เอกซ์เรย์

Service Profile[1]
หน่วยงาน รังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลภูกระดึง

1. บริบท[2] (Context)
          ก. หน้าที่และเป้าหมาย
            1. ผู้รับบริการได้รับผลการบริการถ่ายภาพรังสีทั่วไป(ถ่ายPlain Film) เพื่อประกอบการวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย แม่นยำ รวดเร็วอย่างมีมาตรฐาน  ตามความต้องการของแพทย์ และผู้รับบริการ พร้อมทั้งควบคุมความปลอดภัยจากการใช้รังสีตามขีดความสามารถของโรงพยาบาล
            2. ให้บริการเก็บภาพรังสีของผู้ป่วย ค้น ให้ยืม รับคืน อย่างถูกต้อง ปลอดภัย ไม่สูญหาย           

          ข. ขอบเขตการให้บริการ (ถ้าเป็นหอผู้ป่วยให้ระบุกลุ่มโรคสำคัญในหน่วยงานนี้ด้วย) ศักยภาพ ข้อจำกัด
          ขอบเขตการให้บริการ
          เป็นงานที่ให้บริการทางด้านรังสีวินิจฉัยแก่ผู้รับบริการในโรงพยาบาลภูกระดึง เฉพาะงานบริการถ่ายภาพรังสีทั่วไป(ถ่ายPlain Film),Portable Chest  x-ray  และงานควบคุมความปลอดภัยจากการใช้รังสีของโรงพยาบาล โดยเจ้าพนักงานรังสีการแพทย์และเจ้าหน้าที่ผู้ร่วมให้บริการ ซึ่งให้การบริการได้ดำเนินการดังนี้
1.วันธรรมดา ให้บริการตั้งแต่เวลา 08.00 น.- 18.00 น.
2.วันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ให้บริการตั้งแต่เวลา 08.00 น.- 16.00 น.
3.นอกเวลาราชการ ให้บริการเฉพาะผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน บริการแบบ On call
วันธรรมดา ให้บริการตั้งแต่เวลา 18.00 น.- 08.00 น.ของวันถัดไป
วันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ให้บริการตั้งแต่เวลา 16.00 น. – 08.00 น. ของวันถัดไป

          ศักยภาพ
             มีบุคลากรให้บริการดังนี้
1.      เจ้าพนักงานรังสีการแพทย์  จำนวน 1 คน (พนักงานประจำ)
2.      พนักงานการแพทย์และรังสีเทคนิค จำนวน 1 คน
3.      เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ จำนวน 1 คน ( On call)
4.      ผู้ช่วยเหลือคนไข้ จำนวน 1 คน  ( On call)

         


ข้อจำกัด
            - ไม่ให้บริการตรวจพิเศษ เนื่องจากไม่มีความพร้อมเรื่องอุปกรณ์ เครื่องมือ และไม่มีรังสีแพทย์

          ค. ผู้รับผลงานและความต้องการที่สำคัญ (จำแนกตามกลุ่มผู้รับผลงาน)
ความต้องการของผู้รับบริการ (ผู้ป่วย และญาติ)
            1.  การถ่ายภาพรังสีที่ถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว อย่างมีคุณภาพ
            2.  มีความปลอดภัยจากการถ่ายภาพรังสี
            3.  เจ้าหน้าที่มีพฤติกรรมการบริการที่ดี
            4.  ห้องเอ็กซเรย์สะอาด เรียบร้อย ไม่มีกลิ่นเหม็นจากน้ำยาล้างฟิล์ม
            5.  เครื่องเอ็กซเรย์ และอุปกรณ์อื่นๆ พร้อมให้บริการเสมอ
            6.  ได้รับคำอธิบายที่เกี่ยวกับการตรวจทางรังสีอย่างถูกต้อง เข้าใจง่าย
            7.  เสื้อผ้าสำหรับเปลี่ยน ใหม่ สะอาด

ความต้องการของผู้ร่วมงานในโรงพยาบาล
            1.  แพทย์ เจ้าหน้าที่พยาบาล
                        - ได้รับภาพถ่ายรังสีที่รวดเร็ว ถูกคน  ถูกต้อง ถูกที่ ถูกส่วน ถูกอวัยวะ ครบถ้วนเพื่อให้แพทย์ใช้ผลการตรวจประกอบการวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง รวดเร็ว
                        - ควบคุมและป้องกันการติดเชื้อสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการและผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี
- รายงานภาวะวิกฤติฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นกับผู้รับบริการขณะทำการตรวจทางรังสีได้ทันเวลา
                        - ควบคุมผลตรวจทางรังสีกลับคืนสู่งานรังสีได้ถูกต้อง ครบถ้วน
                        - ค้นหาฟิล์มเก่าของผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว มีระบบการจัดเก็บที่ดี ไม่สูญหาย
                       
            2.  เจ้าหน้าที่ที่มาติดต่องาน เช่น เวรเปล เจ้าหน้าที่เวชระเบียน เจ้าหน้าที่ซักฟอก เป็นต้น
                        - ปลอดภัยจากรังสี
                        - ได้รับการประสานที่ถูกต้อง รวดเร็ว
                        - สามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเพื่อทำการฉายรังสี ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
                        - จัดเตรียมและจัดส่งเสื้อผ้าผู้รับบริการมายังงานรังสีวินิจฉัยได้อย่างถูกต้อง สะอาดและเพียงพอ
                        - เตรียมฟิล์มและน้ำยาล้างฟิล์ม ได้ถูกต้อง เพียงพอ ครบถ้วน


         


ง. ประเด็นคุณภาพที่สำคัญ
            1. ผู้รับบริการได้รับการถ่ายภาพรังสีที่มีคุณภาพ
            2. ผู้รับบริการมีความปลอดภัยทางรังสี มีการป้องกันอันตรายจากรังสี และอันตรายอื่นๆที่อาจจะเกิดขึ้น
            3. ภาพรังสีที่ส่งไปให้แพทย์เพื่อการวินิจฉัยโรค มีคุณภาพ ถูกต้อง และครบถ้วน ภายใต้ข้อจำกัดในการให้ความร่วมมือตามสภาพของผู้ป่วย
            4. ผู้รับบริการได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับรังสีอย่างถูกต้อง
            5. ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ

          จ. ความท้าทาย ความเสี่ยงสำคัญ
          ความท้าทาย
            1. การให้บริการถ่ายภาพรังสีที่มีคุณภาพด้วยความรวดเร็ว ในผู้ป่วยกลุ่มมีภาวะเสี่ยงสูง ได้แก่
                        - ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อทางระบบทางเดินหายใจ
                        - ผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
                        - ผู้ป่วยมีภาวะหอบ หายใจลำบาก
            2. การป้องกันความเสี่ยงจากกการถ่ายภาพรังสีให้แก่ผู้ป่วยสตรีวัยเจริญพันธุ์ และผู้ป่วยเด็ก
3. การวางแผนรองรับผู้ป่วยภาวะวิกฤตที่มารับบริการที่ห้องเอ็กซเรย์

          ความเสี่ยงสำคัญ
ความเสี่ยง
แนวทางป้องกัน/หลีกเลี่ยง
1. คำสั่งเอ็กซเรย์ทางคอมพิวเตอร์ไม่ตรงกับคำสั่งแพทย์
1.ทบทวนคำสั่งแพทย์เทียบกับคอมพิวเตอร์ทุกครั้งก่อนทำการเอ็กซเรย์                                                
 2. ประสานกับฝ่ายการพยาบาลประชุมทบทวนเรื่องการส่งตรวจเอ็กซเรย์ โดยให้ทางงานรังสีเป็นผู้รับผิดชอบในการส่งตรวจเอง                                                  
3. โทรศัพท์สอบถามแพทย์ผู้สั่งโดยตรง
2. ผู้ป่วยเกิดภาวะวิกฤติภายในห้องเอ็กซเรย์
1.  ประสานความช่วยเหลือเบื้องต้นโดยการกดกริ่งสัญญาณฉุกเฉินระหว่างห้องเอกซเรย์กับห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน ซึ่งได้รับความช่วยเหลือภายในเวลา 1-2 นาที                                             2. จัดให้มีชุด Emergency set ไว้ภายในห้องเอ็กซเรย์
3. Portable Chest x-ray ในกรณีผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้
1.       ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ใส่ท่อช่วยหายใจ
2.      ผู้ป่วยที่ใส่สายท่อระบายทรวงอก (ICD)
3.      ผู้ป่วย Multiple trauma(ผู้ป่วยบาดเจ็บหลายตำแหน่ง ที่ต้องการเฉพาะ Chest เท่านั้น)
4.      ผู้ป่วยเหนื่อย หายใจหอบ เสี่ยงต่อการหยุดหายใจ
5.      ผู้ป่วยชักเกร็ง

3.เครื่องเอ็กซเรย์ชำรุด เสียหาย ใช้การไม่ได้
1. มีการตรวจเช็คเครื่องเอ็กซเรย์เป็นประจำทุกวัน                                  2. ใช้เครื่องเอ็กซเรย์ Portable ทำการฉายรังสีชั่วคราว
4.เครื่องล้างฟิล์มชำรุดเสียหาย ใช้การไม่ได้
มีระบบสำรองโดยให้ใช้การล้างฟิล์มแบบล้างด้วยมือ
5.ภาพถ่ายเอกซเรย์ไม่คมชัด  ดำ  หรือ ขาว เกินไป
- ภาพไม่คมชัด  แก้ไขโดยการทำความเข้าใจและขอความร่วมมือกับผู้ป่วยไม่ให้เคลื่อนไหว  หรือหายใจเข้า-ออก  ในขณะกดเอกซเรย์และใช้รังสีตาม Exposure char
6. Cassette ชำรุดไม่พร้อมใช้ หรือสกปรกไม่มีคุณภาพ
1.ทำการซ่อมแซมทันที
2.ทำความสะอาดทุก 1 เดือน
3. Cassette ทดสอบ Light leak และความแนบชิดของ Screen ทุก 1 ปี
7. .  เสื้อผ้าสำหรับเปลี่ยนของผู้ป่วยและผ้าปูเตียงมีไม่เพียงพอ
1.ประสานงานกับหน่วยงานซักฟอก เพื่อแจ้งปริมาณผ้าที่ใช้ในแต่ละวัน และส่งผ้าที่ใช้แล้วให้หน่วยงานซักฟอกทุกวัน
2.เจ้าหน้าที่เอ็กซเรย์ตรวจสอบปริมาณเสื้อผ้าของผู้ป่วยให้มีปริมาณเพียงพอ
8. เอ็กซเรย์ผู้ป่วยผิดคน เอ็กซเรย์ผิดตำแหน่ง
1. ถามชื่อทวนทุกครั้งก่อนการถ่ายภาพรังสี
2. ตรวจสอบอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นของผู้ป่วย เช่น ถามว่าเจ็บข้างไหน, ตรวจสอบในประวัติ EMR ของระบบ HosXp
9. ผู้ป่วยตกเตียง บาดเจ็บระหว่างการเคลื่อนย้ายจากเปลนอน รถเข็นมาที่เตียงเอ็กซเรย์
1.เคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีการที่ถูกต้อง มีอุปกรณ์สำหรับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
2.ในผู้ป่วยที่ได้รับการประเมินเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มต้องให้ญาติมาจับผู้ป่วยระหว่างการเอ็กซเรย์
10.ผู้ป่วยได้รับรังสีมากเกินไป
1. จัดทำ Exposure chart
2. โคนแสงให้คลุมอวัยวะที่ต้องการถ่ายเท่านั้น
3. เลือกใช้ขนาดฟิล์มให้พอเหมะ
4. ใช้เทคนิค High kV
5.  เปลี่ยน Screen และ film จาก blue เป็น green
11.  การเอ็กซเรย์ซ้ำ
- ทบทวนกระบวนการทำงานทุกขั้นตอนให้รัดกุม เฝ้าระวังความเสี่ยงทุกกระบวนการทำงาน
12.  การเอ็กซเรย์ผู้ป่วยตั้งครรภ์
1.สอบถามสภาวะการตั้งครรภ์ของผู้ป่วยสตรีวัยเจริญพันธุ์ทุกราย
2.ถ้าสงสัยว่าตั้งครรภ์ให้ส่งตรวจ UPT ก่อนทุกราย
3.ติดป้ายเตือนกรณีผู้ป่วยตั้งครรภ์ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่
13.  ญาติและเจ้าหน้าที่ได้รับรังสีโดยไม่จำเป็น
1.ญาติ หรือเจ้าหน้าที่ที่จับผู้ป่วยระหว่างเอ็กซเรย์ต้องใส่เสื้อตะกั่วป้องกันรังสีทุกครั้ง
2. ปิดประตูห้อง เปิดไฟสีแดงหน้าห้องก่อนเอ็กซเรย์ทุกครั้ง
14.  เจ้าหน้าที่ได้รับอันตรายจากสารเคมีของน้ำยาล้างฟิล์ม
1.ในขณะเปลี่ยนน้ำยาล้างฟิล์ม ต้องใส่ Mask และถุงมือทุกครั้ง
2.เจ้าหน้าที่ต้องตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี
15.  ลืมติด Marker หรือ ติดผิด

- ตรวจสอบความถูกต้องของการติด Marker และ Positionของผู้ป่วย ตั้งแต่กระบวนการถ่ายภาพรังสี และในกระบวนการตรวจสอบฟิล์ม
16.  ภาพรังสีไม่มีคุณภาพ คือ มีคุณสมบัติดังนี้
   (1) Over/Under Exposure
   (2) Blur
   (3) Unsharpness
   (4) Artifact
   (5) Density, Contrast ไม่เหมาะสม
- ตรวจสอบคุณภาพของภาพรังสีก่อนส่งมอบทุกครั้ง หากพบว่าภาพรังสีไม่ได้คุณภาพให้ถ่ายใหม่ก่อนส่งให้แพทย์อ่านผล
17.  ค้นฟิล์มเก่าไม่เจอ ฟิล์มหายไปจากชั้นโดยไม่ทราบสาเหตุ
18.  ผู้ป่วยไม่ได้นำฟิล์มมาคืน
- ทำระบบการยืม คืนฟิล์มที่มีประสิทธิภาพ
- อธิบายถึงเหตุผลการที่ต้องนำฟิล์มมาคืนแก่ผู้ป่วยและญาติ
- ติดตามฟิล์มจากโรงพยาบาลที่ส่งต่อผู้ป่วยไปรักษา
19  ใส่ภาพรังสีผิดซอง/ ส่งมอบฟิล์มผิดคน
- ตรวจสอบชื่อ สกุลของผู้ป่วยที่ฟิล์ม ซอง OPD card ใบนำส่งให้ตรงกันก่อนส่งมอบ
- เรียกชื่อผู้ป่วยมารับฟิล์มทุกครั้ง
20.เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการไม่อยู่ห้อง
1.ติดป้ายหน้าห้อง"เมื่อไม่พบผู้ให้บริการ กรุณาติดต่อห้องเบอร์ 1(ห้องบัตร)      
 2. เจ้าหน้าที่โทรแจ้งห้องบัตรก่อนออกจากห้อง                                 3.  จัดเจ้าหน้าที่ประจำห้องเอ็กซเรย์      
           

ฉ. ปริมาณงานและทรัพยากร (คน เทคโนโลยี เครื่องมือ)
           
บุคลากร
            1. เจ้าพนักงานรังสีการแพทย์ชำนาญงาน   จำนวน 1 คน
            2. เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ผ่านการฝึกปฏิบัติงานรังสี จำนวน 1 คน
3. พนักงานการแพทย์และรังสีเทคนิค ที่ผ่านการฝึกปฏิบัติงานรังสี จำนวน 1 คน
            4.ผู้ช่วยเหลือคนไข้ ที่ผ่านการฝึกปฏิบัติงานรังสี จำนวน 1 คน

เครื่องมือ
1.             เครื่องเอ็กซเรย์ขนาด 300 mA   125 Kv จำนวน 1 เครื่อง
ข้อจำกัด   กรณี เครื่องชำรุด ใช้เครื่อง Portable แทน
            2. เครื่องล้างฟิล์มอัตโนมัติ 106 วินาที จำนวน 1 เครื่อง
                        ข้อจำกัด  กรณี เครื่องชำรุด ใช้วิธีการล้างด้วยมือ
3.เครื่องเอ็กซเรย์ Portable ขนาด 60 mA  110 Kv จำนวน 1 เครื่อง
ข้อจำกัด  ให้บริการเฉพาะ Portable Chest x- ray เท่านั้น

กระบวนการสำคัญ (Key Processes)[3]
กระบวนการสำคัญ
(Key Process)
สิ่งที่คาดหวังจากกระบวนการ
(Process Requirement)
ตัวชี้วัดสำคัญ
(Performance Indicator)
1การเตรียมความพร้อม
     1.1 ทำความสะอาดเครื่องมือและอุปกรณ์
     1.2 ตรวจสอบและเตรียมเครื่องเอ็กซเรย์
     1.3 เตรียมเครื่องล้างฟิล์มอัตโนมัติ
     1.4 เตรียมชุดสำหรับเปลี่ยนของผู้ป่วย
- เพื่อดูแลบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ให้มีความพร้อมในการใช้งาน
- เตรียมเครื่องเอ็กซเรย์ให้พร้อมสำหรับการบริการ
- เพื่อให้มีเครื่องล้างฟิล์ม น้ำยาล้างฟิล์มพร้อมใช้งาน และได้มาตรฐาน
- เพื่อเตรียมความพร้อมในการให้บริการผู้ป่วย
- ผู้ป่วยมีชุดใหม่ สะอาดสำหรับ
เปลี่ยน
- จำนวนครั้งความไม่พร้อมใช้ของเครื่องเอ็กซเรย์นานเกิน 30
- จำนวนครั้งความไม่พร้อมใช้ของเครื่องล้างฟิล์มนานเกิน 30 นาที







กระบวนการสำคัญ
(Key Process)
สิ่งที่คาดหวังจากกระบวนการ
(Process Requirement)
ตัวชี้วัดสำคัญ
(Performance Indicator)
2การรับผู้ป่วย
     2.1 รับคำสั่งเอ็กซเรย์ (ทาง HosXp, ใบนำส่ง)
     2.2 ตรวจสอบความถูกต้อง
     2.3 ลงทะเบียนและพิมพ์ชื่อผู้ป่วย
- เพื่อป้องกันการเอ็กซเรย์ผิดคน ผิดท่า ผิดตำแหน่ง

- จำนวนครั้งการเอ็กซเรย์ผิดคน ผิดท่า ผิดตำแหน่ง เป้าหมาย = 0

3. เตรียมตัวผู้ป่วย
- เพื่อให้ผู้ป่วยเตรียมตัวก่อนการเอ็กซเรย์ได้อย่างถูกต้อง ได้แก่ การเปลี่ยนชุด การถอดโลหะ หรือวัสดุทึบรังสีออกจากอวัยวะที่ต้องการตรวจ ทำให้ไม่ต้องเอ็กซเรย์ซ้ำ
- จำนวนฟิล์มเสียเนื่องจากการเตรียมผู้ป่วยไม่พร้อม เป้าหมาย = 0 แผ่น




4. การถ่ายภาพรังสี
     4.1 อธิบายขั้นตอนการตรวจและวิธีการปฏิบัติตัวระหว่างการเอ็กซเรย์
     4.2 จัดท่าผู้ป่วย
     4.3 ตั้งค่า Exposure และถ่ายภาพรังสีของผู้ป่วย
- เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง
- เพื่อให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการถ่ายภาพรังสี
- เพื่อให้ได้ภาพรังสีที่ถูกต้อง ชัดเจน
- เพื่อให้ได้ภาพรังสีที่มีคุณภาพ
- ร้อยละฟิล์มเสียที่เกิดจากการเอ็กซเรย์ซ้ำ เป้าหมาย < 2%






5. การล้างฟิล์ม
- เพื่อให้ได้ภาพรังสีส่งมอบให้ผู้รับบริการ
- จำนวนฟิล์มเสียเนื่องจากเครื่องล้างฟิล์ม เป้าหมาย = 0








3. ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน[4] (Performance Indicator) (ข้อมูล 3 ปี ย้อนหลัง)
ตัวชี้วัด
เป้าหมาย/ปี
ข้อมูล
ปี 2555
ปี 2556
ปี 2557
1.  อัตราการเอ็กซเรย์ซ้ำ (ภาพรังสีที่ยังไม่ส่งไปยังแพทย์)
< 2%
0.95
0.77
0.95
2.  จำนวนครั้งของการขอ Repeat film เนื่องจากภาพรังสีไม่มีคุณภาพ จากแพทย์

< 2%
0.13
0.52
0.43
3.  อัตราฟิล์มหายโดยไม่ทราบสาเหตุ
< 3%
0.23
0.33
0.15
4.  จำนวนครั้งของการติด Marker ผิด
0
0.12
0.08
0.11
5.  จำนวนผู้ป่วยที่มีอาการเปลี่ยนแปลงขณะรับบริการเอ็กซเรย์
0
0
0
1
6. จำนวน CQI ในหน่วยงาน

2
3
4















4. กระบวนการหรือระบบงานเพื่อบรรลุเป้าหมายและมีคุณภาพ
4.1 ระบบงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน (รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพที่เสร็จสิ้นแล้ว[5])

การพัฒนาระบบงานรังสีวินิจฉัย
แนวคิด
            จากการทบทวนระบบงานที่ผ่านมา ทำให้ได้ทราบว่า ระบบงานรังสีวินิจฉับยังไม่ได้มาตรฐานซึ่งแบ่งตามลักษณะงานได้ดังนี้
1.      การส่งต่อฟิล์มให้แพทย์วินิจฉัยไม่มีชื่อผู้ป่วยเนื่องจากเจ้าหน้าที่ผู้ช่วยปฏิบัติงานใช้เครื่องมือ(Film printer)ไม่ชำนาญ ต้องใช้สติคเกอร์ติดแล้วเขียนชื่อและรายละเอียดอื่นไม่ครบ
2.      ผ้าปูเตียงไม่ค่อยได้เปลี่ยน และเสื้อผ้าผู้ป่วยใช้ร่วมกันหลายครั้ง ทำให้โอกาสการติดเชื้อระหว่างผู้ป่วยกับผู้ป่วยเองมีมาก
3.      การเรียกพยาบาลห้องฉุกเฉินมาช่วยเหลือผู้ป่วยเมื่อเกิดภาวะวิกฤติที่ห้องเอ็กซเรย์ ใช้ติดต่อทางโทรศัพท์ พยาบาลไม่ค่อยรับสายและรับสายช้ามาก ทำให้การช่วยเหลือผู้ป่วยไม่ทันเวลา
4.      มีการลงจำนวนฟิล์มเสียในแต่ละวัน แต่ไม่ได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ฟิล์มเสียเพื่อพัฒนาบุคลากรและหน่วยงาน
5.      ฟิล์มเอ็กซเรย์เก่าทีแพทย์อ่านฟิล์มแล้วเก็บไว้นอกห้อง ทำให้โอกาสฟิล์มหายมีมาก
6.      ห้องทำงานเจ้าหน้าที่อยู่ในห้องฉายรังสี ทำให้ไม่สะดวกและกีดขวางการทำงาน
7.      หน้าห้องเอ็กซเรย์ไม่มีสัญญาณไฟแดงติดตั้ง ทำให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ป่วยไม่ทราบว่ากำลังเอ็กซเรย์อยู่ ถ้าเปิดประตูตอนฉายรังสีมีโอกาสโดนแสงเอ็กซเรย์เพิ่มมากขึ้น
8.      ไม่มีการควบคุมคุณภาพภาพถ่ายรังสีที่ถ่ายจากเจ้าหน้าที่ผู้ช่วยปฏิบัติงาน
9.      ไม่มีการดูแลและควบคุมคุณภาพของเครื่องเอ็กซเรย์และอุปกรณ์ ดังนี้  
9.1  ไม่มีการอุ่นหัวหลอดเอ็กซเรย์
9.2  ไม่มีการวัดแสงตู้ดูฟิล์มเอ็กซเรย์(View boxes)
9.3  มีการทดสอบความเหลื่อมล่ำของแสงไฟกับรังสีแต่ไม่ได้ปรับปรุง
9.4  ไม่มีควบคุมคุณภาพห้องมืด
9.5  มีการทดสอบความแนบชิดของฟิล์ม-สกรีนไม่ครบตามจำวนคลาสเสท
9.6  ไม่มีการวัดอุณหภูมิและความชื้นห้องมืด,ห้องเก็บฟิล์ม
9.7  ไม่มีการควบคุมคุณภาพกระบวนการล้างฟิล์ม
9.8  มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากรังสีสำหรับผู้ป่วยไม่เพียงพอ
9.9  การจัดเก็บฟิล์มเก่าเก็บแล้วหาไม่พบ

การดำเนินการ
1.      การส่งต่อฟิล์ม ได้จัดทำสติคเกอร์ที่มีรายละเอียดครบถ้วน
2.      เสื้อผ้าผู้ป่วยใช้ครั้งเดียวและเปลี่ยนผ้าปูเตียงทุกวัน
3.      ได้มีการติดตั้งกริ่งเรียกพยาบาลห้องฉุกเฉิน
4.      มีการวิเคราะห์ฟิล์มเสียทุก 3 เดือน เพื่อนำผลการวิเคราะห์มาพัฒนาการงานและบุคลากรผู้ให้บริการ
5.      มีการจัดหาห้องเก็บฟิล์มและย้ายสถานที่เก็บฟิล์ม ทำให้ประกันได้ว่าฟิล์มไม่หายหรือถูกขโมย (กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของผู้บริหาร)
6.      มีการย้ายห้องทำงานทำให้สะดวกมากขึ้น (กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของผู้บริหาร)
7.      มีการติดตั้งไฟแดงหน้าห้อง พร้อมคำอธิบายกำลังฉายรังสี ทำให้เจ้าหน้าที่และผู้ป่วยได้ทราบ
8.      มีการจัดทำ Exposure chart ติดไว้ที่ x-ray control เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ช่วยปฏิบัติงานไดทราบว่าจะต้องใช้แสงเอ็กซเรย์เท่าไหร่ในการถ่ายเอ็กซเรย์อวัยวะต่างๆ
9.      ดูแลและควบคุมเครื่องเอ็กซเรย์ ดังนี้
9.1  มีการอุ่นหัวหลอดเอ็กซเรย์ทุกเช้าก่อนการใช้งานจริง เพื่อยืดอายุการใช้งานของหัวหลอด
9.2  ได้ให้ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุดรธานี ทำการวัดแสงจากตู้ดูฟิล์มเอ็กซเรย์ทั้ง 9 ชุด ปรากฏผลการวัดไม่ผ่านมาตรฐาน ได้ทำการไขโดยการเปลี่ยนหลอดไฟใหม่ทั้งหมดแล้ววัดซ้ำ ปรากฏว่าผ่าน 5 ชุด ไม่ผ่าน 4 ชุด จึงได้ทำการเปลี่ยนพลาสติคตู้ดูฟิล์มใหม่ทั้งหมดรอการตรวจสอบการวัดแสงในรอบต่อไป ประมาณ เดือน มกราคม 2553
9.3  ได้มีการทดสอบความเหลื่อมล้ำของแสงไฟกับรังสี แต่ไม่ผ่านคุณภาพ ได้มีการแก้ไขโดยช่างจากผู้แทนจำหน่ายเครื่องเอ็กซเรย์ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุดรธานี เรียบร้อยแล้ว
9.4  ได้มีการติดตั้งพัดลมดูดอากาศ 2 ชุด คือ ชุดดูดอากาศเข้า 1 ชุดและชุดดูดอากาสออกต่อท่อขึ้นบนหลังคา 1 ชุด เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายกลิ่นจากการระเหยของน้ำยาล้างฟิล์ม
9.5  เนื่องจากเครื่องมือการตรวจสอบมีราคาแพง ต้องให้ทางศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุดรธานี ทำการตรวจสอบให้ในเดือน มกราคม 2557
9.6  ในส่วนของห้องมืด ได้รายงานให้ผู้บริหารจัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ให้แล้ว และในส่วนของห้องเก็บฟิล์มให้ทางฝ่ายเภสัชกรรมเป็นผู้ทำการบันทึกให้(ห้องเก็บฟิล์มอยู่คลังยา)
9.7  ได้ทำการตรวจสอบคุณภาพเครื่องล้างฟิล์มทุก 1 ปีจากศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุดรธานี และทำการควบคุมคุณภาพเครื่องล้างฟิล์มทุก 1 อาทิตย์ จากเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมเอง
9.8  เนื่องจากอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากรังสี มีราคาแพงมาก ทางงานรังสีวินิจฉัยจึงได้จัดให้มีเฉพาะเท่าที่จำเป็นเท่านั้น คือ มีเสื้อตะกั่ว 3 ตัว,แว่นตากันรังสี 1 อัน,ถุงมือตะกั่ว 1 คู่, ชุดป้องกันรังสีสำหรับเด็ก 1 ชุดและปลอกคอตะกั่วกันรังสี 1 ชุด
9.9  ได้ทำการ Re – check ฟิล์มในตู้เก็บฟิล์มเก่าทุกเดือน
การวัดผลและการเปลี่ยนแปลง :   
1.      ลงรายชื่อ-สกุล,อายุ,HN.,XN.,ครั้งที่และวันที่ให้ครบถ้วนทุกฟิล์ม   
2.      ชี้แจงให้ผู้ให้บริการปฏิบัติตามระเบียบอย่างเคร่งครัด
3.       มีการทดสอบกริ่งทุกเดือนพร้อมทั้งลงบันทึกการทดสอบกริ่ง (เอกสารแนบ 1)
4.      มีการวิเคราะห์ฟิล์มเสีย(เอกสารแนบ 2 )
5.      ดูความก้าวหน้าตามความเป็นจริง 
6.       ดูความก้าวหน้าตามความเป็นจริง 
7.      มีการติดตั้งไฟแดงเสร็จเรียบร้อยพร้อมทั้งเดทุกครั้งที่ทำการฉายรังสี
8.      จัดทำ Exposure chart เรียบร้อยแล้ว
9.      มีการปฏิบัติและได้ผลดังนี้
9.1  ลงลายมือชื่อในตารางการอุ่นหัวหลอดเอ็กซเรย์ประจำวันทุกวัน
9.2  รอการตรวจสอบจากศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ อุดรธานี รอบต่อไป
9.3  มีการทดสอบทุก 6 เดือน ถ้าไม่ผ่านทำการแก้ไขทันที
9.4  ติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว กลิ่นลดลง ไม่มี
9.5  ทดสอบแล้วแต่ยังไม่หมดทุกอัน รอการตรวจสอบจากศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ อุดรธานี รอบต่อไป
9.6  รอการอนุมัติจากผู้บริหาร ลงบันทึกตามแบบฟอร์มอุณหภูมิและความชื้นห้องมืด(เอกสารแนบ 3)
9.7  มีเอกสารรับรองจากศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ อุดรธานี
9.8  มีครบตามความจำเป็น
9.9  ทำการสุ่มดูว่าฟิล์มถูกเก็บอย่างถูกต้องหรือไม่
10.  ห้องปฏิบัติการทางรังสีต้องมีใบอนุญาตมีไว้ครอบครองซึ่งเครื่องกำเนิดรังสีและผลิตหรือใช้พลังงานจากเครื่องกำเนิดรังสีจากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ครั้ง/2ปี)

บทเรียนที่ได้รับ : ระบบการทำงานของหน่วยงานรังสีวินิจฉัย ของโรงพยาบาลภูกระดึง ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการเพียง 1 คน ทำให้การบริการผู้ป่วยได้ไม่เต็มที่ แต่อย่างไรก็ตาม การพัฒนางานก็เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก ที่จะต้องทำให้เรามั่นใจได้ว่า การให้บริการและเครื่องมือเครื่องใช้ มีคุณภาพเพียงพอโดยการพิจารณาเลือกรายการควบคุมคุณภาพที่คาดว่าจะสามารถทำสำเร็จได้ในทางปฏิบัติจริง  แม้ว่าจะยังขาดแคลนเครื่องมือทดสอบอยู่บ้าง แต่จะอาศัยหลักการให้ทางศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ อุดรธานี เป็นผู้ตรวจสอบและยืมเครื่องมือใช้ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้  ซึ่งต่อไปในอนาคตคาดว่าเมื่อทางโรงพยาบาลมีความพร้อมจะได้จัดหาเครื่องมือทดสอบที่จำเป็นต่อการควบคุมคุณภาพมาใช้ประจำโรงพยาบาล ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้กระบวนการควบคุมคุณภาพมีความต่อเนื่องและยั่งยืน จากประสบการณ์ที่ผ่านมา สรุปได้ว่าการดำเนินการควบคุมคุณภาพภายในแผนกรังสีในโรงพยาบาลต่างๆ นั้นไม่ค่อยประสบผลสำเร็จหรือดำเนินไปอย่างช้าๆ ทั้งนี้อาจจะมาจากหลายสาเหตุ เช่น เจ้าหน้าที่ยังไม่พร้อม ขาดเครื่องมือทดสอบ และหลายคนยังมีมุมมองที่เป็นอคติต่อกระบวนการควบคุมคุณภาพ เช่น เห็นว่าเป็นการสิ้นเปลืองทั้งเวลาและงบประมาณ ซึ่งก็ถูกเหมือนกันถ้าท่านไม่ต้องการคุณภาพของงานหรือภาพถ่ายรังสี        เพราะตามความเป็นจริงการที่จะได้สิ่งใดมาก็ย่อมจะต้องเสียบางสิ่งบางอย่างไป แต่การเสียในส่วนน้อยแล้วได้กลับมาเป็นส่วนที่มากกว่าก็เป็นสิ่งที่ควรทำ โดยเฉพาะกับการตรวจรักษาหรือวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องแม่นยำ มีคุณภาพก็ต้องเกิดจากการสูญเสียเวลาและงบประมาณสำหรับการควบคุมคุณภาพระบบงานทั้งระบบ แต่ไม่ใช่เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ ส่วนสาเหตุเกี่ยวกับเวลาไม่มีหรือจำนวนคนไม่พอนี้ ก็เปรียบเสมือนการแข่งขันกับตัวเอง คนที่ต้องการมีชัยชนะเหนือคนอื่นก็ต้องมีความสามารถจัดการบริหารเวลาได้ และเชื่อได้ว่าทุกคนสามารถปฏิบัติตามได้ เพราะบางรายการทุกคนก็ต้องทำอยู่แล้วก่อนปฏิบัติงานเพียงแต่เพิ่มความสนใจขึ้นมา        แล้วสังเกตและจดบันทึกเก็บไว้   เพื่อเป็นการเฝ้าติดตามการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆว่ามีความถูกต้อง และหากพบสาเหตุแต่เนิ่นๆจะได้รีบทำการแก้ไขได้ถูกที่และทันเวลา และเป็นการบำรุงรักษาเครื่องมือด้วย หากมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องตามระยะเวลาที่เหมาะสม และมีการบันทึกเอกสารจัดเก็บไว้ เมื่อข้อมูลมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นก็จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจต่างๆ เช่น การใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ได้ตามปกติ หรือจะต้องรีบดำเนินการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ให้เหมาะสม ควรจะเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงกระบวนงานส่วนไหนเพื่อให้ผลงานที่ได้อยู่ในเกณฑ์คุณภาพมาตรฐาน         และหากจะยกระดับคุณภาพมาตรฐานให้สูงขึ้นจะต้องทำอย่างไร ทั้งนี้กระบวนการควบคุมคุณภาพนี้จะสำเร็จและดำเนินต่อเนื่องไปได้ ย่อมขึ้นอยู่กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในหน่วยงานจะต้องมีวิสัยทัศน์ร่วมกันเพื่อให้งานรังสีวินิจฉัยมีคุณภาพมาตรฐานระดับสากลต่อไป
แผนการทดสอบคุณภาพ

การทดสอบ
ความถี่ขั้นต่ำ
หมายเหตุ
การอุ่นหัวหลอดเอกซเรย์
- ทุกวัน

การควบคุมคุณภาพเครื่องล้างฟิล์ม
- ทุกวัน

การทำความสะอาดห้องมืด
- ทุกวัน

การทำความสะอาดคาสเซ็ทและสกรีน
- ทุก 3 เดือน สำหรับ Radiography

การวิเคราะห์ฟิล์มเสีย
- ทุก 3 เดือน

การทดสอบฟิล์มฝอกในห้องมืด
- ทุก 6 เดือน

การทดสอบความเหลื่อมล้ำของแสงไฟกับลำรังสี
- ทุก 6 เดือน

การทดสอบตู้ดูฟิล์ม
- ทุก 1 ปี สำหรับวัดความสว่าง

การทดสอบการแนบชิดของฟิล์ม-สกรีน
- ทุก 1 ปี

การทดสอบคุณภาพของภาพถ่ายรังสี
- ทุก 3 เดือน  

การตรวจสอบด้วยสายตา ระบบเครื่องเอกซเรย์
ทุก 3 เดือน

การตรวจสอบด้วยสายตา สภาพแวดล้อมของห้องมืด
- ทุก 3 เดือน วัดอุณหภูมิ
- ทุก 1 ปี

การตรวจสอบด้วยสายตา สถานที่เก็บฟิล์มและน้ำยา
- ทุก 3 เดือน วัดอุณหภูมิ
- ทุก 1 ปี









[1] ความยาวทั้งหมดไม่เกิน 5 หน้า
[2] เขียนอย่างสรุป ความยาวไม่เกิน 1 หน้า สามารถใช้ตารางสรุปในบางเรื่องได้
[3] สรุปภายใน 1 หน้า วิเคราะห์โดยเน้นผู้รับผลงานเป็นศูนย์กลาง เช่น หอผู้ป่วย ให้พิจารณาว่ามีกระบวนการดูแลผู้ป่วยอย่างไร โดยทุกวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง มิใช่เฉพาะกระบวนการที่พยาบาลรับผิดชอบ
[4] นำเสนอกราฟแสดงข้อมูลตัวชี้วัดสำคัญ (ก) ตัวชี้วัดของหน่วยงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายของหน่วยงานและมีการติดตามวัดผลอย่างต่อเนื่อง (พร้อมคำอธิบายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นประกอบภาพอย่างสั้นๆ)          (ข) ข้อมูลผลการพัฒนาตามโครงการสำคัญในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมา
[5] สรุปความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพที่สำคัญในช่วงเวลาที่ผ่านมา อย่างสั้นๆ ประมาณ 5 บรรทัดถึงครึ่งหน้า  ระบุแนวคิด ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น และวิธีการทำงานสำคัญที่เป็นข้อสรุปจากการพัฒนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น