วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558

นวัตกรรมอุปกรณ์จับยึดคาสเสทสำหรับถ่ายภาพรังสี

1.        ชื่อผลงานการพัฒนาคุณภาพหรือการพัฒนาระบบงาน  :
นวัตกรรมอุปกรณ์จับยึดคาสเสทสำหรับถ่ายภาพรังสี

2.        คำสำคัญ :
 ถ่ายภาพรังสี Lateral C-Spine ในผู้ป่วยอุบัติเหตุและถ่ายภาพรังสี Chest Lateral Decubitus ไม่ได้มาตรฐาน

3.        สรุปผลงานโดยย่อ :
                       จากปัญหาที่เกิดจากการถ่ายภาพรังสี Lateral C-Spine,Skull Lateral Cross Tableในผู้ป่วยอุบัติเหตุและ Chest Lateral Decubitus ไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีที่จับยึดคาสเสททำให้ฟิล์มเอียงหรือล้มทำให้การถ่ายภาพรังสีไม่ได้มาตรฐานและบางครั้งต้องให้ญาติผู้ป่วยยืนจับคาสเสทไว้ขณะถ่ายภาพรังสีและญาติโดนแสงเอ็กซเรย์โดยไม่จำเป็น ทำให้การถ่ายภาพรังสีสะดวกรวดเร็วมีคุณภาพยิ่งขึ้นและไม่ต้องใช้ญาติผู้ป่วยถูกรังสีโดยไม่จำเป็น

อุปกรณ์จับยึดสำหรับฉายภาพรังสี


วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก

การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก
คำสำคัญ : ไข้เลือดออก ,Shock, การเสียชีวิต

ความสำคัญของปัญหา
                เนื่องจากการระบาดของไข้เลือดออกสูงขึ้นในเขตจังหวัดเลย  โดยเฉพาะในเขตอำเภอภูกระดึงมีผู้ป่วยไข้เลือดออกเข้ารับการรักษาเพิ่มสูงขึ้นกว่าทุกปีที่ผ่านมาและมีผู้ป่วยที่เสียชีวิตจำนวน 1 ราย  ดังนั้น  งานผู้ป่วยในจึงร่วมกับทีมสหวิชาชีพในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

สมาชิกทีม :  1. แพทย์ผู้รับผิดชอบงาน PCT
                    2. คณะอนุกรรมการตึกผู้ป่วยใน
                    3. ทีมควบคุมโรค  PCU
เป้าหมาย :  1. เพื่อหาแนวทางการดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
                  2. เพื่อป้องกันการเสียชีวิตด้วยไข้เลือดออก
                  3. เพื่อควบคุมโรคในชุมชนและลดการเพิ่มจำนวนของผู้ป่วยไข้เลือดออก
ปัญหาและสาเหตุ จากการประเมินการดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออกพบว่ามีการจัดในผู้ป่วยนอนตามเตียงที่ว่าง  ให้การดูแลเหมือนกับผู้ป่วยทั่วไป  โดยวัดสัญญาณชีพทุก 4  ชั่วโมง  ทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการเปลี่ยนแปลงได้รับการดูแลที่ล้าช้า  เสี่ยงต่อการเสียชีวิต



การพัฒนาระบบการลงข้อมูลการรับบริการทันตกรรมในรายงานทันตกรรมประจำวันให้สมบูรณ์


ชื่อผลงาน
การพัฒนาระบบการลงข้อมูลการรับบริการทันตกรรมในรายงานทันตกรรมประจำวันให้สมบูรณ์

คำสำคัญ                                                                                              
ข้อมูลการรับบริการทันตกรรม       รายงานทันตกรรมประจำวัน

 สรุปผลงานโดยย่อ
                การลงบันทึกข้อมูลการรับบริการทันตกรรมในรายงานทันตกรรมประจำวัน  เป็นการลงบันทึกการมารับบริการ  การรักษา  ป้องกัน  และฟื้นฟู ในคลินิกทันตกรรม  เพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลและหลักฐานการให้บริการทันตกรรมในสถานบริการ   และใช้เป็นข้อมูลในการสรุปและวิเคราะห์การมารับบริการ ตลอดจนความต้องการรับบริการทันตกรรมของประชาชน   เพื่อใช้วางแผนการปรับปรุงระบบการให้บริการให้มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ  สร้างการเข้าถึงบริการ และความพึงพอใจในการมารับบริการ               
           ฝ่ายทันตสาธารณสุข  โรงพยาบาลภูกระดึง  ได้ดำเนินการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการในการบันทึกข้อมูลการรับบริการทันตกรรมในรายงานทันตกรรมประจำวัน   โดยการทบทวนและตรวจสอบการลงบันทึกรายงานทันตกรรมประจำวันอย่างต่อเนื่อง       ในปี 2556 พบว่า มีความสมบูรณ์และถูกต้องของข้อมูลในรายงานทันตกรรมประจำวันเมื่อเปรียบเทียบจากแฟ้มประวัติการรับบริการ  เฉลี่ยร้อยละ 99.07   ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ดี  ส่งผลให้ ข้อมูลรายงานทันตกรรม มีความถูกต้อง สมบูรณ์และน่าเชื่อถือ    เพื่อเป็นกลไกในการสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการในคลินิกทันตกรรมอย่างต่อเนื่องต่อไป
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต


การพัฒนาปรังปรุงกั้นห้องแยกโรคแพร่เชื้อทางอากาศให้เป็นสัดส่วน


๑.       ชื่อผลงาน             การพัฒนาปรังปรุงกั้นห้องแยกโรคแพร่เชื้อทางอากาศให้เป็นสัดส่วน
๒.     คำสำคัญ
การพัฒนาปรับปรุง            หมายถึง  การแก้ไข ซ่อมแซม การขยายขอบเขต ต่อเติมหรือสร้างใหม่
ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นโดยสามารถกั้นหรือป้องกันการติดต่อและ
แพร่กระจายของเชื้อโรคสู่ผู้ป่วยรายอื่นและเจ้าหน้าที่ได้
ห้องแยกโรค                         หมายถึง ห้อง Nagative Pressure ที่สามารถควบคุมทิศทางการไหลของ
อากาศจากสะอาดมากไปสู่ที่สะอาดน้อยและมีการกรองอากาศ
ประสิทธิภาพและแยกผู้ป่วยที่เป็นโรคที่สามารถติดต่อทางอากาศได้ตาม
ระบาดวิทยา
๓.      สรุปผลงานโดยย่อ
จากการที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ขอนแก่น ได้เข้าตรวจเยี่ยมและประเมินความปลอดภัยด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมในการทำงานในโรงพยาบาล ได้ให้ข้อเสนอแนะการปรับปรุงของห้องแยกโรคซึ่งขณะนั้นโรงพยาบาลมีห้องแยกโรคที่สร้างตามแบบมาตรฐานเพียง ๑ ห้องซึ่งไม่เพียงพอในการรองรับผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อทางระบบหายใจที่มีในพื้นที่ได้แก่ ผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรควัณโรค โรคไข้หวัดนก โรคคอตีบ โรคซาร์ ดังนั้นเพื่อเป็นการดูแลผู้ป่วยที่ได้มาตรฐานและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจึงได้มีการปรับปรุงห้องพิเศษใกล้เคียงเพิ่มเติมอีก ๓ ห้องที่เป็นห้องพัดลม มีแสงแดดส่องถึงได้ง่ายและมีลมจากภายนอกอาคารไหลเวียนเข้ามาในห้องได้ดีพร้อมทั้งยังมีการติดตั้งพัดลมดูดอากาศที่มีความดันสูงเพื่อใช้ในการระบายอากาศที่ดี แต่เนื่องจากห้องนำมาปรับปรุงที่ใช้เป็นห้องแยกโรคยังไม่มีขอบเขตที่ชัดเจนและไม่เป็นสัดส่วน แบ่งแยกออกจากห้องพิเศษทั่วไป ทำให้มีผู้รับบริการห้องพิเศษที่เจ็บป่วยทั่วไปเกิดความไม่มั่นใจและไม่พึงพอใจ กลัวในการเข้ารับบริการที่อาจจะติดเชื้อจากผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้ เพราะไม่มีฉากกั้นหรือแยกออกจากพื้นที่ปกติที่ชัดเจน

การพัฒนาระบบให้บริการข้อมูลแบบ Scan Document


1.               ชื่อผลงาน       ระบบเวชระเบียน (Smart Document V1.57.7.1.)
2.               ชื่อหน่วยงาน  โรงพยาบาลภูกระดึง
3.                   เจ้าของผลงาน    โรงพยาบาลภูกระดึง   อำเภอภูกระดึง  จังหวัดเลย  โทร 042-871016-7  ต่อ  109  Email : phukraduenghospital@gmail.com
4.               ความเป็นมา / บทนำ
การบริการเวชระเบียน ซึ่งประกอบด้วย การค้นคืนแฟ้ม  การเก็บรักษา  การยืมเวชระเบียน มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นตามปริมาณการให้บริการของสถานพยาบาล ทั้งพบว่าความเสี่ยงที่เกิดจากการให้บริการเช่น ให้บริการเวชระเบียนไม่พบในระยะเวลาที่ประกันไว้  เวชระเบียนสูญหาย  เวชระเบียนหาไม่พบ  เวชระเบียนไม่กลับคืนห้องเก็บเวชระเบียน ความลับของผู้ป่วย/ผู้รับบริการถูกเปิดเผย  เป็นต้น   งานประกันสุขภาพ ยุทธศาสตร์และสารสนเทศทางการแพทย์จึงได้พัฒนาระบบการจัดเก็บและให้บริการเวชระเบียนแบบออนไลน์  เพื่อตอบสนองการให้บริการเวชระเบียนแก่ผู้ให้บริการและหน่วยงานในโรงพยาบาล อีกทั้งยังอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงเวชระเบียนพร้อมกันในหลายหน่วยงาน  ทั้งนี้สามารถลดระยะเวลาในการรอคอยเวชระเบียน  ลดความเสี่ยงด้านต่างๆของเวชระเบียน 





ปวดหรือไม่ หน้าตาคือคำตอบ

1.ชื่อผลงาน
            ปวดหรือไม่ หน้าตาคือคำตอบ
2.คำสำคัญ   
           เครื่องมือประเมินความปวด สำหรับผู้ป่วยที่มารับบริการในแผนกกายภาพบำบัด
3.สรุปผลงานโดยย่อ  
             
จากการมารับบริการทางกายภาพบำบัดของผู้ป่วยที่ผ่านมาพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มารับบริการทางกายภาพบำบัดมีปัญหาเรื่องระบบกระดูกและกล้ามเนื้อคิดเป็นร้อยละ 85 ของจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการทั้งหมด และสาเหตุที่นำให้ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลคือ ความเจ็บปวด  การให้บริการทางกายภาพบำบัดมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดที่ดีขึ้น  สามารถกลับไปทำกิจกรรมต่างๆ และใช้ชีวิตได้ตามปกติ  แต่ในระหว่างการรักษาแต่ละครั้งยังไม่มีตัวชี้วัดที่ชัดเจนว่าอาการของผู้ป่วยดีเพิ่มมากขึ้นหรือลดลง อย่างไร ไม่มีตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรมที่สามารถสร้างความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างผู้ป่วยและนักกายภาพได้  ไม่มีการบันทึกเป็นตัวเลขที่ชัดเจน จนทำให้ไม่สามารถประเมินได้ว่าการรักษาทางกายภาพบำบัดมีประสิทธิภาพหรือไม่  

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต


การพัฒนาระบบการเก็บเงินค่ารักษาพยาบาล


กิจกรรมพัฒนาคุณภาพต่อเนื่อง (CQI )
ชื่อผลงาน        การพัฒนาระบบการเก็บเงินค่ารักษาพยาบาลถูกต้องครบถ้วน
 
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
คำสำคัญ               ค่ารักษาพยาบาล  ถูกต้อง ครบถ้วน

สรุปผลงานโดยย่อ
จากเดิมการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ให้ห้องงยาเป็นผู้เรียกเก็บ
ค่ารักษาพยาบาล เป็นการเพิ่มภาระงานในจุดให้บริการดังกล่าว ซึ่งทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนใน              การเรียกเก็บเงินค่ารักษาพยาบาลได้ไม่ครบถ้วน และได้ปรับปรุงระบบการเรียกเก็บเงินใหม่ โดยจัดเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี ของกลุ่มงานการจัดการ ทำหน้าที่เรียกเก็บเงินค่ารักษาพยาบาล และให้ความรู้เกี่ยวกับการเก็บค่ารักษาพยาบาล ตลอดจนเก็บข้อมูลทางบัญชี การลงข้อมูลค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในและ   ผู้ป่วยนอก ส่ง สกส. ทุกวัน จัดหาโปรแกรมระบบทวงหนี้  เป็นการให้บริการที่ทำให้ผู้ป่วยมีความเพียงพอใจ  และพบว่างานการเงินและบัญชี มีข้อมูลรายการค่ารักษาพยาบาลครบถ้วน และไม่พบขอร้องเรียนเกี่ยวกับการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต