วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

การพัฒนาระบบการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคและระบบงานที่สำคัญ


ผลงานเด่น : การพัฒนาระบบการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคและระบบงานที่สำคัญ

ชื่อผลงาน
การเฝ้าระวังและค้นหาโรคหัวใจขาดเลือดในผู้ป่วยที่มาด้วยอาการไม่ชัดเจน (จุกแน่นลิ้นปี่ เจ็บแน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่ม)

คำสำคัญ                                                       
AMI จุกแน่นลิ้นปี่ เจ็บแน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่ม

 สรุปผลงานโดยย่อ

            การพัฒนาประสิทธิภาพในการประเมินคัดกรองและวินิจฉัยโรค AMI ทำให้ส่งผู้ป่วยไปรับการรักษาได้ในเวลาที่รวดเร็วและเหมาะสม แต่ปัจจุบันโรงพยาบาลพบปัญหาการคัดกรองผู้ป่วยที่มาด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอก จุกแน่นลิ้นปี่หรือหายใจไม่อิ่ม ได้รับการประเมินคัดกรองช้า ทำให้เกิดความล่าช้าในการให้การพยาบาลเบื้องต้นและการส่งต่อไปโรงพยาบาลที่มีศักยภาพมากกว่า จึงมีการพัฒนาระบบการดูแลโรคกลุ่มนี้ขึ้น ผลการพัฒนาพบว่าเกิดประบวนการที่เป็นระบบมากขึ้น โดยตัวชี้วัดในระดับกระบวนการอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์อยู่ระหว่างการเฝ้าระวังติดตาม
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต















ชื่อและที่อยู่องค์กร
งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลภูกระดึง จังหวัดเลย                                                                    
สมาชิกทีม
เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกคน

เป้าหมาย
1. สร้างระบบประเมินคัดกรอง MI ในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกและอาการไม่ชัดเจนปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด
2. ผู้ป่วยที่มีอาการจุกแน่นลิ้นปี่เจ็บแน่นหน้าอกหายใจไม่อิ่มผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกและอาการไม่ชัดเจน ได้รับการเฝ้าระวังและค้นหาโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
3.  ลดผู้อุบัติการณ์ผู้ป่วยเสียชีวิตโดยไม่คาดในโรงพยาบาล

ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ
             
ในช่วงที่ผ่านมาแม้ว่าจะมีการวางระบบในการซักประวัติ คัดกรองเบื้องต้นก่อนรับการตรวจรักษาโดยแพทย์หรือการรับบริการแผนกอื่น ๆ ของโรงพยาบาล ได้แก่ การซักประวัติตามมาตรฐาน การตรวจวัดสัญญาณชีพในผู้มารับบริการทุกราย แต่ยังพบอุบัติการณ์ที่ผู้ป่วยมีการทรุดลง หรือเสียชีวิตขณะให้บริการซึ่งมีเหตี่เชื่อไว้ว่าน่าจะเกิดจากการคัดกรองเบื้องต้นที่ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น กรณีผู้ป่วยคนหนึ่งมาด้วยอาการเจ็บหน้าอกแต่ไม่ได้รับการทำ EKG. ในเวลา 10 นาที เนื่องจากผู้ป่วยคนนี้เคยมีอาการเจ็บหน้าอกบ่อยๆเคยตรวจ EKG แล้วผลการตรวจไม่มีลักษณะของหัวใจขาดเลือด เมื่อมาครั้งนี้พยาบาลจึงตัดสินใจไม่ตรวจ EKG. หลังรายงานแพทย์ ๆ สั่งให้ตรวจ EKG. ผลปรากฏว่าพบความผิดปกติของ EKG. และอีกกรณีหนึ่งผู้ป่วยมาติดตามการรักษาโรคเบาหวาน โดยมีโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะร่วมด้วย วันที่มามีอาการเจ็บหน้าอกพยาบาลทำ EKG ไว้แต่ไม่สามารถดู EKG เบื้องต้นได้รอแพทย์อ่านผล 1 ชม. ผลปรากฏว่าพบความผิดปกติของ EKG. และต้องส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาลเลย นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยที่มีใจสั่นเหงื่อออกมากที่ห้องกายภาพและเป็นลมในห้องทันตกรรม เป็นต้น
จากอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นแม้จะมีจำนวนน้อยพบ แต่เป็นอุบัติการณ์ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสุขภาพและอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ จึงมีการททวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้เห็นปัญหาและปัจจัยที่น่าจะเป็นสาเหตุของปัญหา ดังนี้
            1. การประเมินคัดกรองผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ยังไม่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทุกราย
            2.  การประเมินคัดกรองผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ยังปฏิบัติไม่ครบขั้นตอนตามที่กำหนดไว้
            3. พยาบาลยังไม่สามรถอ่านและแปรผล EKG ในเบื้องต้นก่อนพบแพทย์ได้
            4. คู่มือและแนวทางการประเมินคัดกรองผู้ป่วย AMI ไม่ชัดเจน

การพัฒนาและการปรับระบบ

1. ทบทวนและปรับระบบคัดกรองผู้ป่วยที่มาด้วยอาการจุกแน่นหน้าอก ให้เป็นไปตามระบบ MI Fast Tract
2. กำหนดให้พยาบาลสามารถตรวจ EKG. ก่อนพบแพทย์ ในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการแน่นหน้าอก เจ็บหน้าอกข้างซ้ายในกลุ่มเสี่ยงสูงที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง
3. จัดหาตัวอย่าง EKG. ที่ปกติและผิดปกติโดยเฉพาะลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่มีอาการขาดเลือดไว้ที่เครื่องตรวจ EKG. เพื่อให้พยาบาลใช้เปรียบเทียบ
4. พัฒนาบุคลากร โดยจัดประชุมวิชาการเพิ่มความรู้และทักษะในการประเมินคัดกรองผู้ป่วยAMI แก่พยาบาลปฏิบัติงาน
5. จัดอบรมทบทวน ฟื้นฟูทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพแก่เจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงาน
6. จัดช่องทางด่วน (MI Fast Tract) สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการจุกแน่นลิ้นปี่ แน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่ม หรืออาการอื่น ๆ ที่เข้าได้หรือสงสัย
7. กำหนดให้จุดบริการที่มีความเสี่ยงได้แก่ งานกายภาพบำบัด และงานนวดแผน มีการตรวจประเมินความดันโลหิตและชีพจร และใช้แบบประเมินเบื้องต้นสำหรับการคัดกรองผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับโรคหัวใจขาดเลือด ทุกราย
8. ทบทวนระบบการส่งต่อ การดูแลระหว่างส่งต่อและกำหนดข้อตกลงร่วมกันในการส่งต่อผู้ป่วยในเวลาที่กำหนด

การวัดผลและผลการเปลี่ยนแปลง

วัดผลตามตัวชี้วัดคุณภาพ ดังนี้

1.      อัตราความครอบคลุมขอการประเมินและเฝ้าระวังภาวะเบื้องต้นสำหรับการคัดกรองผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับโรคหัวใจขาดเลือด
จากจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 2,609 ราย มีการเฝ้าระวังครบ 100 % พบว่ามีผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด 6 ราย (ผู้ป่วยกายภาพบำบัด)
ประเภทผู้ป่วย
จำนวนทั้งหมด (ครั้ง)
จำนวนผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิด MI (ครั้ง)
ก่อนให้บริการ
ขณะให้บริการ
ผู้ป่วยนอก
1,040
2
0
ผู้ป่วยใน
237
0
0
ผู้ป่วยเยี่ยมบ้าน
1,569
4
0


2.      อุบัติการณ์ ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการเจ็บที่กำหนด ไม่ได้เข้าระบบ MI Fast tract (ผู้ป่วยที่วินิจฉัย AMI ไปรอตรวจที่ OPD)
3.      อุบัติการณ์ผู้ป่วยเสียชีวิตโดยไม่คาด

ตัวชี้วัด
2552
2553
2554
2555
จำนวนผู้ป่วยที่ไม่ได้เข้าระบบ MI Fast tract
0
1
0
2
จำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิตโดยไม่คาด
0
0
1
1

บทเรียนที่ได้รับ
การการควบคุมกำกับและพัฒนาทักษะหรือสมรรถนะบุคลากรเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำควบคู่กันไปกับการพัฒนาคู่มือ มาตรฐานและกระบวนการปฏิบัติ เพราะจากการทบทวนหลังจากมีการการพัฒนาคู่มือ มาตรฐานและกระบวนการปฏิบัติ พบว่าสำคัญคือการไม่ได้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด



















แบบคัดกรองและเฝ้าระวังเบื้องต้นก่อนให้
สำหรับการผู้ป่วยที่มีอาจอาการเข้าได้กับโรคหัวใจขาดเลือด

1.      มึนงง , เวียนศรีษะ , ปวดศรีษะ                                  (  )  ไม่มี/ไม่พบ   (   ) มี/พบ àส่งพบแพทย์
2.      เซ , รู้สึกหวิว ๆ                                                          (  )  ไม่มี/ไม่พบ   (   ) มี/พบ àส่งพบแพทย์
3.      หายใจลำบาก                                                           (  )  ไม่มี/ไม่พบ   (   ) มี/พบ àส่งพบแพทย์
4.      คลื่นไส้                                                                    (  )  ไม่มี/ไม่พบ   (   ) มี/พบ àส่งพบแพทย์
5.      เจ็บหน้าอก , ใจสั่น                                                    (  )  ไม่มี/ไม่พบ   (   ) มี/พบ àส่งพบแพทย์
6.      มีเหงื่อออกมาก                                                         (  )  ไม่มี/ไม่พบ   (   ) มี/พบ àส่งพบแพทย์
7.      เหนื่อยปานกลางค่อนข้างมาก                         (  )  ไม่มี/ไม่พบ   (   ) มี/พบ àส่งพบแพทย์
8.      ความดันโลหิตมากกว่า/เท่ากับ 140/90 mmHg.            (  )  ไม่มี/ไม่พบ   (   ) มี/พบ àส่งพบแพทย์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น