       ในปี 2556 พบว่า มีความสมบูรณ์และถูกต้องของข้อมูลในรายงานทันตกรรมประจำวันเมื่อเปรียบเทียบจากแฟ้มประวัติการรับบริการ  เฉลี่ยร้อยละ 99.07   ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ดี  ส่งผลให้ ข้อมูลรายงานทันตกรรม มีความถูกต้อง สมบูรณ์และน่าเชื่อถือ    เพื่อเป็นกลไกในการสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการในคลินิกทันตกรรมอย่างต่อเนื่องต่อไป
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต


การพัฒนาปรังปรุงกั้นห้องแยกโรคแพร่เชื้อทางอากาศให้เป็นสัดส่วน


๑.       ชื่อผลงาน             การพัฒนาปรังปรุงกั้นห้องแยกโรคแพร่เชื้อทางอากาศให้เป็นสัดส่วน
๒.     คำสำคัญ
การพัฒนาปรับปรุง            หมายถึง  การแก้ไข ซ่อมแซม การขยายขอบเขต ต่อเติมหรือสร้างใหม่
ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นโดยสามารถกั้นหรือป้องกันการติดต่อและ
แพร่กระจายของเชื้อโรคสู่ผู้ป่วยรายอื่นและเจ้าหน้าที่ได้
ห้องแยกโรค                         หมายถึง ห้อง Nagative Pressure ที่สามารถควบคุมทิศทางการไหลของ
อากาศจากสะอาดมากไปสู่ที่สะอาดน้อยและมีการกรองอากาศ
ประสิทธิภาพและแยกผู้ป่วยที่เป็นโรคที่สามารถติดต่อทางอากาศได้ตาม
ระบาดวิทยา
๓.      สรุปผลงานโดยย่อ
จากการที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ขอนแก่น ได้เข้าตรวจเยี่ยมและประเมินความปลอดภัยด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมในการทำงานในโรงพยาบาล ได้ให้ข้อเสนอแนะการปรับปรุงของห้องแยกโรคซึ่งขณะนั้นโรงพยาบาลมีห้องแยกโรคที่สร้างตามแบบมาตรฐานเพียง ๑ ห้องซึ่งไม่เพียงพอในการรองรับผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อทางระบบหายใจที่มีในพื้นที่ได้แก่ ผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรควัณโรค โรคไข้หวัดนก โรคคอตีบ โรคซาร์ ดังนั้นเพื่อเป็นการดูแลผู้ป่วยที่ได้มาตรฐานและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจึงได้มีการปรับปรุงห้องพิเศษใกล้เคียงเพิ่มเติมอีก ๓ ห้องที่เป็นห้องพัดลม มีแสงแดดส่องถึงได้ง่ายและมีลมจากภายนอกอาคารไหลเวียนเข้ามาในห้องได้ดีพร้อมทั้งยังมีการติดตั้งพัดลมดูดอากาศที่มีความดันสูงเพื่อใช้ในการระบายอากาศที่ดี แต่เนื่องจากห้องนำมาปรับปรุงที่ใช้เป็นห้องแยกโรคยังไม่มีขอบเขตที่ชัดเจนและไม่เป็นสัดส่วน แบ่งแยกออกจากห้องพิเศษทั่วไป ทำให้มีผู้รับบริการห้องพิเศษที่เจ็บป่วยทั่วไปเกิดความไม่มั่นใจและไม่พึงพอใจ กลัวในการเข้ารับบริการที่อาจจะติดเชื้อจากผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้ เพราะไม่มีฉากกั้นหรือแยกออกจากพื้นที่ปกติที่ชัดเจน

การพัฒนาระบบให้บริการข้อมูลแบบ Scan Document


1.               ชื่อผลงาน       ระบบเวชระเบียน (Smart Document V1.57.7.1.)
2.               ชื่อหน่วยงาน  โรงพยาบาลภูกระดึง
3.                   เจ้าของผลงาน    โรงพยาบาลภูกระดึง   อำเภอภูกระดึง  จังหวัดเลย  โทร 042-871016-7  ต่อ  109  Email : phukraduenghospital@gmail.com
4.               ความเป็นมา / บทนำ
การบริการเวชระเบียน ซึ่งประกอบด้วย การค้นคืนแฟ้ม  การเก็บรักษา  การยืมเวชระเบียน มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นตามปริมาณการให้บริการของสถานพยาบาล ทั้งพบว่าความเสี่ยงที่เกิดจากการให้บริการเช่น ให้บริการเวชระเบียนไม่พบในระยะเวลาที่ประกันไว้  เวชระเบียนสูญหาย  เวชระเบียนหาไม่พบ  เวชระเบียนไม่กลับคืนห้องเก็บเวชระเบียน ความลับของผู้ป่วย/ผู้รับบริการถูกเปิดเผย  เป็นต้น   งานประกันสุขภาพ ยุทธศาสตร์และสารสนเทศทางการแพทย์จึงได้พัฒนาระบบการจัดเก็บและให้บริการเวชระเบียนแบบออนไลน์  เพื่อตอบสนองการให้บริการเวชระเบียนแก่ผู้ให้บริการและหน่วยงานในโรงพยาบาล อีกทั้งยังอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงเวชระเบียนพร้อมกันในหลายหน่วยงาน  ทั้งนี้สามารถลดระยะเวลาในการรอคอยเวชระเบียน  ลดความเสี่ยงด้านต่างๆของเวชระเบียน 





ปวดหรือไม่ หน้าตาคือคำตอบ

1.ชื่อผลงาน
            ปวดหรือไม่ หน้าตาคือคำตอบ
2.คำสำคัญ   
           เครื่องมือประเมินความปวด สำหรับผู้ป่วยที่มารับบริการในแผนกกายภาพบำบัด
3.สรุปผลงานโดยย่อ  
             
จากการมารับบริการทางกายภาพบำบัดของผู้ป่วยที่ผ่านมาพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มารับบริการทางกายภาพบำบัดมีปัญหาเรื่องระบบกระดูกและกล้ามเนื้อคิดเป็นร้อยละ 85 ของจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการทั้งหมด และสาเหตุที่นำให้ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลคือ ความเจ็บปวด  การให้บริการทางกายภาพบำบัดมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดที่ดีขึ้น  สามารถกลับไปทำกิจกรรมต่างๆ และใช้ชีวิตได้ตามปกติ  แต่ในระหว่างการรักษาแต่ละครั้งยังไม่มีตัวชี้วัดที่ชัดเจนว่าอาการของผู้ป่วยดีเพิ่มมากขึ้นหรือลดลง อย่างไร ไม่มีตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรมที่สามารถสร้างความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างผู้ป่วยและนักกายภาพได้  ไม่มีการบันทึกเป็นตัวเลขที่ชัดเจน จนทำให้ไม่สามารถประเมินได้ว่าการรักษาทางกายภาพบำบัดมีประสิทธิภาพหรือไม่  

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต


การพัฒนาระบบการเก็บเงินค่ารักษาพยาบาล


กิจกรรมพัฒนาคุณภาพต่อเนื่อง (CQI )
ชื่อผลงาน        การพัฒนาระบบการเก็บเงินค่ารักษาพยาบาลถูกต้องครบถ้วน
 
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
คำสำคัญ               ค่ารักษาพยาบาล  ถูกต้อง ครบถ้วน

สรุปผลงานโดยย่อ
จากเดิมการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ให้ห้องงยาเป็นผู้เรียกเก็บ
ค่ารักษาพยาบาล เป็นการเพิ่มภาระงานในจุดให้บริการดังกล่าว ซึ่งทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนใน              การเรียกเก็บเงินค่ารักษาพยาบาลได้ไม่ครบถ้วน และได้ปรับปรุงระบบการเรียกเก็บเงินใหม่ โดยจัดเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี ของกลุ่มงานการจัดการ ทำหน้าที่เรียกเก็บเงินค่ารักษาพยาบาล และให้ความรู้เกี่ยวกับการเก็บค่ารักษาพยาบาล ตลอดจนเก็บข้อมูลทางบัญชี การลงข้อมูลค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในและ   ผู้ป่วยนอก ส่ง สกส. ทุกวัน จัดหาโปรแกรมระบบทวงหนี้  เป็นการให้บริการที่ทำให้ผู้ป่วยมีความเพียงพอใจ  และพบว่างานการเงินและบัญชี มีข้อมูลรายการค่ารักษาพยาบาลครบถ้วน และไม่พบขอร้องเรียนเกี่ยวกับการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต













การตรวจสุภาพประจำปีบุคลากร


1.ชื่อผลงาน/โครงการพัฒนา
                การตรวจสุภาพประจำปีบุคลากรในโรงพยาบาลภูกระดึง


2.คำสำคัญ
                บุคลากรในโรงพยาบาล ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากผู้รับบริการ การแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้รับบริการ สุขภาพประจำปี ภาวะสุขภาพ บุคลากรกลุ่มเสี่ยง
               
3.สรุปผลงานสำคัญโดยย่อ
จำนวนเจ้าหน้าที่ทั้งหมด  124 คน
จำนวนเจ้าหน้าที่ ที่รับการตรวจสุขภาพประจำปี  115  คน  คิดเป็นร้อยละ  92.74
จำนวนเจ้าหน้าที่ ที่ไม่รับการตรวจสุขภาพประจำปี  คน
ผลการตรวจสุขภาพ
รายการ
จำนวนที่ตรวจ(คน)
ผลการตรวจ(คน)
BMI  มากว่าหรือเท่ากับ  25
115
32
เพศหญิงรอบเอวเกิน 80 cms.
56
18
เพศชายรอบเอวเกิน 90 cms.
36
8
ความดันโลหิตสูงกว่าหรือเท่ากับ 140/90 mmHg
115
2
Hct น้อยกว่า 33 %
115
2
WBC น้อยกว่า 5,000 ( CBC)
115
19
ยังไม่มีภูมิคุ้มกัน Hep B (HBsAgและAntiHBs negative)
110
44
มีภูมิคุ้มกัน Hep B  (HBsAg  negativeและAntiHBs positive)
110
54
Hep B carrier (HBsAg positiveและAntiHBs negative)
110
12
FBS มากกว่า 100 mg%
94
15
Cr มากกว่า 1.7
94
2
Uric acid มากกว่า 7.2
94
4
Choresterlol มากกว่าหรือเท่ากับ 200
91
71
Triglyceride  มากกว่าหรือเท่ากับ 200
91
6
AST มากกว่า 40
94
5
ALT มากกว่า 35
94
14
ALP มากกว่า 130
94
1



การลดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับ

1. ชื่อผลงาน

การลดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับ
 
2. คำสำคัญ
ภาวะผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีเกินความจำเป็น

3. สรุปผลงานโดยย่อ
จากปัญหาการใช้ปริมาณรังสีมากเกินความจำเป็น สามารถลดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับลดลง

4. ชื่อทีมและที่อยู่
งานรังสีวินิจฉัย กลุ่มงานรังสิวิทยา   โรงพยาบาลภูกระดึง   จังหวัดเลย



การเฝ้าระวังและค้นหาโรคหัวใจขาดเลือดในผู้ป่วยที่มาด้วยอาการไม่ชัดเจน(จุกแน่นลิ้นปี่ เจ็บแน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่ม)

กิจกรรมพัฒนาคุณภาพต่อเนื่อง

ชื่อผลงาน
การเฝ้าระวังและค้นหาโรคหัวใจขาดเลือดในผู้ป่วยที่มาด้วยอาการไม่ชัดเจน(จุกแน่นลิ้นปี่ เจ็บแน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่ม)
.คำสำคัญ                                                                                             
Acute myocardial infarction/ จุกแน่นลิ้นปี่ เจ็บแน่นหน้าอก  หายใจไม่อิ่ม /Warning signs
สรุปผลงานโดยย่อ

               การพัฒนาประสิทธิภาพในการประเมินคัดกรองและวินิจฉัยโรคAMIทำให้ส่งผู้ป่วยไปรับการรักษาได้ในเวลาที่รวดเร็วและเหมาะสม แต่ในปัจจุบันโรงพยาบาลพบปัญหาการคัดกรองผู้ป่วยที่มาด้วยอาการแน่นหน้าอก จุกแน่นลิ้นปี่หรือหายใจไม่อิ่มได้รับการประเมินคัดกรองช้าทำให้เกิดความล่าช้าในการให้การพยาบาลเบื้องต้นและการส่งต่อไปโรงพยาบาลที่มีศักยภาพมากกว่า จึงมีการพัฒนาระบบการดูแลกลุ่มโรคนี้ขึ้น ผลการพัฒนาพบว่าเกิดกระบวนการที่เป็นระบบมากขึ้น โดยตัวชี้วัดในระดับกระบวนการอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ยังพบว่ามีผู้ป่วยเสียชีวิตในตึกผู้ป่วยใน



การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย MI

กิจกรรมพัฒนาคุณภาพต่อเนื่อง
1.ชื่อผลงาน
การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยMI

2.คำสำคัญ   
AMI (Acute myocardial infarction) /Warning signs

 3.สรุปผลงานโดยย่อ
การพัฒนาประสิทธิภาพในการประเมินคัดกรองและวินิจฉัยโรคAMIทำให้ส่งผู้ป่วยไปรับการรักษาได้ในเวลาที่รวดเร็วและเหมาะสม ในปี2555โรงพยาบาลมีปัญหาในการคัดกรองผู้ป่วยที่มาด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอกที่ตึกผู้ป่วยใน พบผู้ป่วยที่นอนในรพ.มีภาวะทรุดลงเข้าสู่ภาวะวิกฤติ sudden cardiac arrest1ราย ได้รับการส่งต่อและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ผลจากการทบทวนพบว่าผู้ป่วยไม่ได้รับการเฝ้าระวังที่ดีจึงได้มีการประชุมให้ความรู้ในเรื่องWarning singsและทบทวนแนวทางการดูแลของแพทย์ผลลัพธ์ยังพบผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะวิกฤติ1ราย ในปี2556พบว่าผู้ป่วยMIได้รับการวินิจฉัยล่าช้าจากการอ่านผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจช้า/การตัดสินใจของแพทย์ ความผิดพลาดในการแปลผลและความครบถ้วนของข้อมูล ทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น AMI ได้รับยาละลายลิ่มเลือด(Streptokinase)ช้าและระยะการให้ยายังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดแต่มีแนวโน้มที่เร็วขึ้นเฉลี่ย 47นาที

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต


คลินิกผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์


1.     ชื่อผลงาน/โครงการพัฒนา
                คลินิกผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ (ARV clinic)โรงพยาบาลภูกระดึง

2.      คำสำคัญ  
                 การดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์, ยาต้านไวรัส

3.     สรุปผลงานโดยย่อ
-          สหวิชาชีพมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อเอช ไอ วี
-          มีการจัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วย
-          ผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ  95 (เป้าหมาย ร้อยละ 70)
-          ผู้ป่วยให้ความร่วมมือการรับประทานยา (Adherence =100 %) เป็นจำนวน ร้อยละ 90 (เป้าหมาย ร้อยละ 90)
-          ไม่พบความผิดพลาดในการจ่ายยาให้กับผู้ป่วย (Dispensing Error) เป้าหมายไม่เกิน 1 ครั้งต่อ 100 ใบสั่งยา