งานทันตกรรม

สรุปข้อมูลสำคัญของหน่วยงาน (Service profile)
ฝ่ายทันตสาธารณสุข (งานทันตสาธารณสุข)
                ฝ่ายทันตสาธารณสุข    กลุ่มงานบริการทางการแพทย์    ให้บริการทางทันตสุขภาพ 
โดยมีเป้าหมาย  ให้บริการ  รักษา   ส่งเสริม  ป้องกัน และ ฟื้นฟู    สุขภาพช่องปากแก่ประชาชน
 ในพื้นที่   โดยให้บริการเป็น 2 ส่วนได้แก่  งานในคลินิกทันตกรรม และ งานส่งเสริมทันตสุขภาพ
คลินิกทันตกรรม
1.บริบท
ก.หน้าที่ เป้าหมาย
                ให้บริการทางทันตสุขภาพโดยมีเป้าหมายคือให้บริการรักษา   ป้องกัน  ฟื้นฟูสภาพใน
ช่องปากและ รวมถึงการรับส่งต่อผู้ป่วยทันตกรรมเฉพาะสาขา

ข.ขอบเขตการให้บริการ
                ให้บริการทันตกรรมแก่ประชาชนทั่วไป ในงานทันตกรรมทั่วไป การบริการทันตกรรมเฉพาะทางที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนโดยให้บริการเวลาราชการทุกวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. และคลินิกนอกเวลาทุกวัน จันทร์-ศุกร์ เวลา 16.30-20.30 น. วันเสาร์-อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 8.30-16.30 น.

ค.ผู้รับผลงานและความต้องการที่สำคัญ
ลูกค้าภายนอก
ลูกค้าภายนอก
ความต้องการของผู้รับผลงาน
1. ผู้ป่วย
- ได้รับบริการตามมาตรฐานวิชาชีพ  และมีผลการรักษาที่ดี  ไม่มี
   ภาวะแทรกซ้อน

- ได้รับการรักษาที่รวดเร็ว ปลอดภัย

- ได้รับทราบและมีส่วนร่วมในการวางแผนการรักษา และได้รับ 
   การรักษาที่เหมาะสม

 -เครื่องมือ อุปกรณ์  สถานที่ สะอาด  ไม่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ

-ได้รับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากและการปฏิบัติตน
 ภายหลังการรักษา ตลอดจน ป้องกันไม่ให้เกิดโรคอีก                        

- ได้รับบริการที่มีความเป็นกันเอง มีความสุภาพ มีการสื่อสารที่ดี
2. ญาติ
- รับทราบข้อมูลการเจ็บป่วยและข้อมูลที่จำเป็นในการตัดสินใจ 
   เรื่องการรักษา

- สะดวกรวดเร็ว

- ทราบรายละเอียดความเจ็บป่วยและการรักษาทางทันตกรรมที่ให้กับผู้ป่วย พร้อมคำแนะนำในการดูแลรักษาสุขภาพช่องปาก
 ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย

ลูกค้าภายใน

ฝ่าย/หน่วยงาน
ความต้องการของผู้รับผลงาน
1. กลุ่มการพยาบาล
- มีการระบุรายละเอียดให้ชัดเจนในกรณีส่ง consult
- กรณีส่งผู้ป่วย consult จากตึกผู้ป่วยใน ให้ลงบันทึกการตรวจ
   และการรักษาใน progress note ทุกครั้ง
- มีการประสานงานหรือโทรแจ้งล่วงหน้า
2. กลุ่มงานเวชปฏิบัติ
    ครอบครัวและชุมชน
- มีมาตรฐานการให้ทันตสุขศึกษาอย่างครบถ้วนและเป็นระบบ
- มีการแนะนำและวางแผนการรักษาให้แก่ผู้ป่วย
- มีการลงบันทึกข้อมูลต่างๆ ครบถ้วน
- นัดหมายกับหญิงมีครรภ์ให้แน่นอนและเขียนวันที่นัดลงในสมุด
  สีชมพูให้ชัดเจน
- จัดบริการให้ผู้รับบริการให้สะดวก รวดเร็ว
3. กลุ่มงานการจัดการ
(การเงิน)
- มีการระบุการรักษา ราคาบริการทันตกรรมให้ชัดเจน ตรงกับ
  ข้อมูลในโปรแกรม HosXP
- มีการตรวจสอบสิทธิ์การรักษาของผู้ป่วยก่อนให้บริการทุกครั้ง
4. งานเวชระเบียน
- ส่งคืนบัตรคิว ครบถ้วน ไม่ล่าช้า
- ส่งคืนแฟ้มผู้ป่วย ครบถ้วน  วันต่อวัน
-ทราบกระบวนการหลักของทันตกรรม เพื่อส่งบัตรได้รวดเร็ว   
  ถูกต้องและเป็นระบบ
5. งานเภสัชกรรม
- เขียนใบสั่งยาชัดเจนและถูกต้อง
6. งานประกันสุขภาพ
- ลงข้อมูล ICD 9  ICD 10 TM  ครบถ้วน เพื่อรวบรวมข้อมูลเรียก
   เก็บเงินได้ครบถ้วน ถูกต้อง
- กรณีผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องสิทธิการรักษา ให้ฝ่ายทันตกรรมส่ง
   ผู้ป่วยกลับห้องเบอร์ 1 ตามที่แจ้งไว้ใน OPD card





ง. ประเด็นคุณภาพที่สำคัญของหน่วยงาน
                ผู้ป่วยได้รับบริการด้วยความปลอดภัย ปลอดเชื้อ ถูกต้อง  มีคุณภาพ ตามมาตรฐานวิชาชีพ  และเกิดความพึงพอใจ   มีแนวทางป้องกันความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ   มีการส่งเสริมป้องกันภาวะทันตสุขภาพตามความเหมาะสมในผู้มารับบริการแต่ละราย นอกจากนี้สนับสนุนให้ผู้ให้บริการ  มีทักษะ  ความรู้ความสามารถในการทำงานและมีสุขภาพที่ดี

จ. ความท้าทายที่สำคัญ
การพัฒนาช่องทางการรับฟังความคิดเห็นและสื่อสารกับผู้ป่วยและญาติในการรับบริการ
 การพัฒนาระบบการให้บริการเพื่อรองรับผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น
การพัฒนาความรู้และทักษะของบุคลากรในการให้บริการตามมาตรฐานวิชาชีพ
                การป้องกันและจัดการภาวะฉุกเฉินในคลินิกทันตกรรม
                การปรับปรุงโครงสร้างทางกายภาพของคลินิกทันตกรรม
              การจัดการระบบเฝ้าระวังความเสี่ยงในคลินิกทันตกรรม
                การเฝ้าระวังและควบคุมภาวะติดเชื้อในคลินิกทันตกรรม

ช. ปริมาณงานและทรัพยากร(คน เทคโนโลยี เครื่องมือ)
- งานทันตกรรมทั่วไป ตรวจฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน ถอนฟัน  เคลือบหลุมร่องฟัน 
- งานทันตกรรมเฉพาะทาง  รักษารากฟัน ทันตกรรมประดิษฐ์ งานศัลยกรรมช่องปากที่ไม่ซับซ้อน
          I  ปริมาณงาน                    
ปี
ปริมาณงาน
ถอนฟัน
อุดฟัน
ขูดหินปูน
งานเฉพาะทาง
ป้องกัน
2550
1788
3819
2378
303
1587
2551
2123
3844
2725
338
1752
2552
2383
3596
2840
314
1996
2553
       2691
3347
2691
393
2232
2554
2293
3226
2751
430
2616
2555
2335
3153
2789
405
3016
                                                                                                                                                                      
          II  อัตรากำลัง
                   ทันตแพทย์ 3 คน
                   เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข 5 คน
                   ผู้ช่วยทันตแพทย์ 4 คน

          III  เทคโนโลยี
                มีระบบการจัดการบันทึกข้อมูลเวชระเบียนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ (โปรแกรม HosXP)

          IV เครื่องมือ
รายการเครื่องมือที่สำคัญ
จำนวน
ยูนิตทำฟัน
2
เครื่องปั๊มลม
2
Mobile unit
1
Autoclave
2
เครื่องขูดหินปูน
3
เครื่องฉายแสงวัสดุอุดฟัน
3
เครื่องปั่นอมัลกัม
1
เครื่อง X-ray ฟัน
1
เครื่องหล่อลื่นน้ำมันด้ามกรอฟัน
1

2. กระบวนการสำคัญ(Key process)
     ด้านพัฒนาระบบบริการทันตกรรมให้มีคุณภาพ
        กระบวนการ
      สิ่งที่คาดหวังจากกระบวนการ
              ตัวชี้วัดสำคัญ
1. การเตรียมผู้รับบริการ
1. ผู้รับบริการได้รับการคัดกรองที่
    ถูกต้องและครบถ้วนตามอาการนำ
    ของผู้ป่วย และประเมินความ
    รุนแรงเร่งด่วน ประกอบการ
    จัดลำดับในการรับบริการ
2. ผู้รับบริการได้รับบริการตามลำดับ
   โดยมีการถามชื่อ นามสกุล และ   
   แฟ้มประวัติผู้มารับบริการ เพื่อ
   ยืนยันความถูกต้องตัวบุคคล
3. ผู้รับบริการได้รับความรู้และ ปรับ
   ทักษะในการดูแลสุขภาพ ช่องปาก
1.ความพึงพอใจของ
    ผู้รับบริการ



2. อุบัติการณ์ความเสี่ยงใน
    คลินิกทันตกรรม

3.ร้อยละผู้รับบริการที่ได้รับ
   ความรู้ในการดูแลสุขภาพ 
   ช่องปาก
2. การประเมินและวินิจฉัยโรค(ซักประวัติ การส่งถ่ายภาพรังสี การวินิจฉัยโรค)
1. ผู้รับบริการได้รับการซักประวัติ 
   และประเมินอาการนำได้ถูกต้อง
   และครบถ้วน
2.ผู้รับบริการได้รับการประเมินสภาพ
   ร่างกายแบบองค์รวม
3.ผู้รับบริการได้รับการตรวจวินิจฉัย
   พิเศษเพิ่มเติมตามความเหมาะสม
1.อัตราความสมบูรณ์ของเวช 
   ระเบียน
2. ร้อยละผู้ป่วยโรคที่ซับซ้อน
   และโรคทางระบบได้รับการ 
   ควบคุม ดูแลที่ถูกต้อง

3. การวางแผนรักษา
1. ผู้รับบริการได้รับการอธิบาย
   ทางเลือกและขั้นตอนในการรักษา 
   รวมถึงมีส่วนร่วมตัดสินใจใน
   แผนการรักษา
1.ร้อยละผู้มารับบริการได้รับ
   ข้อมูลและมีส่วนร่วมในการ 
   วางแผนการรักษา
4. การรับบริการ
   ทันตกรรม
1.ผู้รับบริการได้รับบริการที่มี
   มาตรฐาน ปลอดภัย เหมาะสม และ
   มีความพึงพอใจ
2. มีการควบคุมการติดเชื้อและการ
   จัดการความเสี่ยงในคลินิก
3.มีการบันทึกเวชระเบียน ถูกต้อง 
   ครบถ้วน
1.ความพึงพอใจของ
  ผู้รับบริการทางทันตกรรม
2.ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจาก
  การรักษา
3.จำนวนครั้งที่มีการทบทวน
  การดำเนินงานในคลินิก และ  
   interesting case
4.อุบัติการณ์ความเสี่ยงใน
   คลินิกทันตกรรม
5. อัตราการติดเชื้อในคลินิก
   ทันตกรรม
6.อัตราความสมบูรณ์ของเวช
   ระเบียนคลินิกทันตกรรม
5. การติดตามผลการรักษา
1.ผู้รับบริการไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
  หลังการรักษาทางทันตกรรม
2. ผู้รับบริการและญาติได้รับ
   คำแนะนำหลังการรักษา
1.อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน  
  หลังการรักษาทางทันตกรรม
2. ร้อยละผู้มารับบริการที่ได้รับ
   ความรู้ในการดูแลสุขภาพ 
   ช่องปาก

3. ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน(Performance Indicator)
             ตามเอกสาร ตัวชี้วัด 56

4. กระบวนการหรือระบบงานเพื่อบรรลุเป้าหมายและมีคุณภาพ
             4.1 ระบบงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
                จัดให้มีการตรวจคัดกรองผู้ป่วยก่อนการทำฟันโดยเมื่อได้รับแฟ้มประวัติผู้ป่วยจากฝ่ายเวชระเบียนเจ้าหน้าที่จะออกไปคัดกรองผู้ป่วยเพื่อเตรียมการรักษา และคัดกรองผู้ป่วยที่มีความเร่งด่วนในการรักษา เพื่อลดเวลารอคอยของผู้ป่วยในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาหัตถการทางทันตกรรม  หรือ  ผู้ป่วยมีกิจธุระ  สามารถมารับบริการได้ในเวลาโดยประมาณ  ที่เจ้าหน้าที่แจ้งให้ทราบ
                ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเลื่อนการให้บริการผู้ป่วยที่นัดหมายไว้แล้ว  ผู้ช่วยทันตแพทย์จะพยายามติดต่อผู้ป่วยทางโทรศัพท์   หรือพยายามแจ้งล่วงหน้าทุกครั้ง
                การระบุตัวผู้ป่วย ทำโดยเรียกชื่อ นามสกุลผู้ป่วย และยืนยันซ้ำโดยบัตรลำดับที่ผู้ป่วยถือไว้
                มีการสื่อสารที่สำคัญกับผู้ป่วย เพื่อยืนยันตำแหน่งฟันที่มีปัญหา โดยเฉพาะเมื่อจะถอนฟัน หรือผ่าตัดฟัน โดยให้ผู้ป่วยดูกระจก ชี้ซี่ฟัน พร้อมๆ กับการตรวจและให้การวินิจฉัยของทันตแพทย์ด้วย เพื่อป้องกันการให้การบริการผิดซี่ ผิดตำแหน่ง
              มีการให้ข้อมูล  ขั้นตอนและทางเลือกในการรับบริการ  เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับทราบและมีส่วนร่วมในการวางแผนการรักษา
             มีการให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง แก่ ผู้มารับบริการและญาติ 
               มีการให้บริการคลินิกนอกเวลา วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 16.30 – 20.30 น. และ วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 8.30-16.30  น.  เพื่อรองรับการบริการ ผู้ป่วยที่มีจำนวนมาก
                มีการกำหนดแนวทางการปฎิบัติสำหรับการเกิดภาวะฉุกเฉินทางทันตกรรม และการซ้อมแผนฉุกเฉินเมื่อเกิดอัคคีภัย
                มีการจัดเวลาทุกตอนบ่ายวันศุกร์ เพื่อ  ทบทวนการทำงาน   อบรมทบทวนความรู้ทางวิชาการ   ทบทวน Interesting case   ทบทวนและจัดการอุบัติการณ์ความเสี่ยง และ การควบคุมการติดเชื้อในคลินิกทันตกรรม
             4.2 การพัฒนาคุณภาพที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ
                การปรับปรุงโครงสร้างทางกายภาพของคลินิกทันตกรรม โดยได้ทำแบบแปลนของห้องเป็นสัดส่วน ตามมาตรฐาน ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง
                การพัฒนาช่องทางในการรับฟังความคิดเห็นในการรับบริการของผู้ป่วยและญาติ
              การพัฒนาระบบการบันทึกเวชระเบียนงานทันตกรรม

               
งานส่งเสริมทันตสุขภาพ

1. บริบท
     ก. หน้าที่และเป้าหมาย
ให้บริการส่งเสริมป้องกันทางทันตกรรม ทั้งในสถานบริการและนอกสถานบริการ

     ข. ขอบเขตการให้บริการ
                ให้บริการส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงพยาบาลโดยมีกิจกรรมให้ความรู้ทันตสุขศึกษาและตรวจช่องปากแก่ หญิงตั้งครรภ์ในคลินิก ANC คลินิกเด็กดี กลุ่มดูแลฟัน
                ให้บริการส่งเสริมทันตสุขภาพนอกโรงพยาบาล โดยมีการให้บริการส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การเยี่ยมบ้าน
                กิจกรรมอื่นๆ

     ค.ผู้รับผลงานและความต้องการที่สำคัญ
         ลูกค้าภายใน

ผู้รับผลงาน
ความต้องการ
ฝ่ายบริหารงานทั่วไป(งานยานพาหนะ)
- ให้ฝ่ายทันตฯ มีแผนการใช้รถออกหน่วย และแจ้ง
  ล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์
ฝ่ายส่งเสริมสุขภาพ
- มีมาตรฐานการให้ทันตสุขศึกษาอย่างครบถ้วนและ
  เป็นระบบ
- มีการแนะนำและวางแผนการรักษาให้แก่คนไข้
- มีการลงบันทึกข้อมูลต่างๆ ครบถ้วน
- นัดหมายกับคนไข้ให้แน่นอนและเขียนวันที่นัดลง
  ในสมุดสีชมพูของคนไข้ให้ชัดเจน
- จัดบริการให้ผู้รับบริการให้สะดวก รวดเร็ว






         ลูกค้าภายนอก

ผู้รับผลงาน
ความต้องการ
ผู้ป่วย
- ได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว
- ได้รับทราบข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสมแก่
   การนำไปปฏิบัติเพื่อดูแลตนเองและบุตรได้
- ได้รับบริการที่มีความสุภาพ มีการสื่อสารที่ดี
ครูและนักเรียนในโรงเรียนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาล
- โรงเรียนได้รับทราบแผนการออกหน่วยที่ชัดเจน
- เด็กนักเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ดี ได้รับการรักษา
  ที่เหมาะสม
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตรับผิดชอบ
- ศูนย์ ฯ ได้รับการประสานแผนการออกหน่วย
- ผู้ปกครองมีความรู้ในการดูแลสุขภาพให้แก่บุตร   
  หลานตนเอง
- ได้รับคำแนะนำในการจัดกิจกรรมส่งเสริมทันต
  สุขภาพในศูนย์ฯ อย่างเหมาะสม
ประชาชนในเขตอำเภอภูกระดึง
- ได้รับความรู้ทางทันตสุขศึกษาและสามารถ 
 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนำไปสู่การดูแลสุขภาพ
 ช่องปากของตนเองได้

       ง. ประเด็นคุณภาพที่สำคัญของหน่วยงาน
                ให้การส่งเสริม ป้องกันทางทันตสุขภาพและสนับสนุนเพื่อให้ประชาชนสามารถดูแลตนเองได้

        จ. ความท้าทายที่สำคัญ
                การส่งเสริมให้ครูมีความรู้ทันตสุขภาพและสามารถตรวจฟันนักเรียนได้
                การส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีบทบาทในการดูแลสุขภาพช่องปากของลูกหลาน
                การจัดบริการคลินิก ANC WBC ให้เอื้อต่อการรับบริการ ลดเวลาการรอคอยของผู้มารับบริการ
                การส่งเสริมให้ผู้มารับบริการใส่ฟันเทียมที่เข้าร่วมกลุ่มรักษ์ฟัน มีสุขภาพช่องปากที่ดี มีความพร้อมในการดูแลตนเองก่อนใส่ฟันเทียม  และแนะนำสมาชิกในครอบครัวได้


2. กระบวนการสำคัญ
กระบวนการ
สิ่งที่คาดหวังจากกระบวนการ
ตัวชี้วัดสำคัญ
1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์
1.1 จัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์
1.1.1ให้ความรู้ทันตสุขศึกษา
1.1.2 ตรวจสุขภาพช่องปาก
1.1.3 ฝึกแปรงฟันร่วมกับการใช้เม็ดสีย้อมฟัน
1.1 หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากแม่และเด็ก
1.2 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากขณะตั้งครรภ์
1.3 หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการการรักษาทางทันตกรรมตามความเหมาะสม
1.4 หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลสุขภาพช่องปากตนเองได้
1. จำนวนหญิงตั้งครรภ์ที่มา 
    รับบริการ
2. กลุ่มคลินิกเด็กดี(0-3 ปี)
2.1 จัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในกลุ่มคลินิกเด็กดี
2.1.1 ให้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็ก
2.1.2  ตรวจสุขภาพช่องปาก
2.1.3  แจกแปรงสีฟันในเด็กอายุ 1ปีครึ่ง
1. ผู้ปกครองเด็กได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก
2. ผู้ปกครองเด็กสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กได้
1. อัตราการมารับบริการใน
    คลินิกเด็กดี
2. อัตราการเยี่ยมบ้านใน
    กลุ่มเสี่ยง.
3. อัตราการเกิดฟันผุในช่วง  
    อายุ 18 เดือน  และ 30
    เดือน
3. กลุ่มเด็ก 3-5 ปี
3.1 จัดกิจกรรมออกหน่วยส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
3.1.1 ให้ความรู้ผู้ปกครองเด็ก
3.1.2  ตรวจช่องปากเด็กร่วมกับผู้ปกครอง
3.1.3 นัดเด็กที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากไปรับบริการที่ รพ.
3.1.4 ส่งเสริมกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน
3.1.5 ส่งเสริมการจัดอาหารว่างที่เหมาะสมต่อสุขภาพ
1. ให้ผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองมีความรู้ทันตสุขภาพและทราบสภาวะช่องปากของบุตรหลาน
2. ให้ศูนย์เด็กจัดกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวัน
3. ผู้ปกครองพาเด็กที่มีปัญหาทันตสุขภาพมารับบริการที่ รพ.
1. อัตราการแปรงฟันในศูนย์
    พัฒนาเด็กเล็ก
2. อัตราการเกิดฟันผุ
4. กลุ่มเด็ก 6-12 ปี


4.1 โครงการเฝ้าระวังในโรงเรียนประถมศึกษา
4.1.1 ตรวจฟันนักเรียนชั้นป.1-ป.6 ร่วมกับคณะครูทำงาน
4.1.2 ฝึกแปรงฟันโดยการใช้เม็ดสีย้อมฟันในนักเรียนชั้น ป.1- ป.6
4.1.3 นัดนักเรียนที่มีปัญหาช่องปากไปรับบริการที่ รพ.
4.1.4 ตรวจฟันนักเรียน ป.1 ป.3 และป. 6 ตามโครงการยิ้มสดใส เด็กไทยฟันดี
1. ครูมีความรู้และสามารถตรวจฟันนักเรียนได้
2. นักเรียนสามารถแปรงฟันได้อย่างถูกต้อง
3. โรงเรียนมีกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวัน
4. นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับการรักษาตามความเหมาะสมโดยให้ผู้ปกครองเป็นผู้พาไปรับบริการ
5. นักเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ดี
1. อัตราการเกิดโรคใน
    ช่องปาก
         - การรักษาเร่งด่วน
         - ฟันถาวรผุ
2. อัตราความคลาดเคลื่อนใน 
    การตรวจสุขภาพช่องปาก   
   ของคณะครูทำงาน

5. กลุ่มดูแลฟัน


5.1 นัดกลุ่มดูแลฟันทุกวันจันทร์และวันศุกร์เวลา 10.00 น.
5.2 ทำ group discussion
5.3 ฝึกแปรงฟัน
5.3 เยี่ยมบ้าน
1. ให้สมาชิกกลุ่มดูแลฟันมีความรู้ ทักษะ ในการดูแลสุขภาพของตนเองและสามารถแนะนำคนในครอบครัวได้
2. ให้สมาชิกกลุ่มมีสุขภาพช่องปากที่ดี
1. อัตราการเกิดโรคในช่องปากจากการติดตามที่บ้านของสมาชิกกลุ่มที่ผ่านกระบวนการดูแลสุขภาพช่องปากตนเองแล้ว



3. ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน
              ตามเอกสาร ตัวชี้วัด 56

4. กระบวนการหรือระบบงานเพื่อบรรลุเป้าหมายและมีคุณภาพ
         4.1 ระบบงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
                4.1.1 สรุปงานทุกครึ่งปีในช่วงเดือนมีนาคม และกันยายน โดยเป็นการสรุปผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา เพื่อนำมาวางแผนการดำเนินงานในรอบถัดไป
                4.1.2 จัดระบบการให้ทันตสุขศึกษาในกลุ่ม ANC และWBC โดยให้ผู้ช่วยทันตแพทย์ที่ผ่านการฝึกการให้ความรู้ทันตสุขศึกษา เป็นผู้ดำเนินการ เพื่อลดเวลาการการรอคอยของผู้ป่วยและยังเป็นผลดีต่อการให้ทันตสุขศึกษาเนื่องจากผู้ช่วยทันตแพทย์สามารถสื่อสารข้อมูลไปยังผู้ป่วยได้เป็นอย่างดีโดยไม่มีอุปสรรคทางการสื่อสารและมีความเข้าใจในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยได้ดี
                4.1.3 จัดประชุมชี้แจงงานออกหน่วยทันตกรรมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกปีการศึกษาโดยมีครูพี่เลี้ยงทุกศูนย์ฯ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องเช่นนักวิชาการศึกษาจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
เข้าร่วมเพื่อทำความเข้าใจในกิจกรรม  และออกดำเนินกิจกรรมให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากแก่ผู้ปกครองและมีการตรวจสุขภาพช่องปากเด็กเล็กร่วมกับผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
             4.1.4 จัดประชุมชี้แจงงานออกหน่วยทันตกรรมในโรงเรียนทุกปีการศึกษาเพื่อชี้แจงงานให้กับผู้บริหารโรงเรียนทุกโรงเรียนและให้ความรู้ทันตสุขศึกษาแก่ครูอนามัยที่เข้าร่วมประชุม
และออกดำเนินกิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนประถมศึกษาร่วมกับคณะครูทำงานและให้ทันตสุขศึกษาและฝึกแปรงฟันในทุกชั้นเรียน ตลอดจนให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากแก่ผู้ปกครองและมีการตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนอนุบาลร่วมกับผู้ปกครอง
                4.1.5 จัดกลุ่มรักษ์ฟันเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ทักษะที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและสามารถนำไปบอกต่อแก่คนในครอบครัวได้ โดยส่งเสริมให้มีรูปแบบเป็น group discussion เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพช่องปากซึ่งกันและกัน
         4.2 การพัฒนาคุณภาพที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ
             4.2.1 การติดตามการเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยงของคลินิกเด็กดี
             4.2.2  การเสริมแรงและพัฒนาทักษะให้สมาชิกกลุ่มรักษ์ฟัน มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ

                       ช่องปากของสมาชิกในครอบครัว


งานทันตสาธารณสุข
   กระบวนการสำคัญ(Key process)     ด้านพัฒนาระบบบริการทันตกรรมให้มีคุณภาพ
   เดือน ตุลาคม 2556 – มีนาคม  2557
        กระบวนการ
            กระบวนการการพัฒนา
                 ผลลัพธ์
1. การเตรียมผู้รับบริการ
1. ผู้รับบริการได้รับบริการตามลำดับ
   โดยมีการถามชื่อ นามสกุล และ   
    แฟ้มประวัติผู้มารับบริการ เพื่อ
    ยืนยันความถูกต้องตัวบุคคล

อุบัติการณ์ความเสี่ยงผิดแฟ้มผิดคน  ใน คลินิกทันตกรรมจำนวน 3 ครั้ง


2. การประเมินและวินิจฉัยโรค(ซักประวัติ การส่งถ่ายภาพรังสี การวินิจฉัยโรค)
1. ผู้รับบริการได้รับการซักประวัติ 
   และประเมินอาการนำได้ถูกต้อง
   และครบถ้วนและประเมินสภาพ
   ร่างกายแบบองค์รวม

2.ผู้รับบริการได้รับการตรวจวินิจฉัย
   พิเศษเพิ่มเติมตามความเหมาะสม

ผู้ป่วยโรคที่ซับซ้อน  และโรคทางระบบมารับบริการ
ทันตกรรมจำนวน 1,016  ครั้ง(จากผู้รับบริการ 1,016 ครั้ง)ได้รับการ  ควบคุม ดูแลที่  ถูกต้อง

3. การวางแผนรักษา
1. ผู้รับบริการได้รับการอธิบาย
   ทางเลือกและขั้นตอนในการรักษา 
   รวมถึงมีส่วนร่วมตัดสินใจใน
   แผนการรักษา
  ผู้มารับบริการได้รับข้อมูลและมีส่วนร่วมในการวางแผน
การรักษา ร้อยละ 100
4. การรับบริการ
   ทันตกรรม
1. มีการควบคุมการติดเชื้อและการ
   จัดการความเสี่ยงในคลินิก








2.มีการบันทึกเวชระเบียน ถูกต้อง 
   ครบถ้วน
1.1 อัตราการติดเชื้อในคลินิก
    ทันตกรรม  ร้อยละ 0
1.2  เกิดอุบัติการณ์ความเสี่ยง
     67 ครั้ง ในคลินิกทันตกรรม
1.3 มีการประชุมทบทวน  การ 
    ดำเนินงานในคลินิก และ  
    interesting case  จำนวน  8  
    ครั้ง

2.1 อัตราความสมบูรณ์ของเวช
   ระเบียนคลินิกทันตกรรม
   ร้อยละ 99.00
(เวชระเบียนสมบูรณ์6,819   
  ราย/เวชระเบียนทั้งหมด
  6,888 ราย)
5. การติดตามผลการรักษา
1.ผู้รับบริการไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
  หลังการรักษาทางทันตกรรม
2. ผู้รับบริการและญาติได้รับ
   คำแนะนำหลังการรักษา
1.  เกิดอุบัติการณ์ภาวะแทรก
    ซ้อนจากงานหัตถการใน
    คลินิกจำนวน 2  ครั้ง
    (ผู้รับบริการ 6,888 ครั้ง)
2. ผู้มารับบริการได้รับ
   ความรู้ในการดูแลสุขภาพ 
   ช่องปาก ร้อยละ 100




                

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น